วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กอล์ฟไทยไปโลด


กอล์ฟไทยไปโลด


                ข่าวที่น่ายินดีปลายปี 2561 นี้คงไม่พ้นข่าวที่ว่า  "โปรเม" เอรียา จุฑานุกาล โชว์ผลงานกระหึ่มโลก กวาดทุกรางวัลแห่งปีของแอลพีจีเอ ทัวร์ โดยไม่แบ่งให้ใครเลย    แม้ว่าในปี 2018 นี้จะได้แชมป์ LPGA แค่ 3 รายการ จากการลงแข่ง 28 รายการก็ตาม   นับรวมคะแนนและเกณฑ์ต่างๆแล้วทำให้ เอรียา กวาดรางวัลทั้งหมดไปคนเดียวทั้งสิ้น 6 รางวัลใหญ่ของแอลพีจีเอ ทัวร์ ได้แก่  1.นักกอล์ฟหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี “Rolex Player of the Year”, 2.นักกอล์ฟที่ทำผลงานดีที่สุดในระดับเมเจอร์ “Rolex Annika Major Award”, 3.นักกอล์ฟที่ทำเงินรางวัลสูงสุดแห่งปี, 4. นักกอล์ฟที่จบท็อปเท็นมากที่สุดแห่งปี (โบนัส 1 แสนเหรียญ), 5.รางวัลสกอร์เฉลี่ยดีที่สุดแห่งปี แวร์ โทรฟี่และ 6. รางวัลโบนัส 1 ล้านเหรียญ Race to CME Globe.   รวมเงินรางวัลและโบนัสที่เธอทำได้ทั้งสิ้นในปีนี้ 3,743,949 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 123,547,375 บาท  โอ้มายก้อดนี่ขนาดได้แชมป์แค่สามรายการเท่านั้นนะ

                ผมก็เลยนึกถึงโมเดลว่าประเทศไทยน่าจะมีการพัฒนานักกีฬากอล์ฟแบบว่า  หาช้างเผือกจากป่าซึ่งป่าในที่นี้ของผมไม่ได้หมายถึงต่างจังหวัดแต่เพียงอย่างเดียว  และอยากให้องค์กรธุรกิจต่างๆลองใช้โมเดลของผมนี้ดู  หากสำเร็จละก็ได้ทั้งเงินทั้งกล่อง  คือไปสรรหาเด็กจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าโดยให้นักวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นผู้คัดเลือก  และองค์กรธุรกิจเป็นผู้สนับสนุนในการฝึกซ้อมส่งเสริมในการแข่งขัน  แน่นอนต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากมหาศาล   แต่หากว่ามีผลผลิตแบบ “โปรเม”  “โปรโม” ออกมามากๆ   อาจไม่ต้องถึงขั้นนี้แค่ได้มีโอกาสแข่งในอีเวนต์ระดับโลกอย่างสม่ำเสมอ   ก็สามารถทำเงินได้อย่างมากมายเพราะกอล์ฟเป็นกีฬาที่มีเงินรางวัลสูงเป็นลำดับต้นๆ  และแต่ละปีมีอีเวนต์แข่งทุกสัปดาห์ 
                ได้เยาวชนมาอยู่ในอุปการะแล้วก็สนับสนุนส่งเสริมแบบระยะยาวทั้งด้านกอล์ฟ  และด้านการเรียนโดยมีพันธมิตร   โรงเรียน  มหาวิทยาลัย  และ องค์กรธุรกิจ หรือ รัฐวิสาหกิจ  โดยมีสัญญาในการเข้าดูแลผลประโยชน์  และตอบแทนในกรณีที่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ให้องค์กรนั้นๆ  เป็นต้น    และสุดท้ายผมเชื่อว่าแม้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับ “โปรเม” ก็ตาม   แต่หากสามารถโลดแล่นอยู่ในระดับทวีป  ได้ก็สามารถได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าที่ได้ลงทุนไปอย่างแน่นอน   โดยส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่า “กีฬา”  พรแสวงสำคัญกว่า “พรสวรรค์”  หากเรานำเยาวชนตั้งแต่  5-7 ปี  ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าซึ่งจะว่าไปแล้วเยาวชนเหล่านี้ไม่มีทางเลือกมากนัก  มาฝึกทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา  ทางด้านทักษะกอล์ฟ   เรียกได้ว่าประมาณว่า  “ขุน” กันนั่นแหละ  คงไม่ไกลเกินฝันที่เราจะมีโปรระดับโลกอีกในอนาคต    
                หากกีฬากอล์ลงทุนมากไปก็ลองดูกีฬาอื่นๆ  เช่น เทนนิส  จักรยาน  แบดมินตัน ฯลฯ ซึ่งมีอีเวนต์อาชีพบ่อยๆจนทำให้นักกีฬาอาชีพนั้นอยู่ได้จากการเล่นกีฬา      และแสวงหากีฬาที่เป็นกีฬาส่วนบุคคลจะได้ไม่ต้องลงทุนมากคน และ อาศัยวันแมนโดดหากสำเร็จก็ไปโลดได้เลยครับ  สุดท้ายหากไม่ประสบความสำเร็จก็ได้บุญที่ดูแลเยาวชนคนหนึ่งให้มีที่เรียน  มีอาชีพ  และ เป็นเยาวชนที่ดีของชาติได้




บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...