ผมเขียนบทความนี้ในวันแห่งความรัก “วันวาเลนไทน์” ซึ่งทุกคนทราบดีว่าเป็นวัฒนธรรมทางตะวันตกที่เข้าสู่ประเทศไทย ที่เป็นสังคมเปิดและยอมรับวัฒนธรรมต่างๆจนบางครั้งอาจจะดูเหมือนว่าขาดสติในการเปิดรับเสียด้วยซ้ำไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินมูลค่าการค้าขายเนื่องในวันวาเลนไทน์มีมูลค่าถึง 1,120 ล้านบาทเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้ารวมทั้งประเทศก็น่าจะถึง 2,000 ล้านบาทเพิ่มจากปีก่อนถึง 6.7 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขแม้จะไม่มากมายเท่ากับเทศกาลตรุษจีนหรือสงกรานต์ แต่ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปีอย่างมีนัยสำคัญเพราะว่าเติบโตตลอดไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีเลวอย่างไร แต่กับเทศกาลสงกรานต์กับตรุษจีนนั้นขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ ก็ยังไม่มีใครทำการวิจัยว่าสาเหตุเกิดจากอะไรแต่ผมเชื่อได้ว่าเป็นเพราะ “ความรัก” มันเป็นสิ่งที่เป็น “นามธรรม” และถ้าเราเชื่อหรือศรัทธาแล้วเรายอมทำหลายๆอย่างที่ไม่เคยทำ หรือแม้แต่กระทั่งยอมทำทุกอย่างก็ว่าได้เพื่อคนที่เรา “รัก “ หรือ หากให้รุนแรงหรือยกระดับไปมากกว่านั้นก็คือ “ความศรัทธา”
แม้แต่ในวงการเมืองเองก็ตามเราจะเห็นได้ว่าแต่ละค่ายไม่ว่าสีใดจะมี “สาวก” ที่เหนียวแน่นไม่ว่าจะมีกิจกรรมใดๆก็จะเป็นขาประจำตลอด คนเหล่านี้มาเพราะความศรัทธาซึ่งอาจจะเป็นในเรื่องของตัวบุคคล หรืออุดมการณ์ หรือสถานการณ์ที่หยิบยกมาเป็นเครื่องมือในการระดมพล ในทางศาสนาเองก็เช่นกันการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ก็จะนำพามาซึ่งเหตุปัจจัยต่างๆแล้ววันหนึ่งศาสดาที่เราเคารพศรัทธาไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ก็เกิดการฟ้องร้อง อาจจะเรียกที่ดินคืน ขอเงินคืน ฯลฯ เราก็เห็นกันมาอยู่เสมอๆๆ “ศรัทธามาร์เก็ตติ้ง” ก็ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ ทำไม”น้ำหมักป้าเช็ง” ถึงขายได้เป็นอย่างที่เรียกว่าเทน้ำ(หมัก)เทเท่าเลยคำตอบเดียวคือ “ศรัทธา” คนเราลองเชื่อซะอย่างที่เหลือไม่ต้องพูดถึง แต่ความเชื่อเป็นอะไรที่สร้างง่ายและก็เลือนหายไปง่ายด้วยเช่นกันส่วนศรัทธานั้นสร้างยากก็ลบล้างยากเฉกเช่นเดียวกันนั่นเอง จะเรียกได้ว่า “ศรัทธา คือ แบรนด์” ก็ว่าได้เพราะว่าแบรนด์คือชื่อเสียงและความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า ตรายี่ห้อ ผู้บริหาร องค์กร ฯลฯ ที่สามารถสัมผัสได้ทางโสตสัมผัสทั้งห้า ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ดังนั้นหน้าที่นักการตลาดจึงต้องพยายามสร้าง “ศรัทธา” ให้เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้ได้
ลองดูสุภาพสตรีซิครับยอมเสียเงินซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมใบละหลายหมื่น หรือเป็นแสนบาทนั้นมีเงินอย่างเดียวซื้อไม่ได้นะครับต้องมี “ศรัทธา”ด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้เธอดูดีมีระดับและสามารถเชิดหน้าชูตาในหมู่เพื่อนฝูง(เพราะอยู่ในระดับเดียวกัน)ได้ การซื้อครีมกระปุกละหลายหมื่นเพราะศรัทธาในคุณภาพ ตราสินค้า และ ที่สำคัญศรัทธาว่าจะทำให้เธอสวยและดูอ่อนเยาว์กว่าความเป็นจริง (ผมไม่ใช้คำว่าไม่แก่ เพราะความแก่เป็นความจริงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้) ซึ่งเป็นไปได้นั่นเอง เราคงเห็นว่าเครื่องรางของขลังทั้งหลายนั้นมูลค่าในการผลิตคงไมกี่สตางค์แต่ทำไมพระผงแต่ละวัดแต่ละอาจารย์จึงมีมูลค่าแตกต่างกันหลายพันลี้ ทั้งๆที่ต้นทุนการผลิตไม่แตกต่างกันเลย แน่นอนที่สุดการได้พระอาจารย์ที่มาปลุกเสกหรืออิทธิฤทธิ์ของเครื่องรางต่างหากที่ทำให้มูลค่าพระผงนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ที่สำคัญการสื่อสารการตลาดที่เข้าถึงจิตใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายก็จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสร้า “ศรัทธา” ให้เกิดขึ้น ดู “เอเอสทีวี” เป็นตัวอย่างซิครับมีทั้งเว็บไซท์ หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และ มีทีวีเป็นของตนเอง ทำให้มีแฟนพันธุ์แท้อย่างเหนียวแน่นไม่ว่าจะเป็นหัวข้ออะไรก็จะมีแฟนๆออกมาขานรับกันจำนวนหนึ่ง เพราะบริโภคข่าวสารของเอเอสทีวีกันอย่างสม่ำเสมอ นี่ก็เป็นวิธีการสร้าง”ศรัทธา” แบบหนึ่งโดยการใช้การสื่อสารการตลาดจนทำให้สินค้าของเอเอสทีวี ซึ่งเป็นสินค้าจริงเช่น ข้าวสาร เสื้อ ปลากระป๋อง กาแฟ น้ำข้าวกล้องงอก วิตามิน อาหารเสริม เครื่องเขียน ปู๋ย ถุงขยะ ฯลฯ เรียกได้ว่ามีครบทุกหมวดประมานว่าสากกะเบือยันเรือรบเลยครับ สินค้าเหล่านี้อยู่ได้ก็เพราะ “ศรัทธา” นั่นเอง
นักการตลาดทั้งหลายมีหน้าที่สร้าง “ศรัทธา”ให้เกิดในใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะในการสร้างไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ตัวสินค้าเองจะต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ว่าทำไมเขาจะต้องซื้อสินค้าของเรา ?? สินค้าเราจะให้คุณค่าอะไรเพื่อให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลูกค้าต้องจ่ายไป มีราคาที่เหมาะสม มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายให้กับลูกค้า รวมทั้งการสื่อสารการตลาดที่ครบเครื่องแบบบูรณาการ ที่ต้อง เข้าใจ เข้าถึง เข้าถี่ เข้าทุกที่ที่เธอ(ลูกค้าเป้าหมาย)ไป
แม้แต่ในวงการเมืองเองก็ตามเราจะเห็นได้ว่าแต่ละค่ายไม่ว่าสีใดจะมี “สาวก” ที่เหนียวแน่นไม่ว่าจะมีกิจกรรมใดๆก็จะเป็นขาประจำตลอด คนเหล่านี้มาเพราะความศรัทธาซึ่งอาจจะเป็นในเรื่องของตัวบุคคล หรืออุดมการณ์ หรือสถานการณ์ที่หยิบยกมาเป็นเครื่องมือในการระดมพล ในทางศาสนาเองก็เช่นกันการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ก็จะนำพามาซึ่งเหตุปัจจัยต่างๆแล้ววันหนึ่งศาสดาที่เราเคารพศรัทธาไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ก็เกิดการฟ้องร้อง อาจจะเรียกที่ดินคืน ขอเงินคืน ฯลฯ เราก็เห็นกันมาอยู่เสมอๆๆ “ศรัทธามาร์เก็ตติ้ง” ก็ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ ทำไม”น้ำหมักป้าเช็ง” ถึงขายได้เป็นอย่างที่เรียกว่าเทน้ำ(หมัก)เทเท่าเลยคำตอบเดียวคือ “ศรัทธา” คนเราลองเชื่อซะอย่างที่เหลือไม่ต้องพูดถึง แต่ความเชื่อเป็นอะไรที่สร้างง่ายและก็เลือนหายไปง่ายด้วยเช่นกันส่วนศรัทธานั้นสร้างยากก็ลบล้างยากเฉกเช่นเดียวกันนั่นเอง จะเรียกได้ว่า “ศรัทธา คือ แบรนด์” ก็ว่าได้เพราะว่าแบรนด์คือชื่อเสียงและความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า ตรายี่ห้อ ผู้บริหาร องค์กร ฯลฯ ที่สามารถสัมผัสได้ทางโสตสัมผัสทั้งห้า ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ดังนั้นหน้าที่นักการตลาดจึงต้องพยายามสร้าง “ศรัทธา” ให้เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้ได้
ลองดูสุภาพสตรีซิครับยอมเสียเงินซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมใบละหลายหมื่น หรือเป็นแสนบาทนั้นมีเงินอย่างเดียวซื้อไม่ได้นะครับต้องมี “ศรัทธา”ด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้เธอดูดีมีระดับและสามารถเชิดหน้าชูตาในหมู่เพื่อนฝูง(เพราะอยู่ในระดับเดียวกัน)ได้ การซื้อครีมกระปุกละหลายหมื่นเพราะศรัทธาในคุณภาพ ตราสินค้า และ ที่สำคัญศรัทธาว่าจะทำให้เธอสวยและดูอ่อนเยาว์กว่าความเป็นจริง (ผมไม่ใช้คำว่าไม่แก่ เพราะความแก่เป็นความจริงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้) ซึ่งเป็นไปได้นั่นเอง เราคงเห็นว่าเครื่องรางของขลังทั้งหลายนั้นมูลค่าในการผลิตคงไมกี่สตางค์แต่ทำไมพระผงแต่ละวัดแต่ละอาจารย์จึงมีมูลค่าแตกต่างกันหลายพันลี้ ทั้งๆที่ต้นทุนการผลิตไม่แตกต่างกันเลย แน่นอนที่สุดการได้พระอาจารย์ที่มาปลุกเสกหรืออิทธิฤทธิ์ของเครื่องรางต่างหากที่ทำให้มูลค่าพระผงนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ที่สำคัญการสื่อสารการตลาดที่เข้าถึงจิตใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายก็จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสร้า “ศรัทธา” ให้เกิดขึ้น ดู “เอเอสทีวี” เป็นตัวอย่างซิครับมีทั้งเว็บไซท์ หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และ มีทีวีเป็นของตนเอง ทำให้มีแฟนพันธุ์แท้อย่างเหนียวแน่นไม่ว่าจะเป็นหัวข้ออะไรก็จะมีแฟนๆออกมาขานรับกันจำนวนหนึ่ง เพราะบริโภคข่าวสารของเอเอสทีวีกันอย่างสม่ำเสมอ นี่ก็เป็นวิธีการสร้าง”ศรัทธา” แบบหนึ่งโดยการใช้การสื่อสารการตลาดจนทำให้สินค้าของเอเอสทีวี ซึ่งเป็นสินค้าจริงเช่น ข้าวสาร เสื้อ ปลากระป๋อง กาแฟ น้ำข้าวกล้องงอก วิตามิน อาหารเสริม เครื่องเขียน ปู๋ย ถุงขยะ ฯลฯ เรียกได้ว่ามีครบทุกหมวดประมานว่าสากกะเบือยันเรือรบเลยครับ สินค้าเหล่านี้อยู่ได้ก็เพราะ “ศรัทธา” นั่นเอง
นักการตลาดทั้งหลายมีหน้าที่สร้าง “ศรัทธา”ให้เกิดในใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะในการสร้างไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ตัวสินค้าเองจะต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ว่าทำไมเขาจะต้องซื้อสินค้าของเรา ?? สินค้าเราจะให้คุณค่าอะไรเพื่อให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลูกค้าต้องจ่ายไป มีราคาที่เหมาะสม มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายให้กับลูกค้า รวมทั้งการสื่อสารการตลาดที่ครบเครื่องแบบบูรณาการ ที่ต้อง เข้าใจ เข้าถึง เข้าถี่ เข้าทุกที่ที่เธอ(ลูกค้าเป้าหมาย)ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น