ความสุขและคุณภาพของงาน
ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ 11 มิถุนายน 2552
@ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ @
@ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ @
@ อาจารย์โครงการปริญญาเอการจัดการกีฬา ม.เกษตรศาสตร์
@ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการพิสิษฐ์กรุ๊ป
ไม่ว่ารถเมล์เอ็นจีวีสี่พันคันจะสรุปว่าเช่าหรือซื้อ ไม่ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสนี้จะบวกหรือลบ ไม่ว่านักการเมืองจะเปลี่ยนค่ายเปลี่ยนข้างและผลัดกันมาบริหารประเทศ ไม่ว่าพรรคการเมืองใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งจะมีที่นั่งในสภากี่มากน้อย หรือไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง พวกเราทั้งหลายก็คงมีความรู้สึกไม่แตกต่างกันมากนัก ว่าประชาชนตาดำๆและตาสีตาสาก็ต้องช่วยตัวเองเพื่อความอยู่รอด เพราะสุดท้ายแล้วก็เป็นแค่เกมส์แห่งอำนาจที่ทั้งสองฝ่าย หรืออาจจะสามฝ่ายแย่งชิงกันเพื่อมาแสวงหาผลประโยชน์ไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน พรรคใด หรือใครเป็นนายกรัฐมนตรี สิ่งที่จะมาขจัดวงจรนี้ได้ก็เห็นจะมีแต่ คนรุ่นต่อๆไปที่จะมีการศึกษามากขึ้น มีจริยธรรม คุณธรรมมากขึ้น เ พราะไม่ว่าเราจะเขียนระเบียบ กฎ กติกา ไว้ว่าอย่างไร สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับมารยาทและจริยธรรมเป็นสำคัญนั่นเอง
ช่วงเวลานี้คงเป็นช่วงเวลาที่บัณฑิตรุ่นใหม่จบออกมาทำงานกันและก็แน่นอนในปีนี้บัณฑิตตกงานเป็นจำนวนมากอันเป็นผลมาจากพิษเศรษฐกิจตั้งแต่กลางปี 2551 ที่ผ่านมา ก็เลยอยากเอาแนวคิดของการทำงานที่ว่าจะทำอย่างไรให้มีความสุขและคุณภาพของงานก็ได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริการลูกค้าเพราะว่าปัจจุบันนี้ สินค้าแทบจะไม่ค่อยมีความแตกต่างกันเท่าใดนัก ผลของการบริการที่แตกต่างกันจะเป็นการสร้างและรักษาลูกค้าไว้ได้อย่างที่เราเรียกกันว่าเป็นการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยื่น ผมจะขอเริ่มที่ว่าทำงานอย่างไรให้มีความสุขก่อนก็แล้วกันเพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นเพราะว่าเรามีความสุขในงานแล้ว คุณภาพของงานก็จะเป็นผลผลิตของความสุขนั้นนั่นเอง โดยผมจะขอใช้คำว่า KASH เป็นตัวแทนซึ่งความหมายของแต่ละตัวหมายถึงดังต่อไปนี้
@ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการพิสิษฐ์กรุ๊ป
