วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563

โรคระบาดกับกีฬา ???


                   ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าโลกและประเทศไทยนับวันจะยิ่งมองหาทางออกได้ยากยิ่งขึ้น   นอกจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน  ความตรึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน และล่าสุด “ไข้หวัดโคโรน่า”  ก็มากระหน่ำซ้ำเติมเศรษฐกิจโลกเข้าไปอีก   การปิดเมืองและห้ามนักท่องเที่ยวแบบกลุ่มออกนอกประเทศของจีนมันมีผลกระทบทั่วโลกกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกีฬา ตัวอย่างเช่นประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ปกติมีนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทยประมาณเดือนละ  9แสนคนจากจำนวนนักท่องเทียวจีน 10.8 ล้านคนในปี 2562  ในจำนวนนี้เป็นแบบกลุ่มประมาณครึ่งหนึ่งคือ 4.5แสนคนต่อเดือน  ถ้าสามเดือนก็จะทำให้นักท่องเที่ยวหายไป 1.35 ล้านคนเป็นอย่างน้อย  ใช้จ่ายคนละประมาณ 4-5 หมื่นบาทต่อคนก็จะทำให้รายได้ของประเทศหายไป 54,000 ล้านบาทถึง 67,500 ล้านบาท  นับว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
               คำถาม........แล้วถ้าหากเกิดวิกฤติในลักษณะเดียวกันนี้กับประเทศที่กำลังจะจัดกีฬาอีเวนต์ใหญ่ๆ  ไม่ว่าจะเป็น ซีเกมส์  เอเชียนเกมส์  หรือ โตเกียวโอลิมปิค 2020   ประเทศเจ้าภาพจะดำเนินการอย่างไร  แม้ว่าจะระงับเหตุให้หมดไปได้ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น  แต่ก็คงจะเกิดความกลัวที่จะเดินทางไปร่วมการแข่งขันหรือชมการแข่งขัน ???   เป็นคำถามที่น่าสนใจ.....ซึ่งผมเองก็ยังไม่มีคำตอบในเรื่องนี้ที่ชัดเจนนัก   แต่ขอให้มุมมองในการแก้ไขปัญหาของจีนในครั้งนี้ ว่าสุดยอดการตัดสินใจของประธานาธิบดีจีนที่ปิดเมืองอู่ฮั่นและเมืองใกล้เคียง  ตลอดจนห้ามคนจีนเดินทางแบบกรุ้ปทัวร์ออกนอกประเทศ   และเกมส์การแข่งขันไม่ว่าจะเป็นมวยคัดเลือกโอลิมปิคที่ย้ายไปจอร์แดน  ฟุตบอลเอเอฟซีแชมป์เปี้ยนลีกระหว่างบุรีรัมย์กับเซียงไฮ้ที่แข่งขันโดยปราศจากคนดู เป็นต้น  นับว่าเป็นความกล้าหาญของผู้นำที่ตัดสินใจในกครั้งนี้   เรายังไม่สามารถคาดการ์ณได้ว่าจะทำให้เศรษฐกิจเสียหายทั้งจีน  และทั้งโลกใบนี้เท่าไหร่คงต้องรอดูหลังจากจัดการกับ “ไข้หวัดโคโรน่า”เสียก่อน
                  สุดท้ายลองมาคิดดูกันว่าหากโรคนี้ไประบาดที่อังกฤษ  ซึ่งแน่นอนว่ากีฬาสุดฮิตคือ “พรีเมียลีก” ที่กำลังขับเคียวกันจนพอจะมองเห็นแชมป์ที่ไม่น่าพลาดว่าจะเป็น “ลิเวอร์พูล”   จากสถิติผู้ชมพรีเมียลีก ระหว่างฤดูกาล 2017-2019-2020 รวมสามฤดูกาลนี้ จะมีผู้ชมเฉลี่ยต่อนัดเท่ากับ  38,275 / 38,812 / 39,244   เรียกได้ว่าเกือบสี่หมื่นคนต่อนัด  แต่ละสัปดาห์จะมีการแตะกัน 10 นัด สามเดือนก็ 120 นัด  รวมผู้ชมก็ประมาณ เท่ากับ 4.8 ล้านคน  มูลค่าทางเศรษฐกิจที่หายไปมหาศาล.......ไม่อยากคิดเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากมีเชื้อโรคระบาด...หายนะ ชัด ๆๆๆ

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่าไร ??



