วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

“โอกาสของการขยายตัวของธุรกิจไทย ในทศวรรษหน้า”



ประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดีไม่กี่ประเทศในโลกที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเพาะปลูก เอื้อต่อการคมนาคมขนส่ง ภูมิอากาศที่สบาย มีมรดกทางวัฒนธรรมและอารยธรรมที่สามารถเป็นจุดขายการท่องเที่ยวได้ ฯลฯ เรียกว่าดีไปหมดแต่ว่าประเทศเรายังไม่สามารถพัฒนาได้อย่างทัดเทียบอารยะประเทศทั้งหลายได้ก็เนื่องด้วยคนไทยเรากันเอง มากกกว่า พอดีผมไปสัมมนาและได้เห็นตัวเลขชุดหนึ่งที่คิดว่าน่าจะเอามาขยายความเพื่อที่ท่านทั้งหลายจะได้ไม่ต้องทนทุกข์ว่าประเทศเรามีแต่อุปสรรค เพราะถ้าท่านเห็นตัวเลขเหล่านี้แล้วจะพบว่าประเทศไทยของเรามีแต่โอกาสทั้งสิ้น
อัตราส่วน จีดีพี ไทย ต่อโลก 0.45%
อัตราส่วนการส่งออก ไทย ต่อโลก 1.1 %
อัตราส่วนประชากรไทย ต่อโลก ประมาณ 1.%
ถ้าคิดแบบบัญญัติไตรยางศ์ก็แสดงว่าจีดีพีไทยจะโตได้อีก 0.55 % แต่ถ้าคนไทยบริโภคเหมือนกับสหรัฐอเมริกา ที่มีสัดส่วนประชากร 4.5 % ของโลก แต่บริโภค ถึง 25% ของ จีดีพีโลก แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องให้บริโภคแบบไม่ลืมหูลืมตา จนลืม “เศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวงเรานะครับ เป็นแต่เพียงตัวเลขต่างๆเหล่านี้มันจะช่วยบอกถึง “โอกาส” ของประเทศไทย หรือ ญี่ปุ่น ประชากร 1.9 % ของโลก แต่บริโภคถึง 8.47% ของจีดีพี ไม่ต้องพูดถึงประเทศจีน ที่ตอนนี้จีดีพีเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น จีนมีประชากรถึง 20 % ของโลกแต่บริโภคเพียง 8.17 % ลองดูตารางข้างล่างก็จะเห็นว่าอนาคตเราควรค้าขายกับประเทศใดครับพี่น้อง


สหรัฐอเมริกา ประชากร 603 ล้านคน คิดเป็น 4.5% จีดีพี 14.40 ล้านๆเหรียญ คิดเป็น25%
ญี่ปุ่น ประชากร127 ล้านคน คิดเป็น 1.9% จีดีพี 5.08 ล้านๆเหรียญ คิดเป็น8.47%
จีน ประชากร 1,350 ล้านคน คิดเห็น 20% จีดีพี 4.90 ล้านๆเหรียญ คิดเป็น 8.17%
อินเดีย ประชากร 1,150 ล้านคน คิดเป็น 17% จีดีพี 1.60 ล้านๆเหรียญ คิดเป็น2.67%
อาเซียน ประชากร 580 ล้านคน คิดเป็น 9% จีดีพี 1.60 ล้านๆเหรียญ คิดเป็น 2.67%

แสดงว่า จีน อินเดีย และ อาเซียน มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจในอัตราก้าวหน้า หากมองเฉพาะประเด็นสัดส่วนประชากรของโลก เมื่อเทียบกับจีดีพีโลก




ถ้าหากมาดูเฉพาะอาเซียนเจาะเป็นรายประเทศแล้วตามตารางนี้ ก็จะเห็นโอกาสว่าอยู่ที่ประเทศ อินโดนีเซีย พม่า และเวียดนาม เพราะว่า อินโดนีเซียมีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลกแต่จีดีพีน้อยมากแถมยังมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายที่ยังไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างเพียงพอ พม่าก็เช่นกันแม้ประชากรไม่มากแต่ว่าทรัพยากรล้นเหลือแถมไม่นานมานี้เปิดประเทศมากขึ้นจนหลายคนกลัวว่าแรงงานพม่าจะขาดแคลนในประเทศไทยเพราะถ้าหากพม่าพัฒนาเศรษฐกิจได้ดีคนก็ไม่ต้องดิ้นรนไปทำงานนอกประเทศ และหากดำเนินการทางการเมืองในเรื่องชนกลุ่มน้อยได้อย่างเรียบร้อยแล้วรับรองว่าพม่าติดจรวดแน่นอน แล้วเวียดนามมีอุปนิสัยที่ขยันขันแข่งหนักเอาเบาสู้ และแนวทางค้าขายคล้ายคนจีนทำให้บ้านเมืองเขาจะพัฒนาเร็วเช่นเดียวกันครับถ้าไม่มีสงครามเมื่อสามสิบปีก่อนป่านนี้นำไทยไปหลายช่วงตัวเลยครับ


Brunei ประชากร 0.396 ล้านคน จีดีพี 12,317 ล้านเหรียญ
Cambodia ประชากร 14.47 ล้านคน จีดีพี 8,662 ล้านเหรียญ
Indonesia ประชากร 224.90ล้านคน จีดีพี 431,717 ล้านเหรียญ
Lao ประชากร 5.60ล้านคน จีดีพี 4,128 ล้านเหรียญ

Malaysia ประชากร 27.17 ล้านคน จีดีพี 186,960 ล้านเหรียญ
Myanmar ประชากร 58.60 ล้านคน จีดีพี 12,632 ล้านเหรียญ
Philippines ประชากร 88.87 ล้านคน จีดีพี 146,894 ล้านเหรียญ
Singapore ประชากร 4.58 ล้านคน จีดีพี 161,546 ล้านเหรียญ
Thailand ประชากร 65.69 ล้านคน จีดีพี 245,701 ล้านเหรียญ
Viet Nam ประชากร 85.20 ล้านคน จีดีพี 71,292 ล้านเหรียญ

อย่าให้ลูกค้าลองใช้สินค้าของคู่แข่ง


“อย่าให้ลูกค้าลองใช้สินค้าของคู่แข่ง”
ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ม.เกษตรศาสตร์
12 มีนาคม 2555

“ความรักมันไม่ยากตอนแสวงหา (แต่บางคนก็หาไม่เจอ) แต่ยากตอนรักษา “ ประโยคนี้ไม่รู้ว่าโกเล็งพูดไว้หรือใครซักคนได้เคยพูดไว้ ถ้าอ่านผ่านๆก็เหมือนว่าจะไม่มีอะไรแต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วมันแฝงด้วยปรัชญามากมาย ถ้านำมาเปรียบเทียบกับแนวคิดทางการตลาดแล้วมีงานวิจัยสนับสนุนว่า “ต้นทุนในการแสวงหาลูกค้าใหม่ คิดเป็น 6 เท่าของการรักษาลูกค้าเดิม” และลูกค้าที่ไม่พอใจในสินค้าและบริการจะบอกต่อคนข้างเคียงอีก 10 คน แต่สำหรับคนไทยแล้วอาจจะมากกว่านั้นเพราะเป็นตระกูลเดียวกับยุ้ย ญาติเยอะนั่นเอง แถมโลกไซเบอร์ทำให้ข้อมูลข่าวสารมันแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว โพสไปทีนึงถ้าถูกใจกดไลค์กันกระจายทั่วเฟสบุ๊ค หรือ ตามโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าข่าวนั้นจะจริงหรือไม่อย่างไรแต่ก็สร้างการรับรู้ไปตามจำนวนคนที่รับข่าวสารนั้นแล้ว ดังนั้นแล้วเราจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจจนลองไปใช้สินค้าของคู่แข่ง ถ้าหากว่าลองแล้วติดใจอะไรจะเกิดขึ้น แน่นอนที่สุดหากสินค้าหรือบริการนั้นทดแทนกันได้ในราคาที่เหมาะสมลูกค้าก็จะเปลี่ยนไปใช้อย่างถาวรนั่นเอง
ผมซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมาเครื่องหนึ่ง (แต่คนใช้ STUPID ) มูลค่าสองหมื่นได้แต่น่าจะใช้แค่ห้าพัน เพราะฟังชั่นการใช้งานประมาณล้านแปดอย่างได้แต่ใช้แค่นิดเดียวเอง แต่ก็ต้องซื้อเพื่อให้เหมาะกับยุคสมัยและหน้าตา (อิอิ) รู้สึกว่าจะไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงเท่าไหร่ ซื้อมา 18 พฤษภาคม 2554 ใช้งานไม่นานก็รู้สึกว่ามีปัญหา เครื่องร้อน ถ่านหมดเร็วมาก ฯลฯ ก็นำเข้าศูนย์เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2554 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังก็แจ้งมาว่าต้องรออะไหล่จากเมืองนอกก็ไม่ว่ากัน (ศรีรอได้) 25 พฤศจิกายน 2554 โทรมาบอกว่าจะเปลี่ยนเครื่องให้ใหม่เลย (ดีใจแทบตาย) เรารีบหาเอกสารการซื้อเครื่องส่งไปให้ 12 ธันวาคม 2554 ครบหนึ่งเดือนที่ซ่อมครบ 16 วันที่แจ้งว่าจะเปลี่ยนเครื่องให้ โทรไปทวงแจ้งว่าเจ้าหน้าที่จากสำนักงานใหญ่จะติดต่อมา ไม่เป็นรัยของใหม่รอได้ ขอเบอร์สำนักงานใหญ่ก็บอกว่าไม่มี (ได้ยังไงหว่า) จนสุดท้ายต้องขู่ว่าจะไปฟ้องคุณอาณัติ จ่างตระกูล ผู้จัดการใหญ่ ซึ่งเรารู้จัก ซึ่งจริงแล้วเรารู้จักเขาแต่เขาคงไม่รู้จักเราหรอก555 เท่านั้นแหละพี่น้องที่รักนัดมารับวันรุ่งขึ้นเลยครับ เลยได้ไปรับเครื่องใหม่เมื่อ 15 ธันวาคม 2554 สรุป 1 เดือนกับ 2 วัน พร้อมกับคำขู่จึงจะได้มือถือกลับมาใช้งาน แล้วช่วงนั้นทำไงครับเดี้ยงเลยก็เลยไปซื้อมือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนเหมือนกัน แต่ราคาหมื่นต้นๆ ใช้งานได้เหมือนกันเปี๊ยบเพราะเป็นแอนดรอยเหมือนกันเวอร์ชั่นเดียวกัน คงไม่ต้องบอกนะครับว่าคุณอาณัติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ที่กล่าวถึงข้างต้นนะเป็น ผจก.ใหญ่ของซัมซุงเค้าเรียกว่าขายดีมากไปจนบริการมีปัญหาเลย อ้อไหนๆก็ไหนๆแล้วศูนย์บริการที่ฟอร์จูนห้องเท่าแมวดิ้นตายลูกค้าไปนั่งรอ ยืนรอ นอนรอกันเป็นโขยง น่าจะปรับปรุงได้แล้วครับท่าน อย่าให้ลูกค้าหายไปเพราะบริกากรไม่ดีเลยครับ มีตัวเลขงานวิจัยว่า 91 % ของลูกค้าที่ไม่ได้รับการดูแลข้อร้องเรียนจะจากไปโดยไม่กลับมาอีก และ มากกว่า 65% ของลูกค้าที่ไม่กลับมาเพราะขาดการดูแลเอาใจใส่มากกว่าความไม่พอใจในสินค้า จึงอยากฝากไปยังผู้บริหารทั้งหลายว่าอย่าพึงพอใจกับยอดขายและส่วนแบ่งตลาดแต่เพียงอย่างเดียว กลับมาดูระบบการบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วยเพราะลูกค้าหาไม่ยากตอนแสวงหา แต่การรักษาและดูแลให้เป็นลูกค้าตลอดไปรวมทั้งช่วยบอกต่อสินค้าของเราเพื่อความยังยืนของกิจการและตราสินค้าก็สำคัญไม่ใช่น้อยเช่นกัน.....................@@@@@

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...