ไม่ว่ารถเมล์เอ็นจีวีสี่พันคันจะสรุปว่าเช่าหรือซื้อ ไม่ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสนี้จะบวกหรือลบ ไม่ว่านักการเมืองจะเปลี่ยนค่ายเปลี่ยนข้างและผลัดกันมาบริหารประเทศ ไม่ว่าพรรคการเมืองใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งจะมีที่นั่งในสภากี่มากน้อย หรือไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง พวกเราทั้งหลายก็คงมีความรู้สึกไม่แตกต่างกันมากนัก ว่าประชาชนตาดำๆและตาสีตาสาก็ต้องช่วยตัวเองเพื่อความอยู่รอด เพราะสุดท้ายแล้วก็เป็นแค่เกมส์แห่งอำนาจที่ทั้งสองฝ่าย หรืออาจจะสามฝ่ายแย่งชิงกันเพื่อมาแสวงหาผลประโยชน์ไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน พรรคใด หรือใครเป็นนายกรัฐมนตรี สิ่งที่จะมาขจัดวงจรนี้ได้ก็เห็นจะมีแต่ คนรุ่นต่อๆไปที่จะมีการศึกษามากขึ้น มีจริยธรรม คุณธรรมมากขึ้น เ พราะไม่ว่าเราจะเขียนระเบียบ กฎ กติกา ไว้ว่าอย่างไร สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับมารยาทและจริยธรรมเป็นสำคัญนั่นเอง
ช่วงเวลานี้คงเป็นช่วงเวลาที่บัณฑิตรุ่นใหม่จบออกมาทำงานกันและก็แน่นอนในปีนี้บัณฑิตตกงานเป็นจำนวนมากอันเป็นผลมาจากพิษเศรษฐกิจตั้งแต่กลางปี 2551 ที่ผ่านมา ก็เลยอยากเอาแนวคิดของการทำงานที่ว่าจะทำอย่างไรให้มีความสุขและคุณภาพของงานก็ได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริการลูกค้าเพราะว่าปัจจุบันนี้ สินค้าแทบจะไม่ค่อยมีความแตกต่างกันเท่าใดนัก ผลของการบริการที่แตกต่างกันจะเป็นการสร้างและรักษาลูกค้าไว้ได้อย่างที่เราเรียกกันว่าเป็นการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยื่น ผมจะขอเริ่มที่ว่าทำงานอย่างไรให้มีความสุขก่อนก็แล้วกันเพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นเพราะว่าเรามีความสุขในงานแล้ว คุณภาพของงานก็จะเป็นผลผลิตของความสุขนั้นนั่นเอง โดยผมจะขอใช้คำว่า KASH เป็นตัวแทนซึ่งความหมายของแต่ละตัวหมายถึงดังต่อไปนี้
1. KNOWLEDGE คือมีองค์ความรู้ในงานที่จะทำนั้นๆ ซึ่งนับเป็นปัจจัยเบื้องต้นเพราะเราขาดเสียซึ่งองค์ความรู้ในงานนั้นแล้วเราก็จะขาดความมั่นใจในการทำงาน ไม่รู้ว่าจะทำงานอย่างไร จนพาลให้ผลของงานไม่เป็นไปตามทีทั้งตนเอง และเจ้านายคาดหวังไว้ ทีนี้มันคงจะไม่มีใครที่เรียกได้ว่า GENIUS ไปเสียทุกเรื่อง หรือกลายเป็น Mr. I-KNOW หรือไม่ว่าจะมีข้อมูลข่าวสารใดๆเข้ามาก็จะเห็นว่า”มันไม่มีอะไร” เพราะเรารู้หมดแล้ว เมื่อใดก็ตามเรากลายเป็นผู้รู้ไปเสียทุกเรื่องแล้วก็เท่ากับว่าเราปิดกั้นองค์ความรู้ใหม่ๆ หรืออาจจะเป็นแค่แนวคิด ข้อคิดเห็นอันจะทำให้เราเป็นคนที่คิดอะไรอย่างแคบในที่สุด ถ้าเป็นผู้บริหารก็เรียกได้ว่า ลูกน้องไม่อยากเข้าใกล้เพราะไม่อยากเทียบรัศมีเจ้านายเสนออะไรไปพี่ท่านก็รู้ไปเสียหมด ลูกน้องเลยหมดความหมายและสมองฝ่อไปในที่สุดจนต้องหานกเอี้ยงมาเกาที่หลังนั่นเอง ถ้าเป็นลูกน้องก็จะเป็นลูกน้องที่ไม่พัฒนา รู้อะไรก็รู้อยู่แค่นั้นนานไปก็จะขาดวิสัยทัศน์ในที่สุด