            วงจรเศรษฐกิจดูเหมือนว่ามันจะมีวงรอบ 10 / 20  ปี  หรือไม่เป็นข้อสังเกตุที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้เคยปรารภไว้   ซึ่งก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่ห่างไกลจากข้อสังเกตุนั้นเสียทีเดียว   ลองมาดูย้อนไปซัก 40 – 50 ปี เราก็จะพบว่าในปี 2520  เศรษฐกิจของไทยเราหยุดชะงักเพราะปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงจนกระทบกับต้นทุนการผลิตอย่างแรง  เพราะในช่วงปี  2500-2520 ประเทศไทยอยู่ในยุคพัฒนาอุตสาหกรรมและส่งเสริมการส่งออกเป็นหลัก   และอีกครั้งหนึ่งในปี 2540 ภาวะวิกฤตต้มยำกุ้ง และการลดค่าเงินบาท ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆล้มระเนระนาด  และพอมาถึง พ.ศ.2560 ก็มีภาวะเศรษฐกิจทรงตัว ถดถอยทั่วโลก  หรืออย่างน้อยที่สุดเติบโตช้า  ลามมาถึงปี 2563  ที่ปรมาจารย์หลายท่านส่งสัญญาณว่า  เผาจริง  ตายจริง  ฟุบจริง  ไม่ใช่นิยายแต่เป็นของจริงที่เราต้องเตรียมรับมือ  ปรับตัว   เพื่อความอยู่รอดให้ได้แบบแมลงสาบ  อย่าทำตัวแบบไดโนเสาร์ใหญ่โตแต่ไม่ปรับตัวในที่สุดก็สูญพันธุ์
                คำถามว่า  “เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ………….ก็คงจะมีหลายสาเหตุ  เพราะหลายประเทศก็ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าพอใจ  ไม่ว่าจะเป็น  เวียดนาม  อินโดนีเซีย    ซึ่งพอจะรวบรวมปัญหาของประเทศไทยมาไว้  (พร้อมทั้งข้อคิดเห็นในการปรับแก้ )
1.การศึกษา   ส่งเสริมให้มีการเรียนในระดับ ปริญญาจนล้นเมือง ทั้ง  ตรี  โท เอก  เราเห็นคนทำงานต่ำกว่าวุฒิมากมาย  นอกจากนั้นแล้วการเรียนการสอนที่มุ่งแต่จะให้ท่องจำ  ข้อสอบคำขวัญวันเด็กแต่ละปีเป็นตัวอย่างที่คลาสสิคที่สุดจำไปเพื่อ.....?  ปีหน้าก็เปลี่ยนแล้ว  ค่านิยม 12 ประการ ไม่รู้ว่าวันนี้คนออกค่านิยมจำได้ถึงครึ่งหรือไม่   มีสถาบันอุดมศึกษาในทุกสังกัด รวม  310 แห่ง(รวมวิทยาเขตต่างๆ) จำนวนนักศึกษาเกือบ 2 ล้านคน  แต่ในขณะที่สายอาชีวะ สถาบันของรัฐ 429 แห่ง ของเอกชน 482 แห่ง นักศึกษารวม แค่  1 ล้าน คือประมาณว่าเราผลิตระดับปริญญาเป็นสองเท่าของสายอาชีวะ  ในขณะที่มีแต่ รมต.และ ปลัดที่พร่ำบ่นว่าอาชีวะขาดแคลน  แก้อย่างไร.....ง่ายนิดเดียว  เปิดรับระดับปริญญาให้น้อยลง  เพิ่มระดับอาชีวะ.....จบข่าว    ทำไมทำไม่ได้ ????   ลดระดับ ม.ปลาย ลง เพิ่มอาชีวะระดับ ปวช. ปวส. แทน  ทำไมทำไม่ได้ ???    ที่สำคัญไปกว่านั้นระบบการเรียนการสอนการประเมินผลที่ต้องให้ผู้เรียนมีความคิด  มีประสบการณ์  การเรียนร่วมและทำงานที่เรียกว่า “ทวิภาคี” ซึ่งมีหลายสถาบันได้ดำเนินการอยู่แล้วต้องทำให้เข้มข้นขึ้น   ที่สำคัญลดการผลิตระดับปริญญาให้ได้ 
