วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564

SOFT POWER แบบเนียนๆ

 


            ปัจจุบันเราคงต้องยอมรับแล้ว่า  SOFT POWER  ซึ่งผมเคยเขียนไว้ว่าจะให้ชื่อว่า “ พลังแห่งสุนทรีย์”  นับเป็นปัจจัยที่ทรงพลังปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างสรรค์เศรษฐกิจได้  โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ  ประเทศเกาหลีที่ในปี  1970  ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6  แต่ปรากฏว่าเกาหลีไม่มีเงินจัดการแข่งขัน  ประเทศไทยเลยรับเป็นเจ้าภาพแทนเพราะมีความพร้อมเนื่องจากได้เป็นเจ้าภาพในครั้งที่ 5 เมื่อปี  1966 แล้ว  เวลาผ่านไปแค่ 50 ปี  ตอนนี้เกาหลีเป็นเจ้าภาพทั้งเอเชียนเกมส์  3 ครั้ง  ฟุตบอลโลก  โอลิมปิกรวมทั้งโอลิมปิกฤดูหนาว   ซึ่งหากมองจีดีพีของไทยและเกาหลีในปี 1970  ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ทุกๆ 10 ปี เกาหลีจะทิ้งห่างไทยไปจนถึงปี 2020 ทิ้งห่างเกือบ 5 เท่าตัว ตามตารางข้างล่างนี้

YEAR

KOREA GDP/ CAPITA/USD

THAILAND GDP / CAPITA /USD

1970

279

192

1980

1,715

682

1990

6,610

1,508

2000

12,256

2,007

2010

23,087

5,076

2020

31,489

7,189

 

อ้างอิง : https://www.macrotrends.net/countries/THA/thailand/gdp-per-capita

            จุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของเกาหลีเกิดได้อย่างมียุทธศาสตร์ในปี 1998 โดยรัฐบาลได้กำหนดให้วัฒนธรรมและสื่อ  เป็นจุดขายและเป้าหมายในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  และมิได้มีแต่เป้าหมายและยุทธศาสตร์เหมือนหลายๆประเทศ ( คงเข้าใจได้ว่าประเทศอะไร?)   แต่ได้ดำเนินการและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   โดยมีชื่อแผนนี้ว่า  ‘Hallyu Industry Support Development Plan’ เป้าหมายคือเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมวัฒนธรรมถึง 2.9 แสนล้านดอลล่าร์  และเป็นที่มาของภาพยนต์ / ซีรียส์ / เกมส์ / อาหาร ฯลฯ ที่ขายความเป็นเกาหลี ไม่ว่าจะเป็น  Winter Love song  / Winter Sonata   หรือ แดจังกึม ซึ่งสถานที่ถ่ายทำและโรงถ่ายก็กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สากวต้องตามรอยซีรียส์      จนล่าสุดคือ  Squid Game ที่สามารถสร้างกระแสไปได้ทั่วโลกนั่นเอง   และยังมีศิลปินอีกมากมายที่เราและประชาคมโลกเรียกว่า K-POP  ทีระดับดังๆมีถึง 76 วง ไม่ว่าจะเป็น BTS   และล่าสุดคือ วงเกิรล์กรุ๊ป Black  Pink  ที่มี LISA  เป็นหนึ่งในศิลปินที่เรียกได้ว่ามีคนติดตามใน IG ถึง  76 ล้านคนและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            ซึ่งในภาพยนต์ของเกาหลีนั้นจะมีการสอดแทรกวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็น  อาหาร  ภาษา   การแต่งกาย  เกมส์  ฯลฯ ลงไปอย่างมีนัยสำคัญ   แม้แต่ซีรยส์อิงประวัติศาสตร์ก็สอดแทรกได้อย่างกลมกลืน   โดยยึดเอาความต้องการของผู้ชมเป็นสำคัญ  ไม่ใช่ยัดเยียดวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ผู้ชมอาจจะไม่เข้าใจหรือไม่สนใจ  เรียกได้ว่าปรับแต่งอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความเข้าใจของลูกค้านั่นเอง

            เร็วๆนี้มีซีรียส์ในช่อง AXN  สองเรื่องออกมาใกล้เคียงกัน  แต่ดูแล้วรู้สึกว่าแนวทางในการนำเสนอนั้นจะใช้แนวนโยบายเฉกเช่นเกาหลี  นั่นก็คือ MY HOME TOWN G.O.A. T  ซึ่งเป็นเรื่องราวของ คนสามกลุ่มคือ  Megan Young and   Mikael Daez   ซึ่งเป็นคู่รักซีเล็บไปรีฮันนี่มูน  ,     นางงามฟิลิปินส์   Gazini Ganados   Miss Universe Philippines 2019   , และ  PBA Moto Club  ซึ่งทั้งสามคมเป็นนักบาสสเก็ตบอลซุปเปอร์สตาร์ที่ชอบการขับขี่มอเตอร์ไบค์ท่องเที่ยว   โดยในซีรีย์เป็นการนำชมเมือง วัฒนธรรม อาหาร  ภาษา การแต่งกาย ฯลฯ ของหลายๆเมืองที่ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวหลักของฟิลิปินส์  คือ Dapitan ,  Zambales , Pampanga ,Tarlac , Zamboanga ,  Pangasinan  ,Pozzorubio

Description: WRAPPING UP THE SHOW! WHAT MAKES THEIR HOMETOWN G.O.A.T.? | MY HOMETOWN IS  G.O.A.T. | AXN ASIA - YouTube

            ส่วนอีกรายการหนึ่งก็คือ  Indonesia Ultimate Challenge ก็เป็นการนำเสนอการแข่งขันที่ไม่ใช่ในเชิงกีฬาและเอ็กซ์ตรีมแต่เป็นเกมส์  โดยมีผู้เข้าแข่งขันสองทีมและหากใครชนะก็จะได้เหรียญในเกมส์นั้นไป  จนสิ้นสุดรายการใครได้เหรียญมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ  ซึ่งในเกมส์การแข่งขันนั้นก็จะสอดแทรกเรื่อง อาหาร วัฒนธรรม ภาษา  การแต่งกาย  ความเชื่อ  ธรรมชาติ  สถานที่ท่องเที่ยว   และนำเสนอในรูปแบบไม่ฮาร์ดเซล  ทำให้เราอยากค้นหาโดยตลอดรายการจะมี เว็บไซท์  ไอจี  เฟสบุค สื่อโซเชีลอื่นๆเพื่อที่คนสนใจจะได้ค้นหาเพิ่มเติม   และที่สำคัญทุกวันเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันทั้งสองทีมจะต้องอัพไอจีสตอรี่แข่งกันด้วย  

Description: AXN Ultimate Challenge Indonesia: The action singing stars – Manila Bulletin

            จะเห็นได้ว่าทั้งเกาหลี  ฟิลิปินส์  อินโดนีเซีย  นั้นได้พยายามสอดแทรกและขายวัฒนธรรม  สถานที่ท่องเที่ยว  เพื่อสรรคสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ลงไปในสื่อ  ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนต์  เพลง  สารคดี   ซีรียส์  โซเชียลมีเดีย ฯลฯ แล้วประเทศไทยเราพร้อมหรือยังกับการเปลี่ยนแปลงนี้ในการนำเสนอ    SOFT POWER แบบเนียนๆ

 

 

 

อดใจไม่ไหว

 




                การท่องเที่ยวไทยเดี้ยงสนิทศิษย์ส่ายหน้า  ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรเพราะเป็นที่คาดการณ์ได้อยู่แล้วว่าจะต้องเป็นอย่างนี้  แต่ที่คาดผิดคือไม่คิดว่ามันจะนานขนาดนี้  นับจากมีนาคม2563 ซึ่งประกาศภาวะฉุกเฉินอันเนื่องจากระบาดโควิด-19  นับถึงปีใหม่ก็  22 เดือนเต็ม  ธุรกิจท่องเที่ยวไทยตายสนิทเพราะนักท่องเที่ยวที่เคยมีในปี 2562 ถึง 39 ล้านคน  ลดเหลือ 6.7 ล้านคนในปี 2563  และ คาดว่าในปี 2564 นี้คาดว่า  1 ล้านคนเศษแม้จะเปิดประเทศเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมาก็ตาม

                เราได้เห็นความพยายามเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจท่องเที่ยว   โดยเฉพาะโรงแรมที่มีต้นทุนในการลงทุนและการบริหารงานที่สูง   หลายโรงแรมก็ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดได้อย่างน่าชื่นชม  เพราะสิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัยหนึ่งของโรงแรม และธุรกิจบริการทั้งหลายคือ  “ไม่ใช่มันหายไป”  การปล่อยให้ห้องพัก หรือ ร้านอาหาร ฯลฯ นั้นอยู่ว่างๆก็จะขาดรายได้แถมมีค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่าย  ไม่เหมือนกับสินค้าอื่นๆเพราะมันสามารถเก็บเป็นสต้อก  ผลิตเก็บไว้ก็ยังได้ถ้าคาดว่าอีกระยะหนึ่งจะมีคำสั่งซื้อเข้ามา     ซึ่งในเรื่องแนวคิดนี้ผมได้เคยพูดไว้ตั้งแต่เริ่มสอนนิสิตป.โท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจรุ่นที่ 1  เมื่อ 28 ปีที่แล้ว   ดังนั้นการสร้างรายได้แม้เพียงน้อยนิดเรียกได้ว่าให้คุ้มกับต้นทุนผันแปรของบริการนั้นๆ   ก็ยังดีกว่าปล่อยให้อยู่เฉยๆเพราะไม่อย่างนั้นมันหายไปตามเวลาที่ผ่านพ้นไปนั่นเอง   แถมยังต้องจ่ายค่าใช้จ่ายประจำเช่นเงินเดือนฯลฯ อยู่ดี

                ช่วงปี 2563 โรงแรมระดับ 5-6 ดาวคงยังไม่เห็นสัจธรรมในข้อนี้และคงคิดว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นในปี 2564  แต่ที่ไหนได้มันลากยาวมาจนถึงปัจจุบันนี้   ทำให้ในปีนี้หลายโรงแรมซึ่งเรียกได้ว่าระดับ 5-6 ดาวที่เดียวได้จัด  “โปรกระแทกใจ”  ที่ทำให้  “อดใจไม่ไหว”    แต่มิใช่การนำห้องพักที่ราคา 4-6 พันบาทมาเร่ลดราคาเหลือ  1-2 พัน อันจะเป็นการทำให้ภาพลักษณ์ของโรงแรมเสียไป  และยังได้เงินน้อยลงเท่ากับราคาที่ลดลงเท่านั้นเอง   แต่มีสิ่งที่แยบยลเพราะไม่ได้ทำให้โครงสร้างราคาของโรงแรมเสียไป  จึงได้จัดขายอาหารและแถมห้องพัก   หรือ  ขายห้องพักและแถมเครดิตอาหาร  อันนี้จะทำให้ได้เงินมากขึ้นกว่าการลดห้องพักโดดๆ

                ตัวอย่างที่ผมเองได้ไปสัมผัสมาเองถึงสองโรงแรม  คือ  แชงกรีล่า   ผมชำระค่าห้อง  3,900 บาท ได้ห้องพักหนึ่งคืนและเครดิตเงินในการใช้บริการต่างๆไม่ว่าจะเป็นอาหาร สปา ฯลฯ จำนวนเงิน 2,500 บาท  เสมือนค่าห้องแค่ 1,400 บาท หักอาหารเช้าสองคนฟรีไป 800 ก็แล้วกัน  สรุปค่าห้องแค่  600 บาท  เลยจัดไปสองห้อง  แล้วเป็นงัยตอนกินอาหารหมดได้  8,000 กว่าบาทได้เครดิตมา 5,000 บาท  เลยต้องจ่ายเพิ่มไปอีก 3,000 บาท   นอกจากนี้แล้วยังปิดจุดอ่อนของการเข้าพักโรงแรมได้ซึ่งปกติจะเช็คอินได้ บ่ายโมงหรือบ่ายสองโมงและเช็คเอ้าท์ไม่เกินเที่ยงเลทได้สุดก็บ่ายสอง   อันนี้เนื่องจากโรงแรมมีห้องว่างมากก็เลยจัดไปว่า   เช็คอินได้ 8 โมงเช้า  เช็คเอ้าท์ได้ถึง 20.00 น.  สบายไป  อย่าลืมว่าถ้าเช็คเอ้าท์สองทุ่ม ต้องกินกลางวัน หรืออาจจะแถมถึงมือเย็นได้อีกหรือไม่อย่างไร ????

                อีกโรงแรมหนึ่งที่ได้มีโอกาสไปใช้บริการคือ   บันยันทรี   จ่ายไป 2,699 บาท  ได้ดินเนอร์สองที่  แต่ไฮไลท์มันอยู่ที่อัพเกรดห้องพักเป็นห้องสวีท  รวมอาหารเช้าอีกสองคนเป็นอย่างไรละเป็นครั้งแรกที่ได้นอนห้องสวีทขนาดน่าจะมากกว่า 100 ตรม   ล่าสุดจัดหนักเข้าไปอีกมีโปรโดยจองกับทางฮังกรีฮับซึ่งเป็นแอปที่ใครไม่มีไม่ได้เรยโดยเฉพาะสายติดโปร  ซื้อคูปอง 5,000 บาท  สำหรับห้องอาหารจีนและจะได้คูปองห้องพักซึ่งถ้าพักวันธรรมดาจะอัพเกรดเป็นห้องสวีทเช่นกัน  แต่ตอนไปกิอาหารดิมซัมสี่คนจ่ายไป 7,000 กว่าบาท หักคูปองที่ชำระแล้วก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 2,000 บาท  

                และทั้งสองโรงแรมนี้ปรากฏว่าแต่วันมีคนไทยเข้าไปเช็คอินกันวันละเป็นร้อยห้อง  ศุกร์เสาร์  ก็เรียกได้ว่าหลายร้อยเลยทีเดียว  ซึ่งมีทั้งคนไทยและต่างชาติที่พักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย  เพราะตอนทานอาหารเช้าเห็นมีต่างชาติไปกินเลยเข้าไปทักทายจึงได้ข้อสรุปได้ว่า   “อดใจไม่ไหว”  จริงๆๆๆ เน้อพี่น้อง

นักกีฬาแบดมินตันอาชีพ กับเศรษฐกิจไทย

 


             เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวความสำเร็จของนักกีฬาแบดมินตันไทยหลายคน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดชาพล-ทรัพย์สิรี  ที่สามารถคว้าแชมป์คู่ผสม   Daihatsu Indonesia Masters 2021 คว้าเงินรางวัลไป 44,400 USD เกือบ 1.5 ล้านบาท ตกคนละ  7.5แสนบาท  ซึ่งรายการนี้เป็นรายการมาสเตอร์ 750  โดยทีทาง BWF  ได้แบ่งการจัดการแข่งขันตามแผนงานแล้วปีละ 26 รายการ  โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ  เรียกว่าเป็น ซุปเปอร์  1000 / 750 / 500 /  300  ซึ่งแต่ละระดับนั้นก็จะได้รับคะแนนในแต่ละรอบ รวมทั้งเงินรางวัลที่แตกต่างกันไปตามระดับ ซึ่งระดับ ซุปเปอร์ 1000 จะได้คะแนนสะสมและเงินรางวัลสูงที่สุดและลดหลั่นกันลงมา   นอกจากนี้แล้วยังมีระดับ ทัวร์ซุปเปอร์ 100 ซึ่งเป็นการแข่งขันสะสมแต้มของ  BWF    และทุกสิ้นปีจะนำนักกีฬาที่แต้มสะสมสูงสุด 1-8 มาจัดรอบเวิล์ดทัวร์ซึ่งในปี 2521 นี้จะจัดขึ้นที่บาหลีโดยมีเงินรางวัลรวมถึง 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ     สำหรับปี  2021 นี้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 จึงจัดแค่ 12 รายการ    และเป็นที่น่ายินดียิ่งที่คู่ผสมเราคือ เดชาพล+ทรัพยสิรี  ได้มาแล้วถึงสองแช้มป์คือ  ที่อินโดนีเซีย ระดับ 750  และ เยรมัน ระดับ 500   รองแชมป์  ระดับ 1000 ที่ เดนมาร์ค และ รอบสี่คนสุดท้ายระดับ 750 ที่ ฝรังเศส  ซึ่งนับเฉพาะ สี่รายการนี้ ทั้งสองคนจะได้รับเงินรางวัลรวมกันทั้งสิ้น 104,830 USD ประมาณ  3.354 ล้านบาท  ยังไม่นับเงินรางวัลในรายการอื่นๆที่แข่งไปแล้วแต่ไม่ได้เข้ารอบรองชนะเลิศอีก 7 รายการ   และยังเหลือการแข่งขันอินโดนีเซียโอเพ่นที่กำลังแข่งขันอยู่  ก่อนเข้าสู่เวิล์ดไฟนอล  วันที่ 1-5 ธันวาคม 2564  ที่บาหลี  อินโดนีเซียเป็นรายการสุดท้ายของปี  ถ้ารวมสองรายการนี้เข้าไปด้วยแล้ว คงน่าจะได้ประมาณ  4.0-5.0  ล้านบาท

จากคะแนนสะสมนับถึงวันที่เขียนบทควมนี้แล้ว เป็นที่น่ายินดีว่าจะมีนักกีฬาแบดมินตันไทยเข้ารอบเวิล์ดไฟนอลดังนี้   ชายเดี่ยว  กุลวุฒิ  หญิงเดี่ยว พรปวีณ์   บุษนันทน์   พิทยาภรณ์ และรัชนก  หญิงคู่ จงกลพรรณ+รวินดา  และคู่ผสม เดชาพล+ทรัพย์สิรี  ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจจะมีบางคนหลุดโผเพราะผลงานในอินโดนีเซียโอเพ่นก็เป็นได้   (  หมายเหตุ... ปีนี้ไม่มีนักกีฬาจีนเข้าร่วมการแข่งขันเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลจีน...)    อย่างไรก็ตามเมื่อรวมเงินรางวัลและรายได้ของนักกีฬาที่ยังไม่รวมค่าเป็นพรีเซนเตอร์  ค่าสปอนเซอร์ ฯลฯ แล้ว  การเป็นนักกีฬาแบดมินตันอาชีพและมีโอกาสเข้าร่วมระดับเวิล์ดทัวร์ซึ่งแต่ละปีมีจำนวนสูงสุดถึง 26 รายการนั้นย่อมทำรายได้ให้กับนักกีฬาเป็นจำนวนที่มีมูลค่ามหาศาลไม่น้อยเลย   แม้ว่าแบดมินตันอาจจะไม่ใช่กีฬาที่สามารถทำรายสูงมากดังนักกอล์ฟหรือนักฟุตบอล แต่ก็มีประเภทการแข่งขันที่หลากหลาย  และหลายระดับการแข่งขัน  ดังนั้นหากทางสมาคมกีฬาอื่นๆจะได้นำแนวทางของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ไปเป็นแนวทางในการพัฒนานักกีฬา   เพื่อเข้าสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพก็จะสามารถทำเงินให้กับนักกีฬาและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ

ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ

ภาควิชาการจัดการกีฬา ม.เกษตรศาสตร์

สถาบันวิทยาการโอลิมปิกไทย

 

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...