2.ATTITUDE คือทัศนคติ ซึ่งเป็นความเชื่อและความรู้สึกทั้งในด้านบวกและด้านลบ ที่บุคคลจะแสดงออกต่อสิ่งต่างๆ อันจะมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นทั้งทัศนคติต่อ งาน ต่อองค์กร ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และต่อผู้บังคับบัญชา บางคนเป็นคนต่อต้านสังคมต่อต้านการเปลี่ยนแปลงก็จะเป็นจุดบอดเพราะจะทำให้ไม่พัฒนา ความคิดหยุดนิ่งอยู่กับที่จนเดี๋ยวนี้บริษัทหรือองค์กรต่างๆก็จะมีการทดสอบที่เรียกว่าทัศนคติก่อนรับคนเข้ามาทำงาน เพราะคัดคนที่มีทัศนคติทางบวกเสียตั้งแต่ครั้งแรกคงง่ายกว่า รับพนักงานมาก่อนแล้วค่อยมาปรับเปลี่ยนทัศนคติในภายหลังเพราะเป็นเรื่องที่ยากเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากใครมีทัศนคติในทางบวกแล้วโอกาสในการปรับตัว การเรียนรู้ และพัฒนาตนเองย่อมมีมากกว่าอย่างแน่นอน ลองดูคุณตัน โออิชิซิครับ แกมีความคิดเชิงบวกไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่าไรแกเห็นเป็นโอกาสและก็มีความสุขถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะแก้ไขปัญหาไม่ได้ แต่ก็ได้เรียนรู้ว่าวิธีการแก้ไขปัญหานั้นไม่ควรนำมาใช้อีกเหมือนกับโทมัสอัลวาเอดิสัน กว่าที่จะประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าได้ต้องลองผิดไปเป็นร้อยวิธีหรือมากกว่าแต่ก็มีทัศนคติทางบวกคือเรียนรู้วิธีผิดๆว่าจะไม่นำมาปฏิบัติอีก
3.SKILL คือทักษะหรือความชำนาญ ซึ่งต้องการการฝึกฝน จนมีความชำนาญเพราะเรามักจะเป็นเป็นวงจรชีวิตของการทำงาน ตอนเริ่มทำงานใหม่ยังไม่มีความชำนาญก็จะขยันขันแข็ง พอนานไปความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆแต่ความขยันจะลดลงเพราะว่ามีความชำนาญเพิ่มขึ้น เรียกว่ามีความเก๋าใช้ประสบการณ์แก้ไขปัญหาสำเร็จไปได้ พออายุมากขึ้นๆทั้งอายุตัวและอายุงานทั้งสองข้อก็จะลดลงทั้งในด้านความชำนาญพราะขาดการฝึกฝน หรือคิดว่าเจ๋งแล้วประสบการณ์เยอะ และขาดทั้งควาขยันเพราะชีวิตเริ่มไม่ต้องดิ้นรนแล้ว ทั้งรายได้และตำแหน่งหน้าที่ มันก็เหมือนกับ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เติบโต (ประสบความสำเร็จ) และก็ต้องถดถอยและออกจากวงจรไปในที่สุด ซึ่งมันเป็นอนัตตาแต่อย่างไรก็ตามหากเรายังสามารถพัฒนาโดยการที่ปรับตัวตอนที่ยังอยู่ในภาวะประสบความสำเร็จ โดยการเติมความขยัน ลดความประมาท และปรุงประสบการณ์ใหม่ๆเข้าไปไม่ว่าจะเป็นทางเทคโนโลยี่ ฯลฯ หรือไฟในการทำงานก็จะต่ออายุวงจรชีวิตในการทำงานให้ยืดยาวขึ้นอีกได้ ลองดูตัวอย่างจากผู้บริหารระดับประเทศ ไม่ว่าคุณธนินทร์ จากซีพี หรือคุณเจริญ จากเบียร์ช้าง ทั้งสองท่านไม่ยอมหยุดนิ่ง ไม่ยอดหยุดคิด และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
4.HABIT ก็เป็นความเคยชินเคยทำอะไรมาแบบใดก็อยู่แบบนั้น ถ้าเป็นเรื่องดีก็ดีไปถ้าเป็นเรื่องชั่วละก็ทำอยู่อย่างนั้นเป็นกิจนิสัย เพราะฉะนั้นต้องปลูกฝังความเคยชินอุปนิสัยทีดีๆเสียตั้งแต่ยังเด็กหรือตั้งแต่เริ่มทำงาน ผลของงานจะได้ออกมาอย่างมีคุณภาพอย่าเป็นบุคลากรที่มีตำแหน่งใหญ่โต แต่ไม่เคยหรือกล้าตัดสินใจอะไรเพราะไม่เคยฝึกมาในการตัดสินใจ เลยได้ดิบได้ดีเพราะอยู่นานหรือคอยแต่ชเลียร์จนประสบความสำเร็จ
นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นแล้วก็อยากจะเสริมว่าความสุขและความสำเร็จในการทำงานนั้นก็อาจจะเสริมสร้างได้ด้วยสิ่งอื่นๆอีก เช่น การหยุดพักจากความเครียดหรือปัญหาต่างๆบ้างเปรียบได้เสมือนหนึ่งการหยุดเพื่อชาร์จไฟใหม่นั่นเอง การจัดลำดับความสำคัญของงาน รู้จักการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพเพราะบางคนเห็นทำงานมากขยันแต่หามีผลงานไม่ก็มีอยู่เยอะ วันๆทำตัวให้นายเห็นว่ายุ่งตลอดแต่ผลสัมฤทธิ์ไม่มีเลย การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับทุกภาคส่วนก็จะเป็นอีกเหตุหนึ่งให้งานและผลของงานออกมาดูดี ลองนึกดูนะครับว่าเราเป็นหมาหัวเน่าไม่มีใครคบในที่ทำงานทั้งเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง แล้วใครจะมาช่วยเราให้ทำงานได้ละครับ ดังนั้นลองนึกดูนะว่าจะทำอย่างไรให้มีมนุษย์สัมพันธ์ง่ายๆเลยก็คือเราอยากให้เขาปฏิบัติต่อเราอย่างไรก็ปฏิบัติต่อเขาก่อนก็เป็นเบสิคที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว แต่อยากถามว่า “วันนี้คุณปฏิบัติแล้วหรือยัง ?? “ ว่าจะเขียนคุณภาพของงานบริการต่อก็พอดีเนื้อที่คงไม่พอขอยกยอดไปต่อในครั้งหน้านะครับ...
2.ATTITUDE คือทัศนคติ ซึ่งเป็นความเชื่อและความรู้สึกทั้งในด้านบวกและด้านลบ ที่บุคคลจะแสดงออกต่อสิ่งต่างๆ อันจะมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นทั้งทัศนคติต่อ งาน ต่อองค์กร ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และต่อผู้บังคับบัญชา บางคนเป็นคนต่อต้านสังคมต่อต้านการเปลี่ยนแปลงก็จะเป็นจุดบอดเพราะจะทำให้ไม่พัฒนา ความคิดหยุดนิ่งอยู่กับที่จนเดี๋ยวนี้บริษัทหรือองค์กรต่างๆก็จะมีการทดสอบที่เรียกว่าทัศนคติก่อนรับคนเข้ามาทำงาน เพราะคัดคนที่มีทัศนคติทางบวกเสียตั้งแต่ครั้งแรกคงง่ายกว่า รับพนักงานมาก่อนแล้วค่อยมาปรับเปลี่ยนทัศนคติในภายหลังเพราะเป็นเรื่องที่ยากเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากใครมีทัศนคติในทางบวกแล้วโอกาสในการปรับตัว การเรียนรู้ และพัฒนาตนเองย่อมมีมากกว่าอย่างแน่นอน ลองดูคุณตัน โออิชิซิครับ แกมีความคิดเชิงบวกไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่าไรแกเห็นเป็นโอกาสและก็มีความสุขถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะแก้ไขปัญหาไม่ได้ แต่ก็ได้เรียนรู้ว่าวิธีการแก้ไขปัญหานั้นไม่ควรนำมาใช้อีกเหมือนกับโทมัสอัลวาเอดิสัน กว่าที่จะประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าได้ต้องลองผิดไปเป็นร้อยวิธีหรือมากกว่าแต่ก็มีทัศนคติทางบวกคือเรียนรู้วิธีผิดๆว่าจะไม่นำมาปฏิบัติอีก
