วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

“ชิม..ช้อป..ใช้...ไหงไม่ปัง??.....”


                    
สภาพัฒน์ฯเพิ่งออกแถลงข่าวว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวประมาณ...แค่   2.6 %  จากที่เคยประมาณการว่าจะขยายตัว  3.2-3.5 เปอร์เซนต์เศษที่นับว่าต่ำมากแล้ว  เพราะว่าเพื่อนบ้านยกเว้นสิงค์โปเค้าโตแบบไม่รอเราแล้ว    ซึ่งก็ไม่ได้แปลกใจอะไรเพราะปัญหาหลายอย่างรุมเร้าเข้ามาทำให้ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้นดูติดขัดไปหมด   ไม่ว่าจะส่งออก  ราคาพืชผลการเกษตร  การลงทุนภาครัฐและเอกชน  ซึ่งทำให้เครืองยนต์ทุกตัวดูเหมือนไม่ค่อยขับเคลื่อนเสียเท่าใด  และแถมปีหน้าก็คงจะเป็นปีที่สาหัสมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน...เรียกได้ว่า  “รอเผาจริงได้เลย” 
                                แล้ว.....”ชิม...ช้อป...ใช้ ...”  ละ ที่นับว่าเป็นอีกอภิมหาแห่งความภูมิใจที่รัฐออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย  ลงทุนไป 10,000  ล้านบาท  แน่นอนว่ายอดแรกในกระเป๋าคนละ 1,000 บาท รวมแล้ว 10,000 ล้านบาท ใช้จ่ายไปหมดเรียบร้อยโรงเรียนลุงตู่  แต่ว่าในกระเป๋าสองที่รัฐให้จับจ่ายใช้สอยและจะมีส่วนคืนเงินให้สูงถึง 15-20%     กระเป๋านี้เรียกได้ว่าแทบไม่ได้ทำงานเรยเพราะที่ผ่านมา (ถึง 9 พย 62 /ข่าวไทยรัฐ 11 พย 62)  มียอดใช้จ่ายแค่  735 ล้านบาทเท่านั้นเอง........ถามว่าทำไม่ถึงโครงการนี้ถึงไม่ประสบความสำเร็จ  ....ด้วยสมองอันน้อยนิดขอวิเคราะห์ให้ฟังแบบเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านดังนี้
                1.การใช้จ่ายเงินในกระเป๋าหนึ่งที่รัฐประเคนให้คนละ 1,000 บาทนั้น ทำให้เกิดการใช้จ่ายจริงหรือไม่  เพราะหากเรามองดูว่าถ้าเป็นการซื้อเสื้อผ้า อาหาร  นั่นก็หมายความว่าเค้าก็เก็บเอาค่าอาหารในมื้อนั้นเก็บเข้ากระเป๋าโดยใช้จ่ายเงินที่รัฐให้มาแทนแล้วค่อยเอาเงินนั้นไปกินในมื่ออื่นๆแทน  ภาษาเศรษฐศาสตร์เค้าเรียกว่าดีมานด์เทียม   คือไม่ใช้ความต้องการซื้อที่แท้จริง  หรือบางคนไปซื้อเครื่องอุปโภคที่เราเห็นว่าซื้อของเต็มรถเข็นในห้างถามว่าทิชชู่ที่ซื้อไปใช้หมดในอาทิตย์นี้หรือไม่  คือที่ซื้อแยะเพราะได้เงินรัฐเอาไปใช้เช็ดก้นได้ 3-6เดือน   ซึ่งปกติก็ต้องซื้ออยู่แล้วเพียงแต่เอาเงินรัฐมาซื้อเก็บไว้ใช้ล่วงหน้าแทนนั่นเอง
                2.การใช้จ่ายเงินในกระเป๋าสองที่มีส่วนคืนเงินให้นั้น  หาร้านที่จับจ่ายใช้สอยลำบามากๆเพราะร้านค้าลงทะเบียนเพียงจังหวัดละ  1-2 พันร้านเท่านั้น   แถมร้านเหล่านั้นก็ไม่ตรงกับต้องการซื้อของผู้บริโภค
                3.พวกมีตังเค้าก็ไม่ได้ลงทะเบียนเพราะยุ่งยาก  หรืออาจจะลงไม่ทัน  หรืออาจจะมองไม่เห็นประโยชน์คุ้มแก่การเข้าร่วม
                4.ที่สำคัญ.........พวกที่ลงทะเบียนและจะจับจ่ายใช้สอยในกระเป๋าสองนั้น ..*****ไม่มีสตางค์ในกระเป๋า ..****  เพียงพอต่อการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น   คือจะใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเพราะเงินหายาก  โอทีลด  ตกงาน  โบนัสหด  ค้าขายไม่คล่อง   เงินเดือนขึ้นน้อยหรือไม่ขึ้น  ฯลฯ  เรียกว่าเงินหด !! หมดไม่มีใช้  !! แถมพวกที่มีเงินก็ไม่มีอารมณ์ใช้จ่ายยิ่งไปกันใหญ่
                สรุปได้ว่า    “เกาถูกที่คัน  แต่มันไม่หาย”
                !!!!!!!!!  แล้วจะทำอย่างไรดี !!!!!!!!!!!!
                ผมเสนอเศรษฐศาสตร์แบบบ้านๆ ถ้าเอางบ 10,000 ล้านบาท  มาทำโครงการ ดังต่อไปนี้
                1.จัดให้เกษตรกร  ขนผลผลิตมาขายโดยรัฐดูแลรับผิดชอบค่าขนส่งทั้งหมด  เอาเงินเติมน้ำมันให้รถทหารขนผลผลิตจากไร่มาที่  สถานีรถไฟที่ไม่คิดค่าบริการ  และขนไปยังตลาด/ ชุมชน ฯลฯ  ให้เกษตรกรขายถึงผู้บริโภคโดยตรง  จัดที่พักที่นอนนให้ในโรงยิมของ กทม. หรือ ในจังหวัดนั้น  นอนวัดก็ได้ ฯลฯ  เพื่อที่จะให้เกษตรกรได้ขายผลผลติที่เราจะทำให้ข้อ 2-4  นี้  ก็จะเป็นการเพิ่มราคาผลผลิตทางการเกษตรโดยตรง (เติมเงินกระเป๋าอย่างแท้จริง)  
                2.จัดมหกรรมโอท้อป  ช่วงปีใหม่นี้ทุกบริษัทห้างร้านต้องซื้อของขวัญให้กับลูกค้า ฯลฯ อยู่แล้วก็จัดให้คนซื้อจากโอท้อป  โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปหักภาษีได้  150 -200 เปอร์เซนต์   ยกตัวอย่าง บริษัทในตลาดหลักทรัพย์   500-600 บริษัท  ใช้จ่ายเฉลี่ยผมประมาณการว่าบริษัทละ 3 แสนบาท  ก็จะเป็นเงินถึง  1,650 ล้านบาท แต่ถ้าบริษัทใหญ่ๆ  100 บริษัทแรก คงใช้จ่ายส่วนนี้ไม่น้อยกว่า 10  ล้านบาท ก็จะเป็นเม็ดเงินอีก 1,000ล้านบาท รวมแล้ว  2-3 พันล้านบาท (หรือมากกว่าก็ได้)   ซึ่งจะตกไปยังชาวบ้านโดยตรงทำให้มีเม็ดเงินในกระเป๋าของชาวบ้านเพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง   และยังได้มรรคผลลดซื้อสินค้าต่างประเทศพวกเหล้า ช้อคโกแลต  ผลไม้ต่างประเทศ ฯลฯได้อีกโสตด้วย
3.จัดให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  พาไปทัศนศึกษา / อบรม / ดูงาน อาชีพ  ที่จังหวัดต่างๆ  โดยรัฐออกค่าพาหนะ และ ค่าที่พักให้    คนเข้าร่วมก็ต้องใช้จ่ายค่าอาหาร ของใช้ ของฝากเอง  ก็จะได้ผลผลิตทางด้านความรู้ทางอาชีพ ฯลฯ  และ เงินที่จับจ่ายใช้สอยจาผู้เข้าร่วมโครงการ 
                4.จัดมหกรรมดนตรี  หรือ อีเวนต์ ที่ให้คนมาร่วมกิจกรรมก็จะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย  โดยส่วนนี้อาจจะขอรับการสนับสนุนจากห้างร้านใหญ่ๆที่อยากทำกิจกรรมเพื่อสังคม  รวมทั้งบริษัทที่จัดเรื่องเอ็นเตอร์เทนนี้โดยตรงงานลดลงอยู่แล้ว ขอราคาพิเศษจัดไปก็วิน-วิน ครับท่าน
                 ******   ไม่รู้ว่าคิดถูกหรือไม่  เพราะเป็นเศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน  ที่เสนาบดีคงคิดไม่ถึง..... หรือคิดได้แต่ไม่ทำเพราะ ....ไม่ได้คะแนนเสียง .....ไม่ได้แจกตัง.......และไม่โด่งดังเหมือน  “ชิม  ช้อป  ใช้”   *********
               

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

พันธมิตรทางธุรกิจกีฬา


                      


                           
ปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่ากีฬานั้นถือได้ว่าเป็นธุรกิจหนึ่ง  หรือ เป็นอุตสาหกรรมหนี่งในอันที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ   ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรปรวมถึงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ หรือว่ามีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อหัวสูงๆ แล้วธุรกิจกีฬาจะมีขนาดโตตามไปด้วย  โดยมูลค่าธุรกิจนี้ทั่วโลกมีขนาด  614 พันล้านเหรีญสหรัฐ  โดยประเทศไทยมีการเติบโตของกลุ่มธุรกิจกีฬาในปี 2557-2559 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 6.2 % ต่อปี  (ที่มา :กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ) เหตุที่ธุรกิจนี้จะเติบโตตามรายได้ตัวหัวของประชากร  เพราะว่าเป็นธุรกิจที่ตอบสนองผู้บริโภคทางด้านอารมณ์และความรู้สึกเป็นสำคัญและไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชิวิตประจำวันนั่นเอง  ดังนั้นจึงต้องเรียกได้ว่ามีเงินเหลือจึงนำมาจับจ่ายใช้สอยในด้านการกีฬา  แต่ก็ยังมีอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงของผู้มีรายได้น้อยก็คือสื่อทางทีวีทำให้เข้าถึงได้
                เราจะสังเกตุเห็นได้ว่าปัจจุบันการถ่ายทอดมวยนั้นมีเกือบทุกวันบางวันมีมากกว่าหนึ่งสนามด้วย  จากเดิมในสมัยก่อนมีการถ่ายทอดแค่สองสามสนาม ปัจจุบันสถานีต่างๆก็สามารถมีเวทีเป็นของตนเองและมีสื่ออยู่ในมือในการถ่ายทอดสู่ผู้ชมในทุกระดับ  วันนี้เราจะเห็นได้ว่ารายได้ค่าบัตรผ่านประตูเข้าชมกีฬามวยไทยนั้นไม่ได้เป็นรายได้หลักหรืออาจไม่มีรายได้จากบัตรผ่านประตูเลยเช่น   “ไทยไฟต์”  แต่รายได้หลักมาจากการถ่ายทอดและค่าโฆษณาเป็นสำคัญ   ดังนั้นการมีพันธมิตรทางธุรกิจและหรือ สปอนเซอร์ทั้งในส่วนของการจัดการแข่งขัน  หรือ การถ่ายทอดจึงเป็นเรื่องทีทางผู้จัดกีฬาทั้งหลายจะให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ
                ซึ่งการเลือกพันธมิตรหรือผู้สนับสนุนหรือสปอนเซอร์นั้นในสมัยก่อนๆ  ก็เพียงแต่อาศัยความสัมพันธ์หรือบารมีของผู้หลักผู้ใหญเป็นสำคัญ  แต่จากการที่ธุรกิจกีฬานี้สามารถสื่อสารเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง  ทำให้หลายๆบริษัทให้ความสำคัญกับ SPORT MARKETING มากขึ้นเรื่อยๆ เราจะเห็นได้ว่ามีสินค้าใหม่ๆเข้ามามีส่วนในธุรกิจนี้มากขึ้นเป็นลำดับ  เพราะใช้ทุนน้อยกว่าแต่ตรงกลุ่มเป้าหมายแถมสามารถวัดผลได้อีกด้วย  จากที่แต่เดิมก็จะมีเพียงธุรกิจยักษ์ใหญ่ของประเทศไม่ว่าจะเป็น  ช้าง สิงห์ ซีพี ปตท. ฯลฯ เท่านั้น   หรือบางครั้งเราอาจจะเห็นความร่วมมือทางธุรกิจที่อาจจะไม่สัมพันธ์กันเสียเท่าใด  เรียกได้ว่าลูกค้าคนละกลุ่มเป้าหมายเลยก็ว่าได้  เช่น  BNK 48  กับ ทีมสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย   แต่ก็เชื่อได้ว่าทั้งสองธุรกิจจะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันในที่สุด

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...