วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

“ซื้อกิจการ....มั๊ย”



                ข่าวการเทคโอเวอร์หรือซื้อกิจการของบริษัทในประเทศจีนที่เน้นการขยายตัวด้วยการซื้อกิจการมีมาเป็นระยะๆ   ไม่ว่าจะเป็นเลอโนโวซื้อกิจการไอบีเอ็ม   ปีสองปีนี้ มีการเทคโอเวอร์ที่ใหญ่อีกหลายรายการ  ไม่ว่าจะเป็นมีเดียกรุ๊ปซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า  ได้เข้าซื้อกิจการของโตชิบ้าด้วยเงินกว่า 473 ล้านเหรียญ ไฮเออร์บริษัทยักษ์ใหญ่ซื้อกิจการของจีอีอีเลคทริคด้วยเงินถึง 5,400 ล้านเหรียญ  หรือล่าสุดอาลีบาบาเข้าซื้อกิจการของลาซาด้าซึ่งเป็นบริษัทขายของออนไลน์ที่เชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก  โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หรืออาเซียนซึ่งมีประชากรถึง 600 กว่าล้านคน  เมื่อรวมอินเดียเข้าไปด้วยก็เป็น 2,000 ล้านคน  แต่เมื่อรวมกับจีน อีก 1,300 ล้าน  ก็รวมเป็นลูกค้าที่อยู่ในมือของอาลีบาบา  3,300 ล้านคน จากจำนวนประชากรในโลก 7,000 ล้านคนเศษหรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก   ในปี 2558 บริษัทจีนใช้เงินเพื่อเทคโอเวอร์บริษัทข้ามชาติทั้งหลายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 656,000 ล้านเหรียญ หรือเทียบเป็นเงินไทย ประมาณ 22,960,000 ล้านบาท  อ่านว่า..... 22.9 ล้านๆบาท ในขณะที่งบประมาณของรัฐบาลไทยคือ 2.72 ล้านๆบาท   เรียกได้ว่าเท่ากับงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลไทยประมาณเกือบ 10 ปีที่เดีย    ข่าวล่าสุดว่าในไตรมาสแรกของปีนี้มีการเทคโอเวอร์ทั่วโลกเป็นเงินถึง 682,000 ล้านเหรียญ โดยเป็นบริษัทจีนที่เข้าเทคโอเวอร์ถึง 15% คิดเป็นเงิน  102,300 เหรียญ    การเทคโอเวอร์หรือการซื้อกิจการนั้นก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการขยายกิจการที่รวดเร็ว  และสิ่งที่ได้ตามมาคือแบรนด์ที่ไม่ต้องเริ่มสร้างใหม่   รวมทั้งสิ่งที่สำคัญคือ.............เวลา  ที่เงินหาซื้อไม่ได้ครับพี่น้อง
                        บริษัทในประเทศไทยก็มีการซื้อกิจการในต่างประเทศอยู่เหมือนกันไม่ว่าจะเป็น  ห้างเซ็นทรัลซื้อกิจการห้าง  "ลา รินาเชนเต้" ที่มีความเก่าแก่เกือบ 150ปี  ตั้งอยู่ติดกับวิหารดูโอโมที่ใครๆก็ต้องไปเยือน  หรือซื้อห้างบิ๊กซีในเวียดนามเพื่อปักธงค้าปลีกในเวียดนา   อีกบริษัทที่เป็นเจ้าพ่อเทคโอเวอร์ในประเทศไทยคือไทยเบฟของเจ้าสัวเจริญ  ไม่ว่าจะเข้าเทคโอเวอร์แมคโคร ด้วยมูลค่าถึง  188,000 ล้านบาทในปี 2556  ......ยัง !!!   ชั้นยังไม่พอ    ก่อนหน้านั้น   @@@   ข้าเทคโอเวอร์ครั้งประวัติศาสตร์คือซื้อ เอฟแอนด์เอ็นในสิงค์โปร มูลค่าการซิ้อกิจการที่ใหญ่สุดในประวัติของชาติอาเซียน ประมาณ ราว 11,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.36 แสนล้านบาท ในปี 2555....อุแม่จ้า.......
            ล่าสุดเรยคือการที่คิงพาวเวอร์ทุ่มเงิน 8,000 ล้านบาท เข้าซื้อกิจการของไทยแอร์เอเชียโดยถือหุ้นใหญ่ เกือบ 40% เป็นการต่อยอดธุรกิจของคิงพาวเวอร์เองที่ทำธุรกิจขายสินค้าปลอดภาษี  ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอายุของสัมปทานถ้าหมดลงเมือใดความไม่แน่อนก็อาจเกิดขึ้นได้  แม้ว่าจะมีเส้นสายคอนเนคชั่นจนถึงกับมีข่าวว่าอาจจะตั้งพรรคการเมืองเอง หุหุ...แต่ผมฟันธงว่าคุณวิชัย  คงไม่นำอนาคตมาทิ้งในบั้นปลายสู้เป็นเจ้าของแชมป์พรีเมียลีค  เจ้าของไทยแอร์เอเชีย  เจ้าของคิงพาวเวอร์  เจ้าของทีมโปโล มีความสุขจังตังอยู่เกือบครบดีกว่าครับ  สู้อยู่เบื้องหลังดีกว่าไม่เจ็บตัวชิมะ....... ทีแรกก็สงสัยว่าทำไมคุณวิชัยถึงซื้อไทยแอร์เอเชีย    ลำพังคำตอบตอนแถลงข่าวว่าเพราะเพื่อขยายตลาดการขายสินค้าปลอดภาษีนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่ง   แต่ผมคิดว่าคงเป็นเพราะธุรกิจการบินกำลังเติบโตอย่างที่ใครๆก็เห็นกันอยู่ จะเห็นได้จากผลประกอบการของไทยแอร์เอเชีย   ตั้งเป้าหมายว่าจะมีผู้โดยสารถึง  17 ล้านคน   อุ๊ตะ....  แค่ไตรมาสแรกของปี 2559  มีผู้โดยสารถึง 4.37 ล้านคน  เทียบกับการบินไทยที่มีผู้โดยสาร  5.92 ล้านคน อีก3-5 ปี มากกว่าการบินไทยแน่นอน  อัตราการโหลดแฟคเตอร์สูงถึง 88% ( คืออัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยว)  ในขณะที่การบินไทยในปี 2558 อัตราโหลดแฟคเตอร์อยู่ที่ 73%   แม้จะมียอดขายในไตรมาสแรก 50,315 ล้านบาท กำไรถึง 5,999 ล้านบาท  แต่ก็คงต้องลงไปดูในรายละเอียดว่ากำไรมาจากที่ใด   เพราะว่าผลประกอบการสามปีย้อนหลัง ขาดทุนปีละ  12,000-15,000 ล้านบาทรวมสามปี 2556-2558 ขาดทุนไป  ประมาณ 40,000 ล้านบาท 
                        สุดท้ายเลยเมื่อคุณวิชัยซึ่งเป็นเจ้าของคิงพาวเวอร์และเลสเตอร์ซิตี้แชมป์พรีเมียลีกแล้ว  ถ้าคำนึงถึงความคุ้มค่าทางการตลาดแล้วละก็เชื่อได้ว่าเมื่อหมดสัญญากับทางคิงพาวเวอร์   หน้าอกเสื้อของ่จิ้งจอกสยามคงเปลี่ยนเป็นไทยแอร์เอเชียเป็นแน่   ทั้งนี้เพราะการโฆษณาคิงพาวเวอร์ที่อกเสื้อเลสเตอร์ไม่คุ้มค่าทางการลงทุนแน่นอน  เพราะธุรกิจมีแต่ร้านดิวตี้ฟรีในประเทศไทยเท่านั้นซึ่งลูกค้าคือนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเมืองไทย  แม้จะนิยมในตราสินค้าก็มิอาจมาเป็นลูกค้าผิดกับไทยแอร์เอเชีย  หรือ แอร์เอเชียซึ่งลูกค้ามีจำนวนมากกว่าก็จะสามารถสร้างความคุ้มค่ทางการตลาดได้มากกว่า    แต่................ทั้งนี้ยกเว้นว่ามีเหตุผลอื่นๆก็มิอาจคาดเดาได้ว่าโฆษณาบนหน้าอกเสื้อจิ้งจอกสยามอาจไม่เปลี่ยนก็ได้   WAIT  AND SEE  ~~~~~~~~~

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

“ฟิน ก๊ะ .....ฟินเทค”



       

       มื่อก่อนถามว่าคู่แข่งของธนาคากรุงเทพคือใคร?   คำตอบคงไม่พ้นธนาคารกสิกร  ธนาคากรุงไทย  ฯลฯ  ซึ่งก็คือธนาคารคู๋แข่งขันนั่นเองซึ่งในภาษาการตลาดแล้วเราหมายถึงคู่แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน   เช่นธนาคาสถาบันการเงินก็คือธนาคาร  ไฟแนนซเป็นต้น  แต่จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจนเราสามารถทำธุรกรรมต่างๆแบบออนไลน์   ไม่ว่าจะเป็นผ่านทางคอมพิวเตอร์   ทางสมาร์ทโฟน ฯลฯ  ทำให้คู่แข่งขันเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
            เมื่อก่อนถ้าจะโอนเงินให้กับใครสักคนหนึ่งมีแค่สองวิธี  คือ ธนานัติ  กับ ตั๋วแลกเงิน  อันนี้นานมากแล้วพวกอายุน้อยกว่า 30 อาจจะไม่รู้จัก  ซึ่งต้องไปดำเนินธุรกรรมที่ไปรษณีย์ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีให้บริการอยู่ซึ่งสะดวกสำหรับคนในชนบทเป็นสำคัญ   ต่อมาก็บริการโอนเงิน ชำเระเงินผ่านทางธนาคาร  ปัจจุบันเราสามารถโอนเงิน/ชำระเงิน  ผ่านได้ทั้งร้านสะดวกซื้อ  ห้างสรรพสินค้า  ร้านค้าที่มีบริการ ฯลฯ มากมายรวมทั้งการโอน / ชำระ ผ่านระบบออนไลน์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
            ฟินเทค (FINTECH)  เป็นชื่อที่นำเอาคำว่า FINANCIAL และ  TECHNOLOGY มาผสมกัน   นาทีนี้เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกคนเรียบร้อยแล้ว ในหลากหลายรูปแบบ และอีกไม่นาน ฟินเทคหรือ ไฟแนนเชียล เทคโนโลยี (Financial Technology) จะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนไทยมากยิ่งขึ้น พื้นฐานเลยก็คือ  บัตรเอทีเอ็ม  บัตรเดบิท จนมาถึงโมบายโฟน   ฟินเทคจึงเป็นการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่การทำธุรกิจและธุรกรรมทางการเงิน เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการและสถาบันการเงินที่เอื้อประโยชน์กัน รวมทั้งบัตรเติมเงินต่างๆเช่นของ เซเว่นอีเลฟเว่นลองนึกเล่นๆดูนะครับถ้าอนาคตบัตรเซเว่นนี้สามารถใช้จ่ายค่ารถไฟฟ้า  จ่ายค่าอาหาร  จ่ายซื้อบัตรชมคอนเสิร์ต ฯลฯ  อะไรจะเกิดขึ้น  ธุรกิจและผลประกอบการของธนาคารจะเป็นอย่างไร  คู่แข่งขันของธนาคาไม่มีเพียงแต่ธนาคารคู่แข่งชันเท่านั้น   หากท่านจำได้ในบทความก่อนผมได้กล่าวถึงบัตรซุยก้า (SUICA)  ซึ่งเป็นบัตรเติมเงินของญี่ปุ่นสามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างสะดวก    จ่ายค่ารถไฟก็ไม่ต้องดูว่าลงสถานีใดค่าโดยสารเท่าใดจึงค่อยหยอดเหรียญซื้อบัตรถไฟ   แค่นำบัตรนี้ (ในญี่ปุ่นเรียก IC) ไปแตะที่ทางเข้าตอนถึงปลายทางก็แตะที่ทางออกสะดวกสบายดีมากครับ 
                        เร็วๆนี้รัฐบาลบอกว่าจะเอาเลขบัตรประชาขนไปผูกติดกับบัญชีธนาคารเมื่อสำเร็จแล้วก็ถือเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการอำนวยความสะดวกในการรับจ่ายเงินทั้งในส่วนของรัฐบาล  และผมเชื่อว่าในอนาคตคงขยายไปถึงการทำธุรกรรมกับภาคเอกชนกับประชาชนทั่วไป   วันนี้ถ้เดินผ่านร้านเซเว่นลองสักเกตุดูนะครับ   บางร้านที่อยู่ในย่านที่มีนักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่ละก็จะเป็นมีป้ายหน้าร้านใหญ่โตที่เดียวบอกว่า “ยินดีรับบัตรอาลีเปย์”  พอเห็นชื่ออาลีก็คงคาดเดาได้นะครับว่าเป็น  ALIBABA ของแจ๊กหม่านั่นเอง  เขาสามารถพัฒนาให้บัตรเติมเงินของเขาสามารถใช้ไปได้ทั่วโลกแล้วครับ   เรียกได้ว่าบัตรเครดิตมีหนาวเลยงานนี้ซึ่งอาจจะยังไม่หนาวมากครับเพราะว่าบัตรเติมเงินนี้ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ใช่บัตรเครดิต  แต่อย่าลืมนะครับว่าในอนาคต (เชื่อว่าอันอีกไม่นาน)  อาลีเปย์ก็จะมีฐานข้อมูลลูกค้าในเรื่องการจับจ่ายใช้สอย  รวมทั้งพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน  ฟันธงเรยว่าอนาคตก็จะพัฒนาเป็นบัตรดูอัล   คือสามารถใช้ได้ทั้งเป็นบัตรเติมเงินและบัตรเครติดในตัวเองด้วย  หรือพัฒนาลูกเล่นอื่นๆให้ตอบรับกับพฤติกรรมและอำนาจการซื้อของลูกค้า

                        ที่เซเว่นเราอาจไม่ค่อยเห็นชัดเรื่องบัตรอาลีเปย์นี้  แต่ถ้าอยากดูให้ไปที่คิงส์พาวเวอร์ซอยรางน้ำครับ   ช้อปและรูดกระจายครับอาลีบาบากับตะเกียงวิเศษมาช่วยเสกให้เศรษฐกิจไทยยังไปต่อได้ในชั่วโมงนี้เพราะเครื่องยนต์ทุกตัวสำหรับเศรษฐกิจไทย  ไม่ดับก็เดี้ยงเหลืออยู่สองตัวที่คอยขับเคลื่อนอยู่คือ การท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐ   ซึ่งการลงทุนภาครัฐก็มีข้อจำกัดหลายประการทั้งระบบราชการและกระบวนการต่างๆ  เรียกได้ว่าหลักๆมาจากท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวเกือบครึ่งมาจากจีนแม้จะใช้จ่ายต่อหัวน้อยกว่านักท่องเที่ยวยุโรป  อเมริกา และญี่ปุ่น  แต่เมื่อคูณด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวแล้วก็เป็นมูลค่ามหาศาลที่คอยจุนเจือเศรษฐกิจไทยเป็นสำคัญ   ไม่อยากนึกเลยว่าถ้าเศรษฐกิจจีนฟองสบู่แตก ซึ่งผมเคยกล่าวมาหลายปีแล้วเพราะไปเมืองจีนเห็นตึกร้างมากมาย   แต่ก็มีการสร้างตึกใหม่ๆอยู่ติดกันมันอะไรกันแน่???    ถ้าเศรษฐกิจจีนแตกดังโพ๊ละเมื่อใดก็ตัวใครตัวมันนะโยม   ฟิน....ก็จะหาย ฟิน ไปในบัดดลเลยละครับ

บอลข่าน ย่านสงคราม

  บอลข่าน   ย่านสงคราม 26 เมษายน 25678             ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม   คือลางานทั้...