3.SKILL คือทักษะหรือความชำนาญ ซึ่งต้องการการฝึกฝน จนมีความชำนาญเพราะเรามักจะเป็นเป็นวงจรชีวิตของการทำงาน ตอนเริ่มทำงานใหม่ยังไม่มีความชำนาญก็จะขยันขันแข็ง พอนานไปความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆแต่ความขยันจะลดลงเพราะว่ามีความชำนาญเพิ่มขึ้น เรียกว่ามีความเก๋าใช้ประสบการณ์แก้ไขปัญหาสำเร็จไปได้ พออายุมากขึ้นๆทั้งอายุตัวและอายุงานทั้งสองข้อก็จะลดลงทั้งในด้านความชำนาญพราะขาดการฝึกฝน หรือคิดว่าเจ๋งแล้วประสบการณ์เยอะ และขาดทั้งควาขยันเพราะชีวิตเริ่มไม่ต้องดิ้นรนแล้ว ทั้งรายได้และตำแหน่งหน้าที่ มันก็เหมือนกับ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เติบโต (ประสบความสำเร็จ) และก็ต้องถดถอยและออกจากวงจรไปในที่สุด ซึ่งมันเป็นอนัตตาแต่อย่างไรก็ตามหากเรายังสามารถพัฒนาโดยการที่ปรับตัวตอนที่ยังอยู่ในภาวะประสบความสำเร็จ โดยการเติมความขยัน ลดความประมาท และปรุงประสบการณ์ใหม่ๆเข้าไปไม่ว่าจะเป็นทางเทคโนโลยี่ ฯลฯ หรือไฟในการทำงานก็จะต่ออายุวงจรชีวิตในการทำงานให้ยืดยาวขึ้นอีกได้ ลองดูตัวอย่างจากผู้บริหารระดับประเทศ ไม่ว่าคุณธนินทร์ จากซีพี หรือคุณเจริญ จากเบียร์ช้าง ทั้งสองท่านไม่ยอมหยุดนิ่ง ไม่ยอดหยุดคิด และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
4.HABIT ก็เป็นความเคยชินเคยทำอะไรมาแบบใดก็อยู่แบบนั้น ถ้าเป็นเรื่องดีก็ดีไปถ้าเป็นเรื่องชั่วละก็ทำอยู่อย่างนั้นเป็นกิจนิสัย เพราะฉะนั้นต้องปลูกฝังความเคยชินอุปนิสัยทีดีๆเสียตั้งแต่ยังเด็กหรือตั้งแต่เริ่มทำงาน ผลของงานจะได้ออกมาอย่างมีคุณภาพอย่าเป็นบุคลากรที่มีตำแหน่งใหญ่โต แต่ไม่เคยหรือกล้าตัดสินใจอะไรเพราะไม่เคยฝึกมาในการตัดสินใจ เลยได้ดิบได้ดีเพราะอยู่นานหรือคอยแต่ชเลียร์จนประสบความสำเร็จ
นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นแล้วก็อยากจะเสริมว่าความสุขและความสำเร็จในการทำงานนั้นก็อาจจะเสริมสร้างได้ด้วยสิ่งอื่นๆอีก เช่น การหยุดพักจากความเครียดหรือปัญหาต่างๆบ้างเปรียบได้เสมือนหนึ่งการหยุดเพื่อชาร์จไฟใหม่นั่นเอง การจัดลำดับความสำคัญของงาน รู้จักการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพเพราะบางคนเห็นทำงานมากขยันแต่หามีผลงานไม่ก็มีอยู่เยอะ วันๆทำตัวให้นายเห็นว่ายุ่งตลอดแต่ผลสัมฤทธิ์ไม่มีเลย การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับทุกภาคส่วนก็จะเป็นอีกเหตุหนึ่งให้งานและผลของงานออกมาดูดี ลองนึกดูนะครับว่าเราเป็นหมาหัวเน่าไม่มีใครคบในที่ทำงานทั้งเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง แล้วใครจะมาช่วยเราให้ทำงานได้ละครับ ดังนั้นลองนึกดูนะว่าจะทำอย่างไรให้มีมนุษย์สัมพันธ์ง่ายๆเลยก็คือเราอยากให้เขาปฏิบัติต่อเราอย่างไรก็ปฏิบัติต่อเขาก่อนก็เป็นเบสิคที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว แต่อยากถามว่า “วันนี้คุณปฏิบัติแล้วหรือยัง ?? “ ว่าจะเขียนคุณภาพของงานบริการต่อก็พอดีเนื้อที่คงไม่พอขอยกยอดไปต่อในครั้งหน้านะครับ...