วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

“อ่าน คิด วิเคราห์”

                               ปี 2556 นี้ กรุงเทพมหานครเมืองฟ้าอมรของเราได้รับการคัดเลือกให้เป็น “เมืองหนังสือโลก” โดยองค์การยูเนสโก และมีเป้าหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งการอ่าน เพราะจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่าคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 5 เล่ม เมื่อก่อนนานมากแล้วมีคนเคยกล่าวว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ 50 บรรทัด ไม่รู้ว่าสำรวด้วยวิธีการใดหรือเพียงแต่พูดประชดประชันเท่านั้น แต่จากข้อมูลว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ 5 เล่ม ผมก็อนุมานเอาได้ว่า คงจะนำมาจากจำนวนหนังสือที่ขายในแต่ละปีแล้วหารด้วยจำนวนประชากรก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้คงไม่สามารถวัดผลได้อย่างแท้จริงเพราะว่าปัจจุบัน การอ่านมิได้มีแต่เพียงการอ่านในหนังสือหรือนิตยสารเท่านั้นยังสามารถหาอ่านได้จากสืออื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ต อีบุ๊ค เป็นต้น


                            จริงอยู่การอ่านหนังสือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ได้อย่างดีวิธีหนึ่ง เพราะการอ่านนั้นเราจะต้องมีสมาธิ และต้องจินตนาการไม่เหมือนกับการฟังหรือดูเพราะสามารถเข้าใจได้เลย แต่ถ้าเราไปเดินสำรวจในร้านหนังสือต่างๆ ซึ่งหน้าร้านส่วนใหญ่จะวางหนังสืออยู่ 2 กลุ่ม คือ หนังสือใหม่ และ หนังสือขายดี / แนะนำ จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ HOW TO เสียเท่าใด เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของวิชาการล้วนๆ ไม่ก็นิยายล้วนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันจะพบว่ามีหนังสืออยู่ 2 ประเภทที่มักจะวางอยู่ในหมวดหนังสือขายดี คือประเภท ตัดกรรมและธรรมะ ซึ่งก็ต้องพิจารณาด้วยนะครับว่าอันไหนของแท้ของเทียมเพราะมีหลายเล่มทีเดียวที่มีแน้วโน้มจะเป็นของไม่แท้จริงตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า กับอีกประเภทหนึ่งคือ ใช้เงินให้ทำงาน , จากร้อยเป็นร้อยล้าน ฯลฯ คือประมาณว่าพวกส่งเสริมการลงทุน ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ ทอง ฯลฯ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดแต่อย่างใดเพราะทุกคนก็คงมองถึงความสำเร็จด้วยความมั่งคั่ง แต่ข้อเท็จจริงก็คือมีกี่คนที่มีสติเพียงพอต่อการลงทุนเพราะในหนังสือเหล่านั้น สอนแต่วิธีที่เขาทำแล้วประสบความสำเร็จซึ่งไม่ใช่สูตรสำเร็จสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วอาจจะลืมสอนให้มีสติในการลงทุนเสียด้วยซ้ำ เรามักจะพบอยู่เสมอว่าคนซื้อหุ้นตอนหุ้นขึ้น แล้วขายตอนหุ้นลง เพราะอะไรครับ แน่นอนเพราะว่าหวังกำไรระยะสั้นจากการขึ้นของหุ้นคือเห็นว่าหุ้นกำลังขึ้นก็ซื้อ แล้วขายใน 3 วัน 7 วัน อีกสิบวันมันขึ้นอีกก็กลับมาซื้ออะไรทำนองนี้ คือเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นนั่นเอง เพราะได้อ่านแต่ตอนที่เขาเล่นเล้วรวย และลงทุนอย่างไม่มีสตินั้นเอง

                                  หมายความว่าเราอ่าน แล้วไม่ได้คิด ไม่ได้วิเคราะห์ คือว่าอ่านแล้วเชื่อและทำตามเลยแม้จะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า หุ้นตัวที่เราซื้อนั้นมันทำกิจการอะไร กำไรปีละเท่าไหร่ กำไรต่อหุ้นปีละเท่าไหร่ ผลประกอบการย้อนหลังเป็นอย่างไร ที่สำคัญแนวโน้มของธุรกิจนั้นมันอยู่ในช่วงใด ขาขึ้น หรือ ขาลง และที่สำคัญจะอยู่ในช่วงขาขึ้นมาพาดหัวเราหรือเปล่า ซึ่งหลักในการเลือกซื้อหุ้นนั้นแม้ผมจะไม่ใช่เซียนหุ้น ก็อยากนำเสนอวิธีการที่ผมได้ใช้ในการเลือกซื้อหุ้นคือ EIC

              ECONOMIC ภาวะเศรษฐกิจเป็นอย่างไร เช่น ถ้าเศรษกิจดี หุ้นในกลุ่มพลังงาน ยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร ก็จะได้รับอานิสงค์ แต่ถ้าหุ้นนั้นทำธุรกิจกับ สหรัฐ ยุโรป ก็ต้องดูเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรบ

              INDUSTRIAL อุตสาหกรรมนั้นๆเป็นอย่างไร ผลิตน้ำมันปลาม์อีกไม่นานเราก็เข้าสู่ประชาคมอาเซียน น้ำมันปาล์มบ้านเราจะถูกคู่แข่งจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย เข้ามาขายตีตลาดเพราะถูกกว่า หรือราคาเราถูกกว่าและส่งไปขายเขา ซึ่งมีประชากร 200 กว่าล้านคนได้

             COMPANY ตัวองค์กร หรือผู้บริหารเป็นอย่างไร มีฝีมือ มีวิสัยทัศน์ และธรรมาภิบาลหรือไม่ เราเห็นอยู่บ่อยไปที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ล้มละลาย แต่ผู้บริหารกลับแล้วจนลืมเพื่อนฝูง

                  ก็คงเป็นหลักงายในเบื้องต้นที่จะเป็นเครื่องมือในการพิจารณาลงทุนซื้อหุ้น แต่เชื่อหัวไอ้เรื่องเถอะ เกือบจะร้อยทั้งร้อยรู้หลักและแนวคิดนี้แต่สิ่งที่ขาดคือ “สติ “ และ “และคิด วิเคราห์” นั่นเองเพราะไปเชื่อตั้งแต่อ่านจากที่ไหนก็ตาม เชื่อเขาเสียไปหมด...........

                           กลับมาเรื่องการอ่านอีกนิดหนึ่งนะครับเพราะส่วนใหญ่คิดว่า การส่งเสริมการอ่านนั้นก็แค่มีห้องสมุด หนังสือราคาถูก แต่ลืมไปอยู่อย่างว่า “นิสัยรักการอ่าน” สำคัญที่สุดต้องมีการรณรงค์กันให้รักการอ่านตั้งแต่เด็ก ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นตัวต้นเรื่องในเรื่องนี้ และจะต้องให้เขาอ่านแบบ “อ่าน คิด วิเคราห์” ไม่ใช่อ่านแบบ “อ่าน เชื่อ และงมงาย

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...