วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

FOMO OMG โอ้มายก๊อด !

 

FOMO OMG โอ้มายก๊อด !

28  มิถุนายน  2568



            มีศัพท์ทางการตลาดอยู่คำหนึ่งที่หลายๆคนอาจจะเคยเห็นผ่านตามาบ้าง   แต่ไม่ทราบว่าหมายถึงอะไร  มีนัยะสำคัญอย่างไร     เพราะว่าศัพท์คำนีหากนักการตลาดสามารถสร้างให้เป็น FOMO  ได้แล้วก็จะสามารถสร้างความต้องการได้  ซึ่งหากสินค้านั้น ดี เด่น โดน จริง ก็จะกลายเป็นการสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กรได้ในอนาคต

การทำให้สินค้าหรือบริการเกิดกระแส FOMO (Fear of Missing Out) — ซึ่งเป็นการสร้างกระแส  และให้ผู้บริโภคเกิด ความกลัวว่าจะพลาดสิ่งดี ๆ — เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทรงพลัง โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้บริโภคยุคดิจิทัล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนรุ่นใหม่  ที่เรียกว่าเจน Z  เพราะคนในวัยนี้อ่อนไหว และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง  ไม่เหมือนคนรุ่น  เจน X  หรือ BABY BOOMER  ที่มันบริโภคแบบเดิมๆ  ไม่อยากเปลี่ยนแปลงเพราะมีความกลัว  ประกอบกับมีความภักดีต่อแบรนด์สินค้านั้นไปแล้ว     ซึ่งสาเหตุและปัจจัยหลักที่ช่วยกระตุ้นให้เกิด FOMO ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีดังต่อไปนี้

1. ความจำกัด (Scarcity)  เพราะเราจะกลัวว่าจะไม่มีโอกาสซื้อสินค้านั้นแล้ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายสินค้าทาง TV ที่ใช้มุกนี้เป็นประจำ

จำนวนจำกัด: เช่น “มีเพียง 100 ชิ้นเท่านั้น” หรือ “หมดแล้วหมดเลย”

เวลาจำกัด: โปรโมชั่นที่มีช่วงเวลาเฉพาะ เช่น “เฉพาะวันนี้เท่านั้น” หรือ “48 ชั่วโมงสุดท้าย

ตัวอย่างเช่น  Nike: วางขายรองเท้ารุ่นพิเศษผ่านแอป SNKRS แบบจำกัดเวลาและจำนวน

รองเท้านันยางรุ่นRED เพื่อฉลองแชมป์ยุโรปให้กับลิเวอร์พูล  ขายได้  ยอดขาย12,598 คู่ สูงกว่าคาดการณ์ไว้เพียง 1,000 คู่  แถมได้ราคาจาก 300 บาทเป็น 600 บาทอีกด้วย  นั่นเป็นเพราะเป็นโอกาสพิเศษจริงๆ  ที่ได้แชมป์ยุโรป




IKEA: มีสินค้าบางชิ้นเฉพาะเทศกาลเท่านั้น

Supreme (แบรนด์แฟชั่นจากนิวยอร์ก)    วางขายสินค้ารุ่นพิเศษ (Limited Edition) ทุกวันพฤหัสบดี โดยมีของจำนวนจำกัดมาก

2. ความพิเศษเฉพาะกลุ่ม (Exclusivity)  ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าเป็นคนพิเศษ  เป็นกลุ่มที่เค้าเลือกให้ได้มีโอกาสซื้อสินค้านี้   คนทั่วไปไม่มีสิทธินะยะ

โดยทั่วไปจะใช้คำว่า “สำหรับสมาชิกเท่านั้น”, “สินค้ารุ่นพิเศษ”, หรือ “เชิญเฉพาะกลุ่ม”   จะทำการเปิดตัวแบบ pre-order สำหรับลูกค้าที่สมัครก่อน  หรือ เชิญมาร่วมประชุม  ดื่มน้ำชา  แล้วจับจองสินค้า  แน่นอนว่าสินค้านั้นๆต้องไม่ใช่หลักสิบหลักร้อยบาทเป็นแน่   เช่น  คอนโดมีเนียม   กระเป๋าแบรนด์เนมที่เรียกได้ว่ามีเงินก็ซื้อไม่ได้ต้องเป็นแฟนพันธุ์แท้ด้วย 

การทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนพิเศษที่ได้ “เข้าถึงก่อนใคร” เกิดการบอกต่อ  และกลัวตกเทรนด์



3. การแสดงความนิยม ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกหรือแสดงว่า "คนอื่นซื้อแล้ว" เช่น: รีวิวจากลูกค้า จำนวนผู้สั่งซื้อ/จำนวนคนที่กำลังดูสินค้า influencer หรือคนดังใช้สินค้าแล้ว

 Amazon และ Shopee  แสดงยอดสั่งซื้อ เช่น “ขายแล้ว 15,000 ชิ้น”, “กำลังมีคนดูสินค้านี้ 248 คน”

รีวิวจากลูกค้าจริงขึ้นมาอยู่หน้าแรก พร้อมรูปภาพ   ซึ่งจะทำให้คนที่เข้ามาในแอปรู้สึกว่าสินค้านี้ “ต้องดีแน่” เพราะมีคนซื้อเยอะ

            หรือ ร้านอาหารที่มีรูปคนดังไปนั่งรับประทานก็เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความนิยมด้วย   ขนาดดารา นักร้อง นักการเมือง  คนดัง เซเลป  อินฟูยังมาทานอาหารร้านนี้เรย

4. การใช้ Influencer หรือ KOL (Key Opinion Leader )  คนดังหรืออินฟลูเอนเซอร์โพสต์ว่าเขาใช้สินค้าบ่งบอกว่า    “ใคร ๆ ก็มี แล้วคุณล่ะ?”

