วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

“MEE TOO ไม่ใช่แค่กูด้วย”



                               
                นายกลุงตู่โปรโมท “ประเทศไทย 4.0 “  อะไรๆ  ก็เลยต้อง 4.0 ไปหมด  ไม่ว่าจะ  INDUSTRIAL 4.0  / MARKETING 4.0  จำได้ว่า MARKETING  3.0  เพิ่งเร็วๆนี้เอง  จะเห็นได้ว่าในยุคหลังๆนี้พลวัตรของโลกเปลี่ยนแปลงไปเร็วมา  จาก MARKETING   1.0   เป็น 3.0  ใช้เวลาสองชั่วอายุคน  แต่จาก 3.0 เป็น 4.0 ใช้เวลาสั้นนิดเดียวเอง   แล้ว 5.0 จะมาเมื่อใดเป็นคำถามที่น่าสนใจไม่น้อย   แต่อย่างไรก็ตามใช่ว่าทุกคนทุกท่านทุกองค์กรจะพัฒนาไปได้ถึง 4.0  ได้เสมอไปเพราะในสังคมและเวทีแห่งความเป็นจริง จะให้ทุกคนเก่ง / รวย เท่ากันหมดคงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน   แต่อย่าหลงยุคไปที่ 1.0 หรือ 2.0 ก็คงพอทำเนา  เพราะเดี๋ยวนี้เกษตรกรเราก็ก้าวหน้าไปไม่น้อยมีเกษตรกรที่จบการศึกษาสูงๆอยู่เป็นจำนวนมาก  เรียนรู้ที่จะให้เทคโนโลยี  ทั้งการผลิต  การตลาด  และสารสนเทศ  เพื่อปรับปรุงองค์กรของตนเองจนก้าวหน้าไปก็ไม่ใช่น้อย
                ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้กับหน่วยงานในท้องถิ่น  ไม่ว่าจะเป็นโอท้อป  หรือ  สหกรณ์การเกษตร  หรือ  เครือข่าย BIZ คลับ  ก็เห็นความก้าวหน้าและพัฒนาทั้งในด้านตัวสินค้า  ช่องทางการจัดจำหน่าย และ เครือข่ายตลอดจนให้สารสนเทศ ใด้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา   ในบรรดากลยุทธการพัฒนาสินค้านั้นมีอยู่กระบวนการหนึ่งคือ ใช้กลยุทธ  “MEE TOO “  ก็คือกลยุทธที่ลอกเลียนแบบ  หรือผมเรียกเล่นๆ(ซึ่งไม่สุภาพนัก)  ว่า “กูด้วย”    แต่แค่กูด้วยเดียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ  ดังหัวเรื่องของผมว่า  “MEE TOO  ไม่ใช่แค่กูด้วย  เพราะถ้าเราแค่ก้อปปี้ก็ได้แค่สินค้าเลียนแบบ  แล้วคนซื้อจะซื้อจากเจ้าดั้งเดิมหรือของก้อปปี้   แน่นอนย่อมมีลูกค้าอยู่กลุ่มหนึ่งที่เบี้ยน้อยหอยน้อยย่อมต้องการของก้อปปี้เพราะราคาถูกกว่าในกรณีที่สินค้านั้นเป็นสินค้าลิขสิทธิ์  เช่น  เสื้อผ้ากีฬา ไนกี้  อาดีแดส เป็นต้น    หากท่านเป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้ากีฬาก็มีทางเลือกอยู่   3  ทาง คือ  1.ก้อปปี้แบรนด์ดังๆ  แล้วก็ขายถูกๆ   2.รับจ้างผลิตจากยี่ห้อต่างๆ ทั้งแบรนด์ไทย ต่างประเทศ  อันนี้ก็ได้แค่ค่าแรง  หากโรงงานอื่นดีกว่า ถูกกว่า  เจ้าของแบรนด์ก็ย่อมต้องย้ายไปซื้อจากคู่แข่ง  3.ไม่สนใจแบรนด์ทั้งหลาย   สร้างตลาดของเราเองขึ้นมา   มีกรณีศึกษาอยู่รายหนึ่งหนึ่งคือ "บริษัทวาริกซ์ สปอร์ต จํากัด"  เป็นโรงงานที่สามารถสร้างแบรนด์  และเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่  โดยเริ่มจากสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียลีก  เท่าที่ผมจำได้ก็มีบุรีรัมย์  และสุพรรณบุรี (แต่เข้าใจว่าจะมีทีมอื่นๆอีก น่าจะ สี่หรือห้าทีม) หากรวมในลีกวัน และ ลีกภูมิภาคแล้วน่าจะเกือบ 20 ทีม   จนล่าสุดได้ลิขสิทธิ์จากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย   โดยได้รับสิทธิเป็นผู้ผลิตเสื้อแข่ง ทีมชาติไทย ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2563   ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเสนอผลตอบแทนเสนอให้แก่สมาคมฯเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้นถึง  400 ล้านบาท แบ่งเป็นปีละ 100 ล้านบําท (เงินสด 40 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ 60 ล้านบาท)   
                อันนี้เราจะเห็นได้ว่าบริษัทวาริกซ์สปหอร์ตจำกัด  ซึ่งเดิมเป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้าโดยรับจ้างการผลิตแต่ผันตัวเองมามีแบรนด์เสื้อผ้ากีฬาเป็นของตนเอง   ดังนั้นการทำ MEE TOO  คงไม่ใช่แค่มีผ้าแบบเดียวกับอาดีแดส หรือไนกี้  แต่ต้องพัฒนาทั้งตัวสินค้าที่แตกต่างออกไปทั้งในแง่คุณภาพของเนื้อผ้า  ที่สำคัญ MEE TOO แต่เติมไปว่า  “ช่องทางการจัดจำหน่าย”  และ “ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย”  ที่วาริกซ์คิดต่างและมองเห็น  เพราะหากทำเสื้อผ้ากีฬาแล้วไปขาย  ใน “ซุปเปอร์สปอร์ต”  หรือ “สปอร์ตมอลล์”  หรือร้านขายเสื้อผ้ากีฬาแล้ว  คงไม่สามารถทำตลาดได้อย่างแน่นอนเพราะมีผู้ครองตลาดทั้ง  แบรด์ไทยแบรนด์นอกที่ดูเหมือนจะไม่มีช่องว่างให้ผู้ค้ารายใหม่เข้ามาเล่นด้วย   ซึ่งก็ต้องไปเล่นตลาดล่างขายต่างจังหวัดแทนและคงไม่ประสบความสำเร็จแบบทุกวันนี้    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตลาดเชิงรุกที่นำเสนอแผนการตลาดให้กับสโมสรต่างๆในการที่ใช้เสื้อผ้าของวาริกซ์   นั่นคือคำตอบว่า  “MEE TOO  ไม่ใช่แค่กูด้วย  ต้อง  MEE TOO  AND DO MUCH MORE “


บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...