2.แรงงาน  ปี 2563 นี้คนวัย 60 มีถึง 12 ล้านคนแล้วคิดเป็น 18%   ในขณะที่คนในวัยทำงาน มีอยู่ประมาณ  40 ล้านคนเศษ  ที่สำคัญไม่ยอมทำงานอีกต่างหากเรียกได้ว่าว่างงานแบบสมัคใจ   พม่า ลาว เขมร ถึงเต็มบ้านเต็มเมือง  ประกาศหาแม่บ้าน ให้เงินเดือน 12,000 ยังไม่มีคนไทยมาสมัครทำงานเรย  เพราะชอบอิสระ
3.สินค้าเกษตร  มีราคาตกต่ำที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะหลายปัจจัย  ปัจจัยที่สำคัญคือกำลังซื้อที่ลดลง  และต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน   นี่ยังไม่นับภัยพิบัติที่ประเทศเรามีน้อยที่สุดก็ว่าได้สำหรับภัยพิบัติที่ไม่อาจบริหารจัดการได้  แต่ที่บริหารจัดการได้ก็ไม่ได้บริหาร  หรือ บริหารไม่เป็น  ดูแค่ภัยแล้งปี 2563 นี่ก็จะเห็นได้ชัด   แถมเราคุยกันมาตั้งแต่ผมจำความได้ว่า  “เราต้องแบ่งโซนนิ่ง”  บริหารจัดการผลผลิตให้พอดีกับความต้องการของตลาด  ผ่านมา 40 ปียังไปไม่ถึงไหน  ทั้งที่ประเทศไทย ดินดี  น้ำดี (ยกเว้นบางช่วงเวลาที่ท่วมบ้า  แล้ง บ้าง)  พัฒนาต้นทุนการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตให้สรุปได้ว่ามีต้นทุนที่แข่งขันได้กับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 
4.ค่าแรงที่สูงอย่างต่อเนื่อง  ก็เป็นเหตุปัจจัยเร่งเสริมแต่หากเราได้ผลผลิตที่สูงกว่า  ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่า ปัจจัยปัญหาค่าแรงก็จะไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด  
5.ผู้บริหาร  รัฐบาล  ที่มีวิสัยทัศน์  ทำงานเป็นทีม เพราะที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ถึงความขัดแย้งลงลึกไปถึงทุกระดับ  และจะคงอยู่ไปอีกตราบนานเท่านาน 
6.ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรและ ความเหลื่อมล้ำ  ยิ่งพัฒนา ยิ่งแย่ลง จนวันหนึ่งจะเกิดวิสัญญีในประเทศไทย เขียนแปะข้างฝาไว้ได้เลย  ยิ่งพัฒนา EEC  ก็จะยิ่งเหลื่อมล้ำ   เพราะรายย่อย SME จะตายหมด  ต้องพัฒนาไปควบคู่กัน  ทั้ง ธุรกิจขนาดใหญ่  ขนาดกลาง  ขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน  ร้านค้าชาวบ้าน
                สุดท้ายแล้วความหวังของประเทศไทยผมฝากไว้กับ  “การท่องเที่ยว  ไม่ว่าจะเป๊นกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว  การท่องเทียวเชิงอนุรักษ์   ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ  ท่องเที่ยววิถีชุมชน ฯลฯ    และ “อาหาร ผลไม้  รวมทั้งผลผลิตที่แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม”   ................ไม่เชื่อคอยดู  2580  คืออีก  17 ปีข้างหน้าค่อยมาอ่าน แต่ตอนนั้นผมคงไม่อยู่แล้ว ............... บายๆๆๆๆๆๆ

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากธุรกิจกีฬา


             


            วันนี้เราเองคงต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมกีฬานั้นถือเป็นอุตสาหกรรมหนึ่ง จะสังเกตุได้จากเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากกีฬาต่างๆ จนถึงกับได้ถูกบรรจุไว้ในวาระปฏิรูปที่ 19  เรื่องการกีฬาของสภาการปฏิรูปการขับเคลื่อนประเทศจนได้บทสรุปในเรื่องการส่งเสริมอุตสาหกรรมกีฬา ซี่งรายได้จากอุตสาหกรรมกีฬานี้แบ่งได้ออกเป็นสองกลุ่มหลัก  รายได้จากกีฬาเพื่อการอาชีพ (Professional Sports Revenue) และรายได้จากกีฬาเพื่อความบันเทิงและนันทนาการ (Recreational Sports Revenue) ซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมกีฬานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆดังนี้
                1.ผลประโยชน์โดยตรง  อันได้แก่  ค่าบัตรเข้าชมการแข่งขัน  ค่าซื้อของที่ระลึก ซึ่งอาจจะมีมูลค่าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับผลประโยชน์โดยอ้อม    
2.ผลประโยชน์โดยอ้อม อันได้แก่ ค่าที่พัก  ค่าอาหาร ที่เดินทางไปชม  หรือ ไปเล่นกีฬานั้นๆ รวมทั้งการท่องเที่ยวที่ต่อเนื่องจากการชมกีฬา  ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจาก  โอลิมปิค 2020 ที่โตเกียว Nikkei Asian Review คาดการ์ณว่าในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 จะมีผู้คนเดินทางมายังกรุงโตเกียวจำนวน 10 ล้านคน (รวมชาวต่างชาติและคนญี่ปุ่นเอง)  แต่ละคนต้องจับจ่ายใช้สอยเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร  ค่าเดินทาง  ฯลฯ  ทำให้ห้องพักในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นน่าจะขาดแคลน  แต่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของญี่ปุ่น  จึงด้นำรถบ้านมาให้บริการสามารถเข้าพักได้ 7 คน ซึ่งมีสิ่งของอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น, เครื่องปรับอากาศ, เตาแก๊ส  เปรียบเสมือนอยู่บ้านสำหรับค่าบริการประมาณ 30,000บาท เมื่อหาร 7 คนแล้ว ก็ตกคนละ  4,200 บาท นับว่แพงเอาการอยู่เหมือนกัน  แต่ ณ. ช่วงเวลานั้นหากมันขาดแคลนจริงๆยังไงก็ต้องเอา  ผมเองได้จองบัตรชมเทควันโดรุ่น 49 กก.หญิง ดูตั้งแต่รอบเช้า ยันรอบชิง รวมค่าที่พักสองคืน หมดไป 46,000 บาทผ่านตัวแทนในประเทศไทยนับว่าแพงเอาการแต่ขอบอกว่าไปจองตอนนี้ไม่มีแล้วครับ    แถมไหนก็ไปญี่ปุ่นทังที่นั่งเครื่องไป 6 ชม จะไปนอนแค่สองคืนก็คงไม่คุ้มเลยต้องจองอยู่ต่ออีกสองคืน  โรงแรมแพงมากขอบอกปรับขึ้นเท่าตัวจากอัตราปกติ  โดยคาดกันว่าจะมีรายได้ในช่วงโอลิมปิคและพาราลิมปิคถึง  2 ล้านล้านบาท
                3.ผลพลอยได้อื่นๆ  ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  และ ผลพลอยได้ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น  รถไฟฟ้า  ถนนหนทาง  สนามกีฬา ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนใส่ใจสุขภาพ หรือ โอลิมปิคที่ปักกิ่ง ได้สร้างวัฒนธรรมการเข้าคิวให้กับคนจีน แม้จะยังไม่เกิดผลอย่างสมบูรณ์ก็ตาม

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...