เครื่องใช้ไฟฟ้า  Dyson Airwrap  ซึ่งก็คือเครื่องเป่าและตกแต่งทรงผมทีมีราคาสูงมาก เกือบ 2 หมื่นบาท  นอกจากเทคโนโลยีที่มาจากงานวิจัยทำให้ Dyson เข้าใจศาสตร์ของการตกแต่งทรงผมมาเป็นทศวรรษต   ใช้บิวตี้บล็อกเกอร์ดังอย่าง คือ คุณปอย ตรีชฎา   ส่วนในเมืองนอกใช้ @nikkietutorials และ @pearypie รีวิวการใช้งาน  ทำให้สินค้าเป็นไวรัลอย่างรวดเร็ว และขาดตลาดในหลายประเทศ   โดยใช้คำโปรดโมทว่า  : “ทุกคนในวงการใช้ตัวนี้”  และพร้อมที่จะจ่าย 2 หมื่นบาท แทนเครื่องเป่าผมจัดแต่งทรงผมจากจีนที่  หลักพันต้นๆ



5. การใช้ข้อความเร่งด่วน (Urgency Messaging)  กำหนดกรอบเวลาว่ามีจำกัด  หรือ จำนวนจำกัด “เหลืออีกเพียง 3 ชิ้น!” หรือ “อีก 2 ชั่วโมงจะหมดเวลา”  พบมากและในทุกเครื่องสำอางค์ทีโฆษณาทางที   ไม่ว่าจะเป็น Trylagina  LYO   ฯลฯ  ใช้มุกเดิมๆ  แต่ก็ได้ผลเพราะลูกค้ากลัวตกขบวนนั่นเอง   บางมุกก็ใช้สีแดง ตัวหนา หรือกราฟิกนาฬิกานับถอยหลัง    แอปจองโรงแรม  ไม่ว่าจะเป็น  Booking.com  / Agoda  ใช้ข้อความว่า “เหลือห้องสุดท้ายแล้ว!” หรือ “มีคนจองห้องนี้เมื่อ 2 นาทีที่แล้ว”  พร้อมทั้งแสดงเวลานับถอยหลังของดีลที่กำลังจะหมดอายุ  ทำให้ลูกค้าต้องรีบตัดสินใจและเพิ่มอัตราการจองห้องพัก

6. การเปิดตัวแบบทีละขั้น (Product Drop Strategy ปล่อยสินค้าเป็นชุดเล็ก ๆ ครั้งละน้อย  เช่น Adidas  ขายรองเท้า Yeezy ของ Kanye West  ค่อยๆปล่อยรองเท้าออกมาทีละรุ่น  แบบ “drop” โดยไม่มีการบอกล่วงหน้าชัดเจนเพื่อสร้างให้เกิดการรอคอย  และเฝ้าติดตามถวิลหา  ทำให้แฟนคลับรู้สึก "ต้องจับตารอคอย"  ต้องคอยอัปเดตข่าวตลอด และรีบซื้อทันทีเมื่อเปิดตัวางความคาดหวัง เช่น “Drop ต่อไป 1 มิถุนายนนี้!” 

            แต่ในที่สุดก็ต้องประกาศแยกทางกันในปี  2022 เมื่อ Kanye West แสดงความเกลียดชังต่อชาวยิวอย่างรุนแรง  จนเป็นปัญหาต่อภาพลักษณ์ของสินค้าและองค์กรในที่สุด




7. ความน่าภาคภูมิใจเมื่อเป็นเจ้าของ   สื่อสารว่าผู้ใช้จะ “รู้สึกแตกต่าง” หรือ “มีสถานะ” เมื่อได้สินค้า เช่น “เจ้าของกลุ่มแรกในประเทศไทย” หรือ “หายากจนต้องสะสมให้ครบ”

            ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือโทรศัพท์มือถือรุ่นพรีเมียม  และทุกครั้งจะมีสเปคหลุด  ให้พรีออเดอร์อีกต่างหาก   แถมรับเทินร์เครื่องเก่าอีกด้วย  ซึ่งตัวท้อปเราใช้ไม่เคยคุ้มราคาอยู่แล้ว  เข้าใจว่าฟีจเจอร์มันมากแต่เราใช้แค่ไหนเคยคิดกันบ้างหรือเปล่า  ....5555555

การเปิดตัวแต่ละรุ่นมาพร้อมกับความรู้สึก “ของมันต้องมี”   เพื่อความล้ำหน้า/เท่/มีสถานะตัวอย่างโฆษณา: “นี่คือ iPhone ที่ทรงพลังที่สุดที่เราเคยสร้างมา”  เครื่องเก่ายังผ่อนไม่หมดเรยจัดเครื่องใหม่ไปโลด  เพราะ    FOMO  นั่นเอง

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

FOMO OMG โอ้มายก๊อด !

  FOMO OMG โอ้มายก๊อด ! 28   มิถุนายน   2568             มีศัพท์ทางการตลาดอยู่คำหนึ่งที่หลายๆคนอาจจะเคยเห็นผ่านตามาบ้าง    แต่ไม่ทราบว่...