วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

“ มูลค่าเพิ่มเริ่มแบบบ้านๆ ”


             




                สินค้าทุกวันนี้จะว่าไปแล้วในเรื่องคุณสมบัตินั้นแทบจะหาข้อแตกต่างอย่างมีนัยะสำคัญไม่ค่อยได้  ดังนั้นนักการตลาดและผู้บริหารธุรกิจทั้งหลายจึงต้องพยายามสร้างความแตกต่าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า หรือ บริการของตนเอง  ทั้งนี้เพื่อมัดใจลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อ  ซื้อซ้ำ  แถมช่วยประกาศแนะนำสินค้าที่เรียกว่า รีวิว โดยไม่ต้องเสียตังเหมือนกับจ้างดารา   หรือ เซเล็บ แบบอาหารเสริมหรือครีมที่โดนกวาดล้างไปที่เป็นข่าวครึกโครมจนมีภารกิจที่เรียกว่า  “ตำรวจ ตัด ตำรวจ” 
            เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ระยองกับเพื่อนสมัยมัธยมปลายที่สามเสนวิทยาลัย  ที่คบกันมา 42 ปีแล้ว  และแน่นอนไปช่วงนี้ก็ต้องจัดเต็มกับ  “ปาร์ตี้ทุเรียน”  เดิมนั้นคิดว่าจะไปชมสวนแบบบุฟเฟต์ทุเรียน ราคา 400-450 บาท  แต่มาคิดอีกทีนึง (ด้วยความงก)  ว่าเราไปเที่ยวสวนจะกินได้เท่าไหร่เชียว  แล้วหากแกะออกมาแล้วไม่พึงปรารถนาจะต้องเป็นกรณีโต้เถียงกันหรือไม่   อย่ากระนั้นเรยเราหาซื้อทุเรียน (ซึ่งเลือกแล้วว่าตรงกับความต้องการของเรา)  จากตลาดแล้วไปกินที่ที่พัก    สรุปว่าไป 10 คน  จัดซื้อไปสองรอบ  รวม  12 ลูก (จัดเต็มมาก)  รวมผลไม้อื่นๆ มังคุด / สละ  หารแล้วตกคนละ 420 บาท  แถมกินได้ สามมื้อ  คือ  เย็น  ดึก  และ เช้า  นี่ถ้าไปที่สวนคงกินได้อย่างมากแค่ ครึ่งหนึ่งของที่กินในทริปนี้
            แปลว่า  “สวนทุเรียน”  ดูเหมือนสร้างมูลค่าเพิ่มทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า  “คุ้ม คุ้มจริงๆ”  เพราะกะว่า เสีย 400-450 แล้วจะฟาดให้พุงกางเรย  แต่หารู้ไม่ว่าสุดท้ายก็กินได้ไม่เท่าไหร่ เพราะ อืดอยู่ในท้อง   แบ่งกินเป็นสามมื้อแบบที่พวกเราจัดเต็มก็ไม่ได้ สรุปแล้วสวนกำไรมากกว่าที่จะมาขายแบบในตลาด  อิอิง................ “มูลค่าเพิ่ม”   555
            ไปตลาดซื้อผลไม้กลับฝากเพื่อนฝูง และ เจ้านาย ปรากฏว่า สละ ปอกเสร็จสวยงาม อยู่ในกล่องพลาสติกใส  กล่องละ 50 บาท  (ซื้อไปกินที่บ้านพักก่อนหน้านั้นแล้ว)   จะซื้อไปกินต่อที่กทม.  ถามว่าที่ยังไม่แกะโลละเท่าใด  50 บาทครับพี่น้อง  แล้วที่แกะแล้วในกล่องนี่ กี่ กิโล   โอ้โฮ  แค่  ครึ่งกิโลกรัมครับ   “สร้างมูลค่าเพิ่ม  ให้ผู้ซื้อสะดวก  และ สร้างมูลค่าเพิ่มในกระเป๋าแม่ค้า อีก 100%  จากโลละ 50  เป็น โลละ  100 “  ครับ     ช้าอยู่ใยก็ซื้อซิครับรออะไรอยู่มิทราบ
            ดังนั้นการสร้างมูลค่าเพิ่มอย่าไปคิดอะไรให้ยุ่งยาก  ถามง่ายๆ            ว่า 
“ลูกค้าต้องการอะไร.............แล้วยอมจ่ายเพิ่มอีกเท่าใด “   แล้วก็   “จัดไป” 
เลยขอสรุปคร่าวๆว่าจะเพิ่มมูลค่าได้ดังนี้
1.ภาชนะบรรจุ  ที่สวยงาม สดใจ ใจฟรุ้งฟริ้ง แบบสินค้าญี่ปุ่นครับ
2.เพิ่มบริการเขาไป  เช่น สละ  แกะใส่กล่องดังกล่าวมาข้างต้น
3.จัดเป็นชุดลิมิเต็ดเอ็ดดิชั่น   แบบว่ารุ่นพิเศษ  หมดแล้วหมดเลยครับ
4.สร้างสีสรรค และจุดดึงดูดสินค้า เช่น  เสื้อสีสดๆ แบบแปลกตา  ไม่เหมือนใคร
5.ใส่ “สตอรี่”  หรือเรื่องราวให้กับสินค้า และบริการนั้น  เช่น แหล่งวัตถุดิบ  ดีไซน์จากเซเล็บ  ทำให้เหมือนญี่ปุ่น  เช่น  แอร์ไซโจเดินกิ  สัญชาติไทย 100 %

6.สถานที่นั้นมีความโดดเด่น  ใครเลียนแบบไม่ได้  เช่น ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชิลๆ แบบโดนใจคนรุ่นใหม่  อยู่กลางสวน  กลางนา   มีควายมาเดินให้เราดม เป็นต้น
7.มีคน ดี   คนเด่น  คนดัง  ใช้บริการ (ใช้จริงๆ  ไม่ใช่แบบรับจ้างรีวิว)  ก็จะทำให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น  โดยไม่ต้องโฆษณา
8.สินค้ามีนวตกรรม  ใส่ฟังชั่นครบ จบในตัวเอง  เช่นโทรศัพท์มือถือ  หรือ สินค้าไฮเทคทั้งหลาย  แม้แต่สินค้าธรรมดา แต่การเสริมด้วยบริการที่ไฮเทค 
9.มีความโดดเด่นในด้าน   ออกแบบ รูปทรง  ซึ่งหมายถึง เป็นมูลค่าเพิ่มทางด้าน “ EMOTION  ที่ด้านอารมณ์นี้เป็นบ่อเกิดแห่งความอยาก  และยอมจ่ายได้เร็ว  จ่ายได้มาก เสียด้วย
10.และสุดท้าย  มูลค่าเพิ่มจาก  “แบรนด์ “  ที่ทำได้ยาก ที่สุด  แต่หากไม่สะดุดละก็ติดลมบน ทำสินค้าขายไม่เทียนนะจะบอกให้



         

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...