วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

“LOGISTIC ไม่ใช่แค่รับจ้างขนส่ง”



                    
                                    และแล้วพรบ.ที่อนุญาติให้กู้เงิน 2.2 ล้านๆบาทก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตกไปตามความคาดหมาย  ซึ่งคงไม่ขอก้าวล่วงว่ากระบวนการ  วิธีการ และ ข้อกฎหมาย  ใครถูกใครผิด  เพราะแต่ละฝ่ายก็มองในมุมของตนแต่เพียงอย่างเดียว  (ซึ่งก็รู้สึกว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไทยในยุคทศวรรษ 2550)    เพียงแต่ว่าจะหยิบยกประเด็นมาเสริมต่อว่าประเทศไทยจะเสียโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพี้นฐาน  และเชื่อขนมกินได้เลยว่า รฟท.หรือรถ/ไฟไทยไปไม่ถึงไหนแน่   เมื่อ 20 ปีก่อนผมเดินทางไปประเทศจีนเพื่อไปดูเครื่องจักรจำไม่ได้ว่าเมืองอะไร   แต่ต้องนั่งรถไฟไปซึ่งย่ำแย่กว่า รฟท.อีกแบบภาษาวัยรุ่นว่า ฝุด ฝุด    เวลาแค่ 20 ปี วันนี้ จีนมีรถไฟความเร็วสูงไม่รู้ว่ากีพันกิโลเมตร    มีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งในปักกิ่ง  เซียงไฮ้  กวางเจา ฯลฯ    ก็เลยมาลงที่เรื่องโลจิสติกส์ LOGISTIC   ซึ่งไม่ใช่แค่การรับจ้างขนส่งสินค้าเหมือน  บริษัทนิ่มซีเส็งจำกัด  (บริษัทรับขนส่งสินค้าที่มีเครือข่ายมากที่สุดในภาคเหนือ   เพราะคนส่วนใหญ่คิดว่าโลจิสติกส์ก็แค่รับจ้างขนส่งสินค้า  ขนาดนักศึกษาเอ็มบีเอผมคนหนึ่งผมถามว่าทำงานอะไร    คำตอบคือผมมีธุรกิจโลจิสติกส์   ที่มีรถกระบะ 2 คัน รับจ้างเป็นซัพบคอนแทรกเตอร์ขนส่งสินค้า  
 
                แล้วข้อเท็จจริงหรือความหมายของโลจิสติกส์  ก็คือ..........ระบบการจัดการ  การส่งสินค้า  ข้อมูล  และทรัพยากรต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  