วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

“ใครจ่าย ??? “


เมื่อคืนเพิ่งเกิดแผ่นดินไหวขนาดถึง 8.3 ริกเตอร์ในประเทศญี่ปุ่นทำให้เกิด “สึนามิ” ที่มีความรุนแรงมากก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งชิวิตและทรัพย์สิน ถึงแม้ว่าคนที่เสียชีวิตจะไม่มากเหมือนกับคราวที่เกิดในประเทศไทยและบริเวณใกล้เคียงที่มีคนเสียชีวิตรวมถึง 220,000 คน หากเรามองย้อนไปดูว่า 10 ปีเศษที่ผ่านมาเรามีโศกนาฎกรรมใหญ่เกิดขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะสึนามีและแผ่นดินไหว เช่นในเฮติ คนตายถึง 220,570 คน ที่เสฉวน 8 หมื่นคนเศษ ทีปากีสถาน 8 หมื่นคนเศษ ที่อิหร่านสองครั้ง รวมแล้ว 7 หมื่นคนเศษ เราจะเห็นได้ว่าทุกๆปีจะมีเหตุให้ต้องเศร้าเสียใจกันและเหตุการณ์ต่างๆก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆทั้งยอดผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินที่เสียหาย อนาคตโลกแตกคงไม่ไกลเกินกว่าความเป็นจริงเสียเท่าไหร่ ผมเคยคุยกับนักศึกษาว่าให้ดูภาพยนตร์ที่มีเหตุการณ์ต่างๆไว้ว่าในอนาคตช้าหรือเร็วเหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้นในโลก ตอนเป็นเด็กก็หลายสิบปีแล้วมีภาพยนตร์เรื่องโลกแตก (EARTH QUAKE) สมัยนั้น(นานมากแล้ว) เทคนิคสุดยอดดูแล้วตื่นเต้นสุดๆแล้วมันก็เกิดขึ้นจริงไม่กี่สิบปีให้หลัง พายุหิมะถล่มนิวยอร์คในภาพยนตร์ สัตว์กลายพันธุ์เป็นอสูรกาย (ตัดต่อดีเอ็นเอ) ดาวหางพุ่งเข้าชนโลก น้ำท่วมโลก ฯลฯ เชื่อได้ว่าอนาคตจะเป็นไปได้อย่างแน่นอนคำถามมีอยู่ว่า ช้าหรือเร็วเท่านั้นนั่นเอง
เกริ่นมาเสียนานก็อยากเข้าเรื่องว่าเหตุต่างๆในโลกล้วนแต่มีเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ซึ่งบางสิ่งบางอย่างเราก็สามารถควบคุม แก้ไข หรือ บรรเทาให้ความเสียหายน้อยลงได้เช่น สึนามีในญี่ปุ่นครั้งนี้เนื่องจากมีการเตรียมพร้อม ทั้งอุปกรณ์ตรวจจับ การฝึกซ้อม การเตือนภัย ฯลฯทำให้เสียชีวิตน้อยมาก แล้วคำถามที่ว่า “ใครจ่าย” ก็ต้องตอบว่า มนุษย์และสังคม เป็นคนจ่ายกับเหตุการณ์ทางธรรมชาติหากเราไม่ดูแลและรักษาธรรมชาติ ลูกหลานเราในอนาคตก็ต้องเป็นคนจ่าย ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์ 101 ที่เคยเรียนมาว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” เพียงแต่ว่าถ้าเราไม่ได้จ่ายแล้วใครเป็นคนจ่ายเท่านั้น เราเห็นโปรโมชั่นต่างๆไม่ว่าจะเป็นบ้านจัดสรรที่ปัจจุบันนี้โปรโมชั่นกันว่า ดอกเบี้ย 0% หนึ่งปี หรืออยู่ฟรี 1 ปี ฯลฯ ถามว่า “ฟรีจริงหรือ” คำตอบคือ “ไม่” แล้วใครจ่ายละครับผู้บริโภคนั่นแหละเป็นคนจ่ายเพราะโครงการได้บวกต้นทุนของฟรีเหล่านี้ไว้ในต้นทุนของสินค้าแล้วก่อนจะตั้งราคาขาย ธนาคารคงไม่มีใครให้กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือต้องผ่อนเป็นเวลาถึงหนึ่งปีแน่ ดังนั้นเจ้าของโครงการจึงเป็นคนจ่ายดอกเบี้ยหรือผ่อนให้เราหนึ่งปีแทน “ด้วยเงินของเราเองที่รวมอยู่ในต้นทุนสินค้าก่อนที่จะตั้งราคาขายนั่นเอง” บางคนอาจจะแย้งว่าค่ายโทรศัพท์มือถือไงที่มีของฟรีให้ถึงหกเดือนเช่นเล่นเน็ทฟรี แต่เขาคาดหวังว่าเราจะเป็นลูกค้าต่อไปในอนาคตนั้นเองความหมายคือเราก็ต้องจ่ายในอนาคตนั่นเองอีกอย่างหนึ่งในธุรกิจบริการแล้ว “ไม่ใช้มันหายไป” คือไม่ว่าจะมีคุณมาใช้บริการในช่วงนั้นหรือไม่สัญญานเน็ทก็มีอยู่แล้วดังนั้นต้นทุนของผู้ให้บริการไม่มีจึงสามารถมาทำเป็นโปรโมชั่นได้โดยไม่คิดค่าบริการแต่จะได้จากค่าบริการทางด้านอื่นๆแทนเช่นการโทร การส่งเอสเอ็มเอส ฯลฯ ดังนั้น “โอกาสในการได้ลูกค้า”จึงเป็นคนจ่ายค่าบริการนี้แทนนั่นเอง หันมาดูโครงการของรัฐบาลกันบ้างที่มีค่าไฟฟรี 90 หน่วยแรกถามว่าสุดท้ายแล้วฟรีจริงหรือไม่คำตอบคือไม่เพราะ “ใครเป็นคนจ่ายแทนต่างหาก” ในกรณีนี้ยังไม่สรุปว่าจะเป็นเอกชนคนที่ใช้ไฟเกิน 90 หน่วย หรือว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ที่จะต้องแบกรับภาระตรงนี้ทำให้ดูเหมือนว่าไม่ค่อยเป็นธรรมเพราะเราก็ได้จ่ายภาษีไปแล้วทั้งทางตรงหรือทางอ้อม(ภาษีมูลค่าเพิ่ม) และจะเป็นภาระต่อต้นทุนสินค้าจนทำให้ต้องขึ้นราคาสินค้าก็จะไปมีผลต่อคนที่มีรายได้น้อยอยู่ดีในที่สุด หรือการศึกษาฟรี 15 ปีที่มีการแจกชุดนักเรียนหนังสือฯลฯ ความจริงแล้วรัฐบาลไม่ควรแจกให้กับทุกคนก็ได้ซึ่งคาดว่ามีคนถึงครึ่งหนึ่งที่สามารถช่วยตัวเองได้ ควรนำเงินงบประมาณมาแจกให้กับคนจนจริงหรือพัฒนาโรงเรียนให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันจะดีกว่าหรือไม่ แล้วถามว่าฟรีจริงหรือไม่ “ใครเป็นคนจ่ายแทนต่างหาก” เพราะเป็นงบประมารของรัฐที่เก็บมาจากภาษีอากรของเราดังนั้นพวกเรานั่นเองที่เป็นคนจ่าย หากครึ่งหนึ่งของงบประมาณนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ (เพราะมีผู้ปกครองที่สามารถช่วยตัวเองได้) ก็สามารถนำมาพัฒนาโครงการอื่นๆได้ “นั่นเท่ากับว่าโครงการอื่นๆเป็นคนจ่ายงบประมาณนี้นั่นเอง”
คำกล่าที่ว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” นั่นเอง อาจมีคนแย้งว่ามีสิบางครั้งเราไปเที่ยวแล้วเกี่ยวผู้หญิงมาได้ ดูเหมือนได้ฟรี แต่ว่าจริงๆแล้วคุณต้องจ่าย “ค่าความเสียง” จากการถูกร้องเรียนว่าข่มขืน ถูกจับ(ให้เลี้ยงดู) หรือถูกยิง (จากแฟนของหญิงคนนั้น) ติดโรค (ทางเพศสัมพันธ์) ฯลฯ ดังนั้นค่าใช้จ่ายอาจจะไม่ใช่ตัวเงินก็ได้แต่เป็น “ค่าความเสี่ยง” นั่นเอง เชื่อหรือยังว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แต่ “จ่าย” ด้วยอะไรเท่านั้นเอง

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...