วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

“เศรษฐกิจไทย ไยไม่ฟื้น”



                          
                            บทความนี้ผมเขียนเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558  ซึ่งก็เหลืออีก 5 วันก็จะหมดไตรมาสแรกของปี 2558 หรือเดินทางมาถึงครึ่งปีงบประมาณ2557-2558   ซึ่งงบประมาณของรัฐนั้นเริ่มนับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557   เรามักจะได้ยินพ่อค้าแม่ค้าบ่นกันว่าค้าขายไม่ดี   แม้แต่ขนมถังแตกยังต้องมีโปรโมชั่นเลยซื้อ 5 แถม 1 ไม่เคยเห็นว่าสินค้ารถเข็นจะมีโปรโมชั่นแบบนี้มาก่อน  ถ้าขายดีแกคงไม่ต้องมาโปรแบบนี้จริงมั๊ยครับ    และล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ออกมาปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2558  ว่าจะโตเพียง  3.8% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 4.0%  ด ก็คงพอจะมองเห็นทิศทางของภาวะเศรษฐกิจในบ้านเราได้เป็นอย่างดี



                             ทีนี้มาดูสาเหตุกันเพราะว่าโดยภาพรวมหรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจมหภาคนั้น  การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่างสามารถวัดได้จากการเจริญเติบโตของ   ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product: GDP) ซึ่หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของ ประชากรในประเทศนั้น ๆ  แต่ก็ไม่สามารถวัดถึงขีดความสามารถในการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม  หรือบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้    แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนก็เป็นสิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตของประเทศ

                                วิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจ GDP ดังนั้น ซึ่งมีเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ 4 ตัว    อธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่าย ดังต่อไปนี้ซึ่งในแต่ละเครื่องยนต์นี้มีปัญหาอุปสรรคมากมาย

GDP = C + I + G + NE หรือ C + I + G + (X - M)

Consumption (C) หมายถึง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมดเช่น อาหาร ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อบ้านหลังใหม่   ซึ่งเครื่องยนต์ตัวนี้เดี้ยงไปด้วยสาเหตุหลายประการ  ประการแรกเลยคือสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ  ไม่ว่าจะข้าว ยาง ฯลฯ ซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศ  นอกจากนี้แล้วความเชื่อมั่น  ของผู้บริโภคที่ลดลง  โดยดูจากดัชนีควาเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง  มกราคม อยู่ที่ 80.4  กุมภาพันธ์ ลดเหลือ 79.1 นับเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง  3 เดือนแล้ว  และยังไม่มีแนวโน้มหรือสัญญาณใดๆว่าจะดีขึ้นในสองสามเดือนข้างหน้า   สินค้าส่งออกลดลงเป็นเดือนที่สามอีกเช่นกันมันก็มีผลกระทบต่อกำลังผลิต  การจ้างงาน  และความแน่นอนของเศรษฐกิจ   เป็นปัญหาลูกโซ่

Investment (I) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน เช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น   เมื่อการบริโภคลดลง การส่งออกลดลง  มันก็มีผลให้การลงทุนลดลงเป็นเงาตามตัว  เพราะการบริโภค  และการส่งออก(ก็คือการบริโภคของลูกค้าในต่างประเทศ)    หากมีคนซื้อคนขายย่อมต้องผลิตและสรรหาสินค้ามานำเสนออย่างแน่อน    ยกเว้นอยู่อย่างเหนึ่งว่าถ้าการใช้จ่ายของรัฐบาลมีการลงทุนฯลฯ  ก็จะทำให้การลงทุนเติบโตได้เช่น รัฐมีเมกะโปรเจค  เช่นโครงการบริหารจัดการน้ำ  รถไฟความเร็วสูง  การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ ก็จะเป็นตัวช่วยอยู่แรงหนึ่ง

Government Spending (G) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ   ซึ่งปรากฎตัวเลข ณ วันที่ 6 มีนาคม ของสำนักงบประมาณ (คือ 5 เดือน 6 วัน ของงบประมาณ 2557-58 )  ปรากฏว่า มีปัญหาโดยผมจะแยกเป็นส่วนๆดังนี้

                                งบประจำ  อันได้แก่เงินเดือน และค่าใช้จ่ายประจำ  2.1 ล้านล้าน  83.6% ของงบประมาณทั้งหมดสามารถเบิกจ่ายได้ถึง  48 % ซึ่งไม่แปลกเพราะชื่อก็บอกแล้วเป็นค่าใช้จ่ายประจำก็ต้องจ่ายประจำ

                                งบลงทุน  ที่จะมาสร้างสาธารณูปโภค  และ โครงการต่างๆที่จะทำให้ประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น มีงบประมาณแค่ 0.449 ล้านล้านบาท( ประมาณ 5 แสนล้านบาท)  ปรากฏว่าเบิกจ่ายได้แค่  19 % เท่านั้นทั้งที่ผ่านมาเกือบจะครึ่งปีงบประมาณเท่านั้น  ส่วนสาเหตุของการล่าช้านั้นก็ต้องไปแสวงหาเอาเองครับท่าน 

                                แต่ที่สงสัยคือประเทศไทยยิ่งปฎิรูประบบอะไรมันก็วนไปวนมา   แถมหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐมากขึ้นเป็นลำดับแทนที่จะกระชับ  มีประสิทธิภาพ   หรืออย่างการศึกษาเมื่อก่อนก็แยกกันระหว่างประถมกับมัธยม  ก็เอามารวมกันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาวันนี้จะกลับไปเหมือนเดิมแล้ว  เพลียใจประเทศไทยจริงๆ

Net Exports (NE) หมายถึง การส่งออกสุทธิ หรือการส่งออก (X) ลบด้วยการนำเข้า (M) นั่นเอง ที่ต้องลบการนำเข้าเพราะตัวเลขการบริโภคสินค้าและบริการที่นำเข้ามาบริโภคจะ รวมไว้ใน C, I, และ   ซึ่งเดือน มกราคมก็ติดลบ  กพ.ก็คาดว่าจะติดลบเช่นเดียวกัน  เพราะยอดส่งออกติดลบทั้งสองเดือนเมื่อเที่ยบกับเดือนเดียวกันของปี 2557   ก็ได้แต่โทษว่าเศรษฐกิจโลกชลอตัว  (แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรือ??)  

                                 สรุปสุดท้ายเครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัวเดี้ยงหมดแล้วเศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนใยถึงยังไม่ฟื้นคงได้คำตอบแล้วนะครับ  แต่ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีเล็กๆหลงเข้ามาเหมือนกันก็คิ  “การท่องเที่ยว”  มาเป็นพระเอกหลังจากที่ปี 2557 ตัวเลขนักท่องเที่ยวติดลบไป  6.6 จาก 26.54 ล้านคน เหลือแค่ 24.74 ล้านคน  โดยปีนี้ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีถึง 27 ล้านคนซึ่งก็มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ (แต่อย่างน้อยที่สุด 26 .54 ล้านได้แน่ๆ)  เพราะดูจากตัวเลขเดือนมกราคม 2558 เติบโตถึง  16%  มียอดนักท่องเที่ยวถึง 2.28 ล้านคน  โดยตลาดที่เดิบโตอย่างมีนัยะสำคัญคงไม่แปลที่จะบอกว่า จีน  เพิมขึ้นถึง 83%  จำนวนนักท่องเที่ยว  3.5 แสนคน  เวียดนาม ที่เดิบโตถึง  56%   บังคลาเทศ 75%   เนปาล 33%  สิงคโปร์ 49%   แน่นอนว่ายุโรปติดลบ   -14อเมริกา บวก 1%   ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยตัวเดียวที่ยังทำงานอยู่ก็ขอภาวนาให้สงกรานต์นี้เข้ามากันเยอะๆนะโยม  ไม่งั้นอาตมาต้องเผาจริงแล้ว ..............เศรษฐกิจไทย.....###

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

“3 IN WIN ทุกสนาม”



                       


                                  ชื่อเรื่องวันนี้อาจจะผสมผสานทั้งภาษาไทยและอังกฤษไม่มีอะไรครับ   ตั้งชื่อเพื่อให้มันสอดคล้องแถมเพื่อเพิ่มความจุงใจในการติดตามเท่านั้นเอง  เพราะไปได้ไอเดียมาจากการพานักศึกษา ป.เอก การจัดการกีฬาของมหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์  ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นโดยครั้งนี้ได้เดินทางไปดูงานถึงสามหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น  ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นก็มีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

                มหาวิทยาลัยแรกคือ  JUNTENDO UNIVERSITY  ที่มหาวิทยาลัยนี้มีกิจกรรมหลักคือ  การที่อาจารย์ทั้งสองมหาวิทยาลัยมาบรรยากแลกเปลี่ยนกันฝ่ายละ 4 คน ใน 4 หัวข้อ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกีฬา  นับว่าได้แนวคิดและข้อมูลมามากมาย   

                มหาวิทยาลัยที่สองคือ TSUKUBA UNIVERSITY เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง  ซึ่งที่นี่เราได้ศึกษาดูงานและอุปกรณ์การเรียนการสอนของเขา  ที่นับว่าล้ำหน้าไปกว่าบ้านเราไปมาก(ซึ่งก็ไม่แปลก)  สระว่ายน้ำของเขาด้านข้างจะเป็นกระจกเหมือนกับตู้ปลาเรย   โดยมีกล้องสำหรับถ่ายวีดีโอเก็บไว้เพื่อการศึกษาและวิจัย   เรียกว่าอุปกรณ์พร้อมรวมทั้งนักศึกษาของเขาศึกษาอย่าจริงจังตั้งคำถามและคิดอย่างมีระบบ

                มหาวิทยาลัยที่สามเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากคือ WASEDA UNIVERSITY  เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่เก่าแก่   ที่นี่พวกเราไปช่วงที่มีงานประชุมวิชาการนานาชาติพอดีก็เลยได้เข้าร่วมประชุมไปด้วย  มีศาสตราจารย์จากยุโรปน่าจะเป็นเบลเยี่ยมมาเป็นองค์ปาถก  และหลังจากนั้นก็เป็นการมอบรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นและให้นักศึกษาที่ได้รางวัลนั้นนำเสนอผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์   นับว่าน่าทึ่งมากนักศึกษาคนแรกเนื้อหาวิชาการที่นำเสนอนั้นก็คล้ายกับงานในบ้านเรา  เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ J-LEAGUE  D2  ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่นสองนั่นเอง  แต่ว่าสิ่งที่นักศึกษาของเราอ้าปากค้างคือภาษาอังกฤษครับ   เขานำเสนอแบบไม่ติดขัดภาษาที่ใช้ก็งดงามและเทคนิคเรื่องราวก็ตัดตอนมาเฉพาะที่น่าสนใจ  ผมได้แนะนำนักศึกษาเราไปว่า   เนื้อหาอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจแต่เทคนิควิธีการนำเสนอต้องให้ความสนใจมากกว่าเพราะว่าหากเนื้อหาดีแต่นำเสนอแบบไม่น่าสนใจก็จะไม่มีคนติดตาม   เลยคิดกันว่าต้องมาปรับปรุงและฝึกนักศึกษาเราให้นำเสนออย่างมืออาชีพมากขึ้น

                ไปเที่ยวนี้ท่านอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน  ท่าน ดร.สมบัติ  ชิณะวงศ์  ได้กล่าวถึง  “นวตกรรมทางความคิด”  ซึ่งเชื่อได้ว่าท่านได้แนวคิดและแรงบรรดาลใจมากจากการที่ไปศึกษาที่ญี่ปุ่นทั้ง ป.โทและเอกนั่นเอง  ท่านกล่าวว่าองค์ประกอบของ “นวตกรรมทางความคิด”  คือ   คิดต่าง  / คิดสร้างสรรค์ / คิดนอกกรอบ  ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยเรามีน้อยและก็ไม่โทษใครโทษที่ระบบการศึกษานั่นเอง    แต่ถึงแม้ระบบการศึกษาเราจะไม่เอื้อต่อนวตกรรมทางความคิดนั้น   ก็สามารถแสวงหาได้จากองค์ความรู้อื่นๆได้  ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ  ภาพยนต์  การเดินทางท่องเที่ยว หรือศึกษาดูงานเป็นต้น    ก็เลยอยากจะนำมาผูกกับการทำธุรกิจว่าจะสามารถแข่งขันได้อย่างไรในโลกของธุรกิจที่นับวันการแข่งขันก็สูงขึ้น   พฤติกรรมผู้บริโภคก็มีความหลากหลายขึ้น  ทำอย่างไรจะได้เป็นผู้มีชัยในในการแข่งขัน  ซึ่งอาจจะสรุปได้ว่ามี 3 IN  ดังนี้

                INTREND    คือความนำสมัย  ส่วนใหญ่ธุรกิจบ้านเราจะทำตามสมัยนิยม  เรียกได้ว่าใครทำอะไรแล้วรวยก็แห่ทำตามกัน  เช่น  ขายกาแฟ  เดี๋ยวนี้ซาไปแล้วเพราะเจ๊งมากกว่ารวยคิดจะเป็นสตาร์บัคกันทั้งเมืองเพราะเราไปตามสมัย    แต่บางครั้งการนำสมัยก็ต้องดูที่ลูกค้าของเราด้วยว่าพฤติกรรมลูกค้าเป้าหมายเป็นอย่างไร  เคยไปอบรมให้โอท้อปมีผู้มาหารือว่าจะทำเคสโทรศัพท์มือถือที่ทำมาจากกระจูดสาน  ??   ผมก็เลยถามกลับว่าแล้วลูกค้ามีความต้องการหรือไม่ในกรณีนี้ผมมีความคิดเห็นว่าไม่น่าจะเกิดเพราะไม่สอดรับกับพฤติกรรมและสินค้าครับ

                INVENT  ต้องรังสรรค์  หรือประดิษฐ์ขึ้นมา  คือการประดิษฐ์สินค้าใหม่ๆ   ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย   แน่นอนว่าญี่ปุ่นเป็นเจ้าแห่งความคิดอันนี้  และที่ตามมาติดๆคือเกาหลีโดยจะเห็นได้จาก โทรศัพท์มือถือ  อุปกรณ์อีเลคโทรนิคต่างๆ 

                INNOVATE  นวตกรรม  หรือการแปลงโฉม  ปรับปรุง  ต่อยอด  บูรณะจากของเก่าเพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  เพราะลูกค้ายุคใหม่เปลี่ยนใจเร็วและแรง    กรณีนี้สายการบินไทยอาจจะล้าหลังมากๆ  ผมบ่นบ่อยๆว่าเครื่องรุ่นเก่าของการบินไทยไม่มีจอทีวีส่วนตัว  แถมจอส่วนกลางยังมีสีเดียวคือสีเขียวเพราะเครื่องมันหมดสภาพแล้วอะไหล่ไม่มีซ่อม(จริงหรือเปล่าไม่รู้?)   ซึ่งแปลว่าคุณโชคไม่ดีที่ได้บินกับเครื่องบินลำนี้ (ซวยไป)  555  แต่ผมไปขึ้นเครื่องประมาณว่าโลว์คอสของจีนปรากฏว่า  มีแทปเลต  ให้ผู้โดยสารเล่นระหว่าการเดินทางแถมเดี๋ยวนี้แทบเล็ตก็ราคาแค่เครื่องละพันกว่าบาท  คำถามถามว่า   “การบินไทยคิดได้ป่าว”     ไม่บอก.......เพราะไม่ทันคิด   หรือ  คิดไม่เป็น  ไม่รู้.................ตัวใครตัวมัน  เพราะท่านนายกประยุทธบอกการบินไทยไม่มีวันเจ๊ง........อนิจจาความสุขประเทศไทย...@@@

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...