วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562

สายการบิน ฟินมั๊ย ?







                การทำธุรกิจทุกวันนี้ดูเหมือนว่ามันฝืดเคียงไปหมด  ธุรกิจเดิมๆต้องปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา    แต่ดูเหมือนมีธุรกิจหนึ่งที่แม้จะไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนักแต่ก็ต้องปรับตัวเพื่อความยั่งยืน   “ธุรกิจการบิน”  จากเดิมที่มีแต่สายการบินแบบมาตราฐาน  มาวันนี้มีแบบสายการบินต้นทุนต่ำ  กับสายการบินมาตราฐาน  แต่ก็แถมมาอีกคือสายการบินพรีเมียม  คือสูงกว่ามาตราฐาน
                องค์ประกอบของธุรกิจ  เครื่องมือทางธุรกิจไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเสียเท่าใด   เปลี่ยนแต่แพลทฟอร์ม  โครงสร้างการบริหาร  ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน  ตัวเครื่องบิน  ตัวสนามบิน  การบริการสิ่งอำนวยความสะดวก  การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและบริการกับผู้โดยสารเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป  กล่าวอย่างนี้ก็คงจะไม่เข้าใจจึงขอจะยกตัวอย่าง 3 สายการบิน มาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น   คือ สายการบินไทย  สายการบินอิมิเรสต์  และสายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์
                ทั้งสามสายการบินเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือเป็นสายการบินมาตราฐาน หรือ พรีเมียมก็แล้วแต่ใครจะตีความ  แต่เป้าหมายลูกค้าเหมือนกัน  ต่างกันที่แนวคิดการบริหารซึ่งมีผลต่อผลประกอบการทางธุรกิจ
                เรื่องแรกเลยคือ ตัวเครื่องบิน และ  รุ่นของเครื่องบิน  ซึ่งแน่อนคงไม่พ้น แอร์บัส  กับ โบอิ้ง
                การบินไทย  80 ลำ  รวมแล้วถึง  14 โมเดล
                อิมิเรสต์  257 ลำ  มีแค่ 4 โมเดล  เป็นแอร์บัส A 380 –800 ถึง  111 ลำ
                เตอร์กิชแอร์ไลน์  314 ลำ   11 โมเดล
                แล้วมันสำคัญอย่างไร  .....ต้นทุนในการสำรองอะไหล่  การฝึกนักบิน  ความชำนาญ ฯลฯ ตามมาครับ   เดิมผมก็คิดว่าอิมิเรสต์ซึ่งมีแอร์บัส A380 ถึง  111 ลำ ที่สามารถจุผู้โดยสารได้  500-600 คนต่อเที่ยว  ซี่งแน่นอนโอกาสในการที่ผู้โดยสารจะเต็ม  หรือ ถึง  70-80 % คงจะน้อย  และทำให้ขาดทุนในที่สุด  แต่ลองมาดูผลประกอบการทั้งสามสายการบิน สองปีย้อนหลังกันครับ 

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐอเมริก
               
สายการบิน
ปีที่ก่อตั้ง
จุดบิน
 ปี 2017

 ปี 2018




 รายได้
 กำไร
 รายได้ 
 กำไร
การบินไทย
1960
62
    6,352.00
-       70.23
    6,687.00
-     387.50
อิมิเรสต์
1985
141
  26,322.00
   1,016.00
  28,446.00
   1,467.00
เตอกิชแอร์ไลน์
1933
280
  10,958.00
   2,196.00
  12,855.00
   2,719.00

                เราค้นพบว่าปัญหาของการบินไทยคือการบริหาร และการวางยุทธศาสตร์เป็นสำคัญ   การบินไทยมีจุดบินเพียงครึ่งหนึ่งของอิมิเรสต์ และ แค่ เศษหนึ่งส่วนสี่ของ เตอร์กิชแอร์ไลน์เท่านั้น   ถ้าใครเดินทางไปอัฟริกา และเมืองรองๆในยุโรปแล้วละก็  ขอแนะนำสองสายการบินนี้เลยครับเพราะถ้าไปเมืองรองแล้วก็ต้องต่อเครื่องอยู่ดี  สู้ไปต่อที่อิสตันบูล หรือ ดูไบ  แถมราคาค่าตั๋วถูกกว่าการบินไทยมาก   แน่อนทำเลที่ตั้งของสนามบินก็สำคัญการบินไทยคงไม่สามารถที่จะบินไปเมืองรองในยุโรปและ อัฟริกาได้    แต่เมืองรองในเอเชียละครับมีบินไปกี่เมืองกันปล่อยให้ไทยแอร์เอเชียบินไปเมืองรองดูแล้วไม่น้อยกว่า  30 เมืองในเอเชีย   ที่เล่ามาทั้งหมดเพราะรักในการบินไทยอยากเห็นสายการบินแห่งชาตินี้อยู่ยั้งยืนยงและบริหารแบบมีกำไรและอยู่รอดปลอดภัยในภาวะลำบาก 
                นอกเหนือจาก  การบริหารต้นทุนการบิน  ราคาค่าตั๋ว  การบริหารจุดบินแล้ว สิ่งที่เป็นของแถมอีกอย่างหนึ่งที่ผู้โดยสารอาจจะไม่ค่อยได้ใช้เป็นตัวเลือกต้นๆแต่ก็นับว่าเป็นปัจจัยเสริม  คือ  สิ่งอำนวยความสะดวกและความบันเทิงบนเครื่องบิน  ทั้งสองสายการบินมีภาพยนต์ให้เลือกหลายร้อยเรื่อง  แถมมีทั้งพากย์หรือบรรยายภาษาท้องถิ่นต่างๆหลากหลายภาษา (ดูในบทความก่อนหน้า)   แต่การบินไทยหนังเก่า  จำนวนเรื่องน้อย มีแต่ภาษาสากล    รวมทั้งการค้นหาข้อมูลทางหน้าจอลำบากอีกต่างหาก  เช่น ถ้าจะหาหนังที่มีบทบรรยายไทยต้องกดเข้าไปดูหนังเรื่องนั้นก่อนแล้วกดตรงบทบรรยาย แล้วจึงเลือกภาษาที่ต้องการ  ในขณะที่เตอร์กิชแอร์ไลน์กดไปที่ภาษาไทยก็จะมีภาพยนต์ที่บรรยายไทยขึ้นมาให้เลือกเป็น 100 เรื่องเลยครับ   เรียกได้ว่ารู้จัก รู้ใจ ผู้โดยสารไปเสียนี่กระไร  .............

แหล่งข้อมูล


บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...