คงมีคนไทยน้อยคนที่จะรู้ว่าในปี 2020 (2563) ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนจะเข้าสู่โหมด ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY) ซึ่งมีระยะเวลาเหลืออีกแค่ 10 ปีเท่านั้นเอง เห็นมีแต่ข่าวตอนเช้ามากๆซึ่งก็คงมีคนดูจำนวนไม่มากมีสารคดีว่าด้วยเรื่องประชาคมอาเซียน (เป็นรายการที่ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นคนบรรยาย) ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะชาวบ้านตาสีตาสา และเอสเอ็มอีทั้งหลายแทบไม่มีใครทราบเรื่องนี้เลย หรือถึงแม้ทราบเรื่องก็มักมีคำถามต่อว่า “แล้วงัย? “ ซึ่งผมว่าเป็นจุดอ่อนของสังคมไทย และการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอสเอมอีซึ่งมีข้อมูล ข่าวสาร มีข้อเท็จจริง ฯลฯ แต่ก็หยุดแค่มี “มัน” เท่านั้นไม่สมารถตอบคำถามต่อไปได้ว่า “แล้วงัย ? หรือ SO WHAT ???? “ หรือไม่สามารถคิดต่อไปได้ว่า มันจะมีผลกระทบอะไร หรือว่า เราจะทำอะไรต่อไปหรืออย่างไรกับ ข้อมูล ข่าวสาร และ ข้อเท็จจริงต่างๆที่เรามี เร็วๆนี้ผมเองได้มีโอกาสไปร่วมเป็นทีปรึกษาคลัสเตอร์ทุ่งกุลา ซึ่งเป็นการส่งเสริมของกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้สหกรณ์การเกษตรในทุ่งกุลาร้องไห้(ทำไมต้องร้องไห้ก็ไม่รู้) ให้รวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์เพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ฯ ก็ได้มีโอกาสไปอบรม แนะนำ และพาออกพบลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะขายสินค้าข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลกทั้งๆที่มีความเข้าใจในสินค้าของตนเองเป็นอย่างดี แต่มักจะไม่สามารถต่อยอดความคิดนำข้อมูลมาขยายผลเพื่อเป็นแนวปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ก็ไม่อยากจะไปโทษระบบการศึกษาว่าสอนให้แต่คนท่องจำไม่ได้สอนให้คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ รู้สึกว่าวนไปวนมาปัญหาในบ้านเมืองของเราก็วนๆกันอยู่อย่างนี้ เหมือนเรื่องการเมืองมีการเลือกตั้ง คอรัปชั่น ปฏิวัติ แล้วก็มีรัฐธรรมนูญใหม่ เลือกตั้ง กลับมาที่เดิมอีกวนอยู่อย่างนี้ มา 80 ปีพอดี อ้าวไหงมาลงเรื่องการเมืองก็ไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอาเซียน
วกกลับมาเรื่องประชาคมอาเซียนต่อก็แล้วกันนะครับว่าในส่วนของประชามคมอาเซียนนั้นแบ่งแนวทางความร่วมมือเป็นสามส่วนใหญ่ๆดังนี้
1.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน(ASEAN SECURITY COMMUNITY - ASC) ซึ่งชื่อก็คงบ่งบอกแล้วนะครับว่าจะเป็นความร่วมมือในด้านความมั่นคง และทำให้ภูมิภาคมีความสงบและสันติสุข รวมทั้งการก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ และความมั่นคงทางทะเล
2.ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURE COMMUNITY – ASCC) ก็มีเป้าหมายให้ชาติสมาชิกปละประชาคมมีสังคมที่สงบ อบอุ่น และเอื้ออาทร พัฒนาทางการศึกษา สังคม สร้างงาน การควบคุมโรคติดต่อต่างๆ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและความร่วมมือของนักคิด และศิลปินในภูมิภาค
3.ประชามคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY – AEC) จะเป็นความร่วมมือทางด้านการค้าการลงทุน ให้เป็นตลาดการค้าเสรีจริงๆมุ่งเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต ความร่วมมือทางด้านการเงิน เศรษกิจมหภาค การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมร่วมกัน การเกษตร พลังงาน ยกระดับการศึกษาและพัฒนาฝีมือแรงงาน
ซึ่งที่สำคัญไปกว่านั้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจให้เป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC “ นั้นถูกเร่งรัดให้ดำเนินการเร็วขึ้นกว่า “ประชาคมอาเซียน “ โดยจะมีผลเร็วขึ้นถึง 5 ปี คือในปี 2558 นี้หรือนับจากนี้แค่ 5 ปีเท่านั้นเองที่เราจะเข้าสู่การเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยเริ่มที่สินค้าจำนวน 11 หมวดได้แก่ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม่ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม / ยานยนต์ / อีเลคทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ / การบริการทางสุขภาพ / การท่องเที่ยว / การขนส่งทางอากาศ โดยจะมีการเปิดเสรีทางการค้าสินค้า การบริการ การลงทุน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน คำถามคือ.......แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับความร่วมมือดังกล่าว ข้อแรกคือจำนวนผู้บริโภคของเราจะเพิ่มขึ้นจาก 60 ล้านกว่าคนในประเทศไทยเป็น 600 กว่าล้านคน แปลว่าความต้องการสินค้าของเราจะมากขึ้น (ถ้าเราสามารถแข่งขันได้ทั้งด้านคุณภาพ และราคา รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการและวัฒนธรรมของลูกค้า) พอดีเหลือไปเห็นข่าวที่ว่า อีกสิบปีจีน-อินเดีย (ซึ่งทำความตกลงเสรีการค้ากับอาเซียน) จะผงาดกุมอำนาจเศรษฐกิจโลก โดยจีนจะมีขนาดเศษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ถึง 73.5 ล้านล้านดอลล่าร์ ที่สำคัญ อินโดนีเซีย จะผงาดมามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกมีขนาดเศรษฐกิจถึง 9.3 ล้านล้านดอลล่าร์ ฯลฯ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประชามอาเซียน เห็นโอกาสหรือยังครับว่ามันรอเราอยู่ไม่ไกลเลยแค่ 5-10 ปีข้างหน้านี้เอง เราคงต้องปรับตัวทั้งในด้านการผลิตที่ให้ได้ต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ ภาษาและการสื่อสาร รวมทั้งการศึกษาและผูกมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านให้ดีๆ ศึกษาวัฒนธรรม ความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าให้ดีเพราะว่าอินโดนีเซีย บรูไน และ มาเลเซียเป็นประเทศมุสลิม มีวัฒนธรรมความเชื่อแตกต่างจากเราพอสมควรหากเราจะเจาะเข้าไปขายสินค้าแล้วจะต้องมีข้อกำหนด เงื่อนไข และความเชื่ออย่างไรจึงจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม เพราะนี่ก็เหลือเวลาอีกแค่ห้าปีเท่านั้นหลับๆตื่นแค่ 1,600 วันเองนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกันนี่ก็เห็นว่าทางสมาคมฟอกย้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันสิ่งทอจะจัดทริปเดินทางไปพม่าเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุนเพราะว่าค่าแรงบ้านเราสูงไปแล้วในปัจจุบัน เพราะนักการเมืองพยายามเอาใจผู้ใช้แรงงานโดยการปรับค่าแรงขั้นต่ำค่อนข้างสูงเพราะใกล้โหมดเลือกตั้ง ไม่เห็นว่าจะมาสนับสนุนส่งเสริมภาคธุรกิจซักเท่าไหร่ นี่ก็ออกมาตรการให้คนใช้ไฟไม่ถึง 90 หน่วยใช้ไฟฟรีตลอดชีวิต แต่หารู้ไม่จะมาปรับขึ้นราคาค่าไฟเอากับภาคธุรกิจ หรือกับประชาชนทั่วไปที่ใช้ไฟมาก อันนี้ก็ยังไม่สรุปแต่ของฟรีไม่มีในโลกครับพี่น้องเพราะต้องไปหามาชดเชยไม่จากภาคธุรกิจก็ต้องคนใช้ไฟมาก หรือสุดท้ายก็จากภาษีของพวกเรานี่แหละครับซึ่งก็จะทำให้งบประมาณในการพัฒนาด้านอื่นๆลดน้อยลงไปเป็นสัจจะธรรมครับตามหลักเศรษฐศาสตร์ ของฟรีไม่มีในโลกเพียงแต่ใครเป็นคนจ่ายเท่านั้นเองครับ ก็เห็นแต่ทุกพรรคทุกรัฐบาลก็พยายามเอาใจผู้ใช้แรงงานไม่ว่าจะประดิษฐ์คำว่าอะไร ทั้งประชานิยม หรือประชาภิวัฒน์ แต่อย่าให้ประเทศวิบัติเป็นพอ แล้วอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เคยมีใครตอบผมได้ทำไมเวลาประชุมอาเซียนหรือเอเปคต้องยืนแล้วเอามือจับไข้วกันด้วยหว่า อ้าวไหงมาลงที่การเมืองจนได้ซิเอ้า.................
วกกลับมาเรื่องประชาคมอาเซียนต่อก็แล้วกันนะครับว่าในส่วนของประชามคมอาเซียนนั้นแบ่งแนวทางความร่วมมือเป็นสามส่วนใหญ่ๆดังนี้
1.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน(ASEAN SECURITY COMMUNITY - ASC) ซึ่งชื่อก็คงบ่งบอกแล้วนะครับว่าจะเป็นความร่วมมือในด้านความมั่นคง และทำให้ภูมิภาคมีความสงบและสันติสุข รวมทั้งการก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ และความมั่นคงทางทะเล
2.ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURE COMMUNITY – ASCC) ก็มีเป้าหมายให้ชาติสมาชิกปละประชาคมมีสังคมที่สงบ อบอุ่น และเอื้ออาทร พัฒนาทางการศึกษา สังคม สร้างงาน การควบคุมโรคติดต่อต่างๆ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและความร่วมมือของนักคิด และศิลปินในภูมิภาค
3.ประชามคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY – AEC) จะเป็นความร่วมมือทางด้านการค้าการลงทุน ให้เป็นตลาดการค้าเสรีจริงๆมุ่งเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต ความร่วมมือทางด้านการเงิน เศรษกิจมหภาค การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมร่วมกัน การเกษตร พลังงาน ยกระดับการศึกษาและพัฒนาฝีมือแรงงาน
ซึ่งที่สำคัญไปกว่านั้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจให้เป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC “ นั้นถูกเร่งรัดให้ดำเนินการเร็วขึ้นกว่า “ประชาคมอาเซียน “ โดยจะมีผลเร็วขึ้นถึง 5 ปี คือในปี 2558 นี้หรือนับจากนี้แค่ 5 ปีเท่านั้นเองที่เราจะเข้าสู่การเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยเริ่มที่สินค้าจำนวน 11 หมวดได้แก่ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม่ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม / ยานยนต์ / อีเลคทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ / การบริการทางสุขภาพ / การท่องเที่ยว / การขนส่งทางอากาศ โดยจะมีการเปิดเสรีทางการค้าสินค้า การบริการ การลงทุน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน คำถามคือ.......แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับความร่วมมือดังกล่าว ข้อแรกคือจำนวนผู้บริโภคของเราจะเพิ่มขึ้นจาก 60 ล้านกว่าคนในประเทศไทยเป็น 600 กว่าล้านคน แปลว่าความต้องการสินค้าของเราจะมากขึ้น (ถ้าเราสามารถแข่งขันได้ทั้งด้านคุณภาพ และราคา รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการและวัฒนธรรมของลูกค้า) พอดีเหลือไปเห็นข่าวที่ว่า อีกสิบปีจีน-อินเดีย (ซึ่งทำความตกลงเสรีการค้ากับอาเซียน) จะผงาดกุมอำนาจเศรษฐกิจโลก โดยจีนจะมีขนาดเศษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ถึง 73.5 ล้านล้านดอลล่าร์ ที่สำคัญ อินโดนีเซีย จะผงาดมามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกมีขนาดเศรษฐกิจถึง 9.3 ล้านล้านดอลล่าร์ ฯลฯ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประชามอาเซียน เห็นโอกาสหรือยังครับว่ามันรอเราอยู่ไม่ไกลเลยแค่ 5-10 ปีข้างหน้านี้เอง เราคงต้องปรับตัวทั้งในด้านการผลิตที่ให้ได้ต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ ภาษาและการสื่อสาร รวมทั้งการศึกษาและผูกมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านให้ดีๆ ศึกษาวัฒนธรรม ความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าให้ดีเพราะว่าอินโดนีเซีย บรูไน และ มาเลเซียเป็นประเทศมุสลิม มีวัฒนธรรมความเชื่อแตกต่างจากเราพอสมควรหากเราจะเจาะเข้าไปขายสินค้าแล้วจะต้องมีข้อกำหนด เงื่อนไข และความเชื่ออย่างไรจึงจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม เพราะนี่ก็เหลือเวลาอีกแค่ห้าปีเท่านั้นหลับๆตื่นแค่ 1,600 วันเองนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกันนี่ก็เห็นว่าทางสมาคมฟอกย้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันสิ่งทอจะจัดทริปเดินทางไปพม่าเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุนเพราะว่าค่าแรงบ้านเราสูงไปแล้วในปัจจุบัน เพราะนักการเมืองพยายามเอาใจผู้ใช้แรงงานโดยการปรับค่าแรงขั้นต่ำค่อนข้างสูงเพราะใกล้โหมดเลือกตั้ง ไม่เห็นว่าจะมาสนับสนุนส่งเสริมภาคธุรกิจซักเท่าไหร่ นี่ก็ออกมาตรการให้คนใช้ไฟไม่ถึง 90 หน่วยใช้ไฟฟรีตลอดชีวิต แต่หารู้ไม่จะมาปรับขึ้นราคาค่าไฟเอากับภาคธุรกิจ หรือกับประชาชนทั่วไปที่ใช้ไฟมาก อันนี้ก็ยังไม่สรุปแต่ของฟรีไม่มีในโลกครับพี่น้องเพราะต้องไปหามาชดเชยไม่จากภาคธุรกิจก็ต้องคนใช้ไฟมาก หรือสุดท้ายก็จากภาษีของพวกเรานี่แหละครับซึ่งก็จะทำให้งบประมาณในการพัฒนาด้านอื่นๆลดน้อยลงไปเป็นสัจจะธรรมครับตามหลักเศรษฐศาสตร์ ของฟรีไม่มีในโลกเพียงแต่ใครเป็นคนจ่ายเท่านั้นเองครับ ก็เห็นแต่ทุกพรรคทุกรัฐบาลก็พยายามเอาใจผู้ใช้แรงงานไม่ว่าจะประดิษฐ์คำว่าอะไร ทั้งประชานิยม หรือประชาภิวัฒน์ แต่อย่าให้ประเทศวิบัติเป็นพอ แล้วอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เคยมีใครตอบผมได้ทำไมเวลาประชุมอาเซียนหรือเอเปคต้องยืนแล้วเอามือจับไข้วกันด้วยหว่า อ้าวไหงมาลงที่การเมืองจนได้ซิเอ้า.................