วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

โอกาสดีๆที่ต้องคว้าเอาไว้

ช่วงวันสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสพาครอบครัวซึ่งรวมทั้งครอบครัวของน้องๆ รวมทั้ง หลานๆและคุณพ่อคุณแม่ตลอดจนแม่ภรรยาไปพักผ่อนที่ประเทศไต้หวัน ก็นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสรวบรวมสมาชิกในครอบครัวมาร่วมกิจกรรมกันห้าวันห้าคืน แต่ในช่วงที่อยู่ไต้หวันก็รับเอสเอ็มเอสถึงข่าวคราวความวุ่นวานในประเทศของเราซึ่งหนังสือพิมพ์ไต้หวัน ลงรูปและข่าวในหน้าหนึ่งเลยเพราะว่าไต้หวันมีกิจการอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก นี่ก็นับว่าโชคดีที่เหตุการณ์สงบลงในเร็ววันและสูญเสียทางกายภาพน้อยมาก แต่ว่าการสูญเสียที่ตามมาในเรื่องความเชื่อมั่นและภาพพจน์ของประเทศไทยอีกนานเท่าไหร่จะกลับมาเหมือนเดิมก็คงไม่มีใครสามารถตอบได้ เราได้เห็นว่าพันธมิตรเสื้อเหลือปิดการจราจรทางอากาศ เสื้อแดงปิดการจราจรทางบก ก็ได้แต่ภาวนาว่าเสื้อน้ำเงินอย่าได้ปิดท่าเรือตัดขาดการส่งออกเลย หรือถ้าแย่ไปกว่านั้นเสื้อเขียว(ขี้ม้า) ถ้าออกมาอีกครั้งคราวนี้ปิดประเทศทุกเส้นทางเลย ก็ขอให้ช่วยกันภาวนาให้ประเทศไทยรอดพ้นจากเกมส์ของการช่วงชิงอำนาจในครั้งนี้ด้วย เพราะสุดท้ายแล้วประชาชนอย่างเราๆท่านๆก็แค่เบี้ยตัวหนึ่งในกระดานเท่านั้นเอง
จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลงโดยลามมาจากอเมริกา ยุโรป สู่เอเชีย เราก็จะเห็นสัจจธรรมอยู่อย่างหนึ่งในสมัยเด็กๆเราเคยเรียนว่าสสารไม่สูญหายเพียงแต่เปลี่ยนรูปไป ประกอบกับทฤษฏีของแมสโลว์ทีว่าด้วยความต้องการของมนุษย์ที่แบ่งเป็นห้าระดับและระดับล่างสุดซึ่งเป็นฐานก็คือความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องของ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ฯลฯ ที่เป็นปัจจัยความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ถ้าเราเข้าใจกับทฤษฏีต่างๆเหล่านี้ และสามารถฉกฉวยโอกาสจากวิกฤติครั้งนี้ได้ก็อาจจะอยู่รอดปลอดภัยแถมอาจจะมีผลตอบแทนที่มากกว่าในอดีตเสียอีก ตัวอย่างเช่นร้านอาหารกาจจะกระทบเพราะคนกินข้าวนอกบ้านน้อยลงเนื่องจากมีสตางค์ลดลงหรือประหยัดค่าใช้จ่าย แต่มนุษย์ต้องกิน(เพื่อการดำรงชีพ)ก็ต้องทำอาหารกินในบ้านเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ขายอาหารสด เครื่องปรุง เครื่องมือในการทำอาหาร โรงเรียนสอนทำอาหาร ฯลฯ ที่เป็นการตอบรับกับทฤษฎีข้างต้น ดังนั้นหากองค์กรใดปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ก็อาจจะเห็นธุรกิจใหม่ๆหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเดิมที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน ตอนผมอยู่ที่ไต้หวันซึ่งไม่ได้ไปหลายปีมากน่าจะเกือบ 8-9 ปี พบว่าค่าครองชีพของไต้หวันเมื่อเทียบกับรายได้โดยรายได้ขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 15,000 แต่ก๋วยเตี๋ยวข้างถนนแค่ 25-35 เท่านั้นเอง ก็ยังแปลกใจอยู่ว่าค่าครองชีพของไต้หวันแทบไม่ได้ขยับเลยเมื่อเทียบกับ 8-9 ปีที่ผ่านมา ขนมหวนเย็นแบบบ้านรา 20-25 บาท โดยเฉลี่ยแล้วซื้อของในไต้หวันราคาเดียวกับบ้านเรา แต่ค่าเงินจะแพงกว่าบ้านเราประมาณสิบเปอร์เซน์แต่รายได้ขั้นต่ำมากกว่าบ้านเราประมาณห้าสิบเปอร์เซ็นต์ ที่ไต้หวันก็แจกเงินให้กับประชาชนเหมือนกันแต่เค้าแจกในรูปของคูปองและมีอายุการใช้งานของคูปองเข้าใจว่า 6 เดือน ซึ่งหมายถึงว่าคนที่ได้รับจะต้องนำมาจับจ่ายใช้สอยแต่บ้านเราแจกเป็นเงินซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจจะไม่ได้นำไปใช้เพราะต้องประหยัดสุดๆเกรงว่าจะตกงานหรือรายได้ลดลงก็เซฟตี้ไว้ก่อน ก็เลยไม่รู้ว่าเงินจะหมุนไปได้มากน้อยขนาดไหนก็คงต้องเวทแอนด์ซี
นี่เห็นว่ารมต.กระทรวงการคลังออกมายอมรับแล้วว่าจีดีพีของเราอาจจะติดลบ 4-5 % และเป็นการเปลี่ยนแปลงสามหรือสี่ครั้งในรอบสี่เดือนที่เข้ารับตำแหน่ง จากเดิมว่าจะบวกเล็กน้อย เปลี่ยนเป็นน่าจะศูนย์ แล้วเปลี่ยนอีกครั้งลบ 1-2 % ซึ่งตอนนั้น ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ออกมาคาดการณ์ว่าจะติดลบ 4 % โดยรัฐบาลด่ากลับไม่ทัน แต่เดือนนี้ออกมายอมรับแล้วว่าอาจจะติดลบ 4-5 % ก็ยิ่งทำให้ประชาชนยิ่งขาดความเชื่อมั่นไปกันใหญ่ ผู้นำต้องปลุกเร้าและกระตุ้นให้มีกำลังใจสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นให้ได้ยิ่งหดหู่เท่าไหร่ยิ่งไม่กล้าใช้เงินก็ยิ่งติดลบเป็นลำดับ สู้พี่ตัน โออิชิไม่ได้ แค่รู้ว่ามีเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะแจกอย่างไรที่ไหนเมื่อไหร่ พี่ตันของเราก็ออกโปรโมชั่นแต่ไก่โห่ว่านำมาแลกเป็นคูปองมูลค่าถึง 4,000 บาท เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวโดยสามารถนำคูปองนั้นมาทานอาหารร้านทุกร้านในเครือโออิชิได้ภายในหกเดือน แปลว่าอะไรครับ ??? คำแปลของผมคือ 1.ขายของล่วงหน้าได้เงินมาก่อน 2.ลูกค้าต้องมาใช้บริการให้หมดใน 6 เดือน รู้เลยว่าอีกหกเดือนข้าหน้ายอดขายในโปรโมชั่นนี้เท่าไหร่ 3.ร้านอาหารกำไรเกินเท่าตัวอยู่แล้วดังนั้นไม่มีทางขาดทุน 4.เมื่อมากินทีร้านจริงๆอาจจะกินมากกว่าสี่พันบาทตามมูลค่าของคูปองก็ได้ แสดงว่าขายของได้เพิ่มขึ้นใช่หรือเปล่า 5.ไม่ว่าจะมีคนนำเช็คช่วยชาติมาใช้บริการโปรโมชั่นนี้เท่าไหร่ก็ตาม แต่โปรโมชั่นนี้เป็นที่กล่าวขวัญถึงเพราะไม่มีค่ายไหนใจถึงเท่าพี่ตันให้มูลค่าเพิ่มถึง 100 % ค่ายอื่นๆลด 10 หรือ 20 % เป็นอย่างมาก ซึ่งจากโปรโมชั่นนี้เองก็มีคนมาใช้บริการการจนต้องปรับเงื่อนไขว่าต้องเป็นเจ้าของเช็คเองจึงจะเอามาแลกคูปองได้ ไม่งั้นเห็นที่ผมคงได้ร่วมด้วยเพราะไปขอซื้อเช็คจากลูกน้องไว้แล้วในราคา 2,500 เรียกว่าวิน-วินทุกฝ่ายใช่มั๊ย ยอดขายของโออิชิในไตรมาสที่สี่ปีที่แล้วไม่ตกเลยแถมขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วนไตรมาสหนึ่งของปี 2552 นี้ก็คงไม่ต้องเดานะว่าต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน นี่แหละครับทพี่ตันที่ไม่ยอดมตัน เพราะพี่ตันเป็นคนเห็นโอกาสในทุกวิกฤติเสมอ
โอกาสดีที่ต้องคว้าเอาไว้ที่พี่แกไม่เคยพลาดเลยซักโอกาส อิ..อิ...

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552

บัญญัติ 10 ประการกับการสู้เศรษฐกิจ(ถดถอย)

ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ
อาจารย์พิเศษโครงการปริญญาเอกการจัดการกีฬา ม.เกษตรศาสตร์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการพิสิษฐ์กรุ๊ป


ผมเขียนบทความนี้ในเวลากลางคืนก่อนที่เหตุการณ์วันแดงเดือดจะเกิด ซึ่งมิใช่การประทะแข้งของหงส์แดงลิวเวร์พูลกับปีศาจแดงแมนยูฯ แต่เป็นวันประกาศดีเดย์ของคนเสื้อแดงที่ก่อนหน้านั้นใช้เทคโนโลยี่เข้ามาช่วยในการโฟนอิน วีดีโอลิ้งค์ปลุกกระแสจนได้ที่แล้วก็ได้แต่ภาวนาขอพระสยามเทวาธิราชได้คุ้มครองประเทศไทยด้วย ดูๆไปแล้วความขัดแย้งครั้งนี้คงหาจุดจบลำบากและประเทศไทยกับประชาชนคนไทยต่างหากที่เป็นเบี้ยให้กับทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือหรือเสื้อแดง แต่ชีวิตและธุรกิจก็ต้องดำเนินไปเพราะหยุดไม่ได้นั้นเองแล้วคำถามที่สำคัญสำหรับช่วงเวลานี้ ที่ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย(หมายถึงติดลบ)และมีแนวโน้มว่าประเทศไทยจะติดลบ 2-4 % ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลบอกว่าบวกแน่ๆ อีกเดือนถัดมาบอกว่าลบเล็กน้อย ตอนนี้เชื่อแล้ว่ามากกว่า -2 % เป็นตัวตั้งบวกลบเท่าไหร่รอลุ้นกันตอนปลายปีก็แล้วกัน นอกจากนี้แล้วความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองก็เป็นตัวบั่นทอนให้เหตุการณ์ยิ่งแย่ลงไปอีก แต่ถ้าเรามัวแต่งอมืองอเท้าก็มิใช่วิสัยของนักสู้อย่าพวกเรามิใช่หรือ อย่ากระนั้นเลยเราลองมาดูซิว่าในภาวะอย่างนี้เราควรจะทำอะไรได้บ้างก็พอจะสรุปได้เป็นบัญญัติ 10 ประการดังนี้นะครับ
1.ปลุกขวัญและกำลังใจ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้นำองค์กรจะต้องกระตุ้นปลุกเร้าให้ทุกคนสู้ๆ แม้จะลำบากแต่ยังมีความหวังและชัยชนะรออยู่ข้างหน้า แต่ถ้าเถ้าแก่ไม่ว่าเถ้าแก่น้อยหรือเถ้าแก่ใหญ่บอกกับลูกน้องทุกวันสามเวลาหลังอาหารว่าบริษัทเราคงไปไม่รอด เจ๊งแน่ๆ รับรองเรียบร้อยโรงเรียนโอบามาร์แน่ มันเหมือนกับตอนนี้เรารู้ว่าเราเป็นมะเร็งถ้าฮึดสู้กับมันก็พอมีความหวัง แต่ถ้าหดหู่ละก็เรียบร้อยตายเร็วขึ้นอย่างแน่นอน ให้เรานึกถึง VALUE OF LIFE เหมือหนังโฆษณาไทยประกันชีวิตเรื่องแม่ต้อยที่เป็นมะเร็งแต่ยังทำให้ชีวิตมีคุณค่า แต่ขอให้เป็น VALUE OF FIGHT คือคุณค่าที่ได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถต่างหากที่จะทำให้เรามีคุณค่า ถึงแม้ได้ต้องแพ้ในที่สุดแต่ก็ได้เห็นคุณค่าของการต่อสู้ในครั้งนี้
2.ลงทุนในทรัพยากรบุคคล องค์กรส่วนใหญ่จะนึกถึงการปลดคนงานเป็นอันดับแรก แต่ถ้าหากยังพอที่จะรักษาพนักงานไว้ได้อยากให้รักษาไว้จะโดยวิธีใดก็ตามเช่นอาจจะลดเงินเดือน หรือสวัสดิการต่างๆ ฯลฯ แต่รักษาพนักงานไว้เพราะเมื่อเศรษฐกิจกลับมาแล้วกว่าจะสร้างพนักงานที่มีทักษะได้ก็ต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญได้ใจพนักงานทุกคนไว้ ผู้บริหารของพิสิษฐ์กรุ๊ปได้ใช้แนวทางนี้มาตั้งแต่ครั้งวิกฤตไอเอ็มเอฟ เมื่อปี 2540 นอกจากรักษาแล้วต้องพัฒนาไปด้วย เพราะกำลังผลิตลดก็ให้ไปศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองจะได้มีศักยภาพ ฝีมือ ใจ ในการทำงานเพิ่มขึ้น
3.หาพันธมิตร ที่ไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อสีเหลืองเพราะว่านี่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่จะมาช่วยกันพัฒนาธุรกิจร่วมกัน เวลาเราพูดถึงพันธมิตรทางธุรกิจเรามักจะนึกถึงการทำโปรโมชั่นร่วมกันเป็นหลัก แต่ยังมีความร่วมมือในอีกหลายรูปแบบ รวมทั้งมีพันธมิตที่เป็นซัพพลายเออร์ที่ดีมีคุณภาพและมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เช่นการปฏิบัติต่อซัพพลายเออร์โดยเป็นคู่ค้ามิใช่ว่าคนมาขายของให้เราจึงโขกสับ ต่อราคาแบบไม่ให้เราได้ผุดได้เกิด ในภาวะแย่ๆซัพพลายเออร์ก็ยอมศิโรราบ แต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ลองถามดูซิว่าจะส่งของให้ลูกค้ารายไหนก่อนระหว่างคนที่มีสายสัมพันธ์ที่ดี กับลูกค้าที่คอยแต่เอารัดเอาเปรียบและแสวงหากำไรอยู่ตลอดเวลา การแสวงหาช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ฯลฯ ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เราได้หยุดคิดและพัฒนาหาพันธมิตรด้วยความมุ่งมั่นเพราะเราไม่สามารถสำเร็จได้โดยปราศจากเพื่อนได้
4.พัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า CRM / CEM ตอนนี้ขายของไม่มีลูกค้าน่าจะมีจำนวนที่น้อยลง ผู้บริหารจากเดิมที่อาจจะยุ่งหรือมีความสุขอยู่กับผลประกอบการ แต่ตอนนี้เรามีเวลามากขึ้นแล้วกลับมาทบทวนการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และบริหารประสบการณ์ของลูกค้าดูซิว่าเรามีอะไรที่จะปรับปรุงได้เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ฟังรายงานแต่เพียงอย่างเดียว คงต้องลงมาลุยและหาข้อมูลด้วยตนเองและเชื่อว่าจะได้ข้อมูลอะไรดีๆที่หลายปีที่ผ่านมาไม่มีโอกาสรับทราบ
5.ควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ คำว่าควบคุมกับลดต้นทุนเป็นสองคำที่น่าจะมีความหมายแตกต่างกันในคอนเซพของผมเพราะคำว่าการลดต้นทุนในความหมายของผมคือการลดต้นทุนจริงๆโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพทั้งของสินค้า และบริการ เพราะฉะนั้นลองไปดูซิครับว่าต้นทุนตรงใดที่เรายังบริหารไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่น ต้นทุนทางการเงินหากรีไฟแนนซ์แล้วดอกเบี้ยลดลงไป 0.5 % แต่หากเป็น 100 ล้าน จะลดได้ 500,000 บาทอย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งช่วงนี้ธนาคารเองหาสินเชื่อที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะเจรจาต่อรองดอกเบี้ยหากคุณเป็นธุรกิจที่มั่นคงและประวัติดีๆอย่าไปกลัวที่จะต่อรองกับธนาคารในเรื่องดอกเบี้ยนะครับ หรือแม้แต่การไปสำรวจว่ามีเครื่องจักร เครื่องมือใดที่ไม่ได้ใช้ก็นำออกมาขายได้เงินสดๆดีกว่านะครับ ลองดูเถอะครับมีเงินล้านหล่นอยู่ในบริษัทของท่านอย่างแน่นอน
6.ให้โอกาสในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ อาจจะมาจากพนักงาน หรือการไปพบลูกค้า(ของผู้บริหาร) ก็อาจจะนำมาซึ่งโอกาสทางการค้าและธุรกิจใหม่ๆทั้งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมของเรา หรืออาจจะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดั้งเดิมของเราที่เรียกกันว่าเป็น DIVERSIFICATION ก็ได้ใครจะไปรู้ ที่สำคัญอย่าปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ และส่งเสริมให้พนักงานคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่พนักงานเอ่ยปากจะเสอนอะไรก็ “รู้แล้ว” อีกหน่อยพนักงานก็จะไม่มีอะไรมาเสนอเลยอีกต่อไปอย่างแน่นอน
7.หาตลาดและลูกค้าใหม่ๆ อย่างที่ฝรั่งมันเขียนเป็น BLUE OCEAN หรือว่าน่านน้ำสีครามที่เมื่อถึงเวลาหนึ่งมันก็จะเป็นน่านน้ำสีแดงเดือดเพราะว่ามันเป็นสัจจธรรมว่าอะไรขายดีคนก็จะแห่มาทำตาม แต่หากเราเข้ามาก่อนมันจะอยู่ในใจผู้บริโภคและหากได้สร้างแบรนด์ที่ดีแล้วก็จะเกิดความภักดีในที่สุดนั่นเอง
8.แสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงทุนเกินตัวและความจำเป็น ปัจจุบันระบบไอทีต่างๆที่จะมาบริหาร CRM หรือ ERP มีราคาถูกลงจนพอที่จะลงทุนได้เราให้ระบบและเทคโนโลยี่ช่วยบริหารงานได้ แต่ก็ต้องมองให้เหมาะกับธุรกิจทั้งธรรมชาติขอบธุรกิจนั้นและเหมาะกับงบประมาณของเราด้วย
9.ปรับปรุงกระบวนการในการทำงาน ลองไปทบทวนศึกษาดูว่าในกระบวนการทำงานใดที่เราสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ หรือช่วยให้ลดต้นทุนได้ โดยเฉพาะบริษัทที่ทำ ISO ซึ่งมี PROCEDURE ต่างๆอยู่มักจะติดกับดักของ ISO คือมีแล้วเลยไม่คิดปรับปรุง(เพราะเชื่อว่ามันดี มีอยู่แล้วนั่นเอง) ลงไปในรายละเอียดเลยเพราะเรามีเวลาอันเป็นผลมาจากกำลังผลิตลดลง แล้วเราจะพบว่ามีเงินตกหล่นจากการพัฒนากระบวนการทำงานอีกไม่น้อย
10.สุดท้ายนี้อาจจะขวางโลกไปซักหน่อยคือ “ลงทุนเพิ่ม” เพราะตอนนี้ของถูกลองเลือกหาอาจจะเป็นธุรกิจใหม่ (แต่ต้องแน่ใจว่าเรามีความสามารถในการบริหารธุรกิจนั้น และธุรกิจนั้นมีอนาคต) หรือจะลองปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นเก่าที่เมื่อคำนวณแล้วต้นทุนการผลิตอาจจะแพงกว่า ก็เป็นไปได้นะครับ
ก็ให้คิดเสียว่าเป็นทางเลือกและข้อแนะนำหากเห็นชอบในข้อใดก็ลองไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรของท่านนะครับ แล้วเจอกันที่ปลายอุโมงค์เพราะผมเชื่อมั่นว่าประเทศไทย องค์กรธุรกิจในประเทศไทย และตัวเราเพื่อนๆร่วมธุรกิจ เพื่อนร่วมงานจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน แม้จะโชกเลือดหรือเสียเลือดเสียเนื้อไปบ้าง แต่ชีวิตและธุรกิจจะต้องดำเนินไปให้เราเห็น VALUE OF FIGHT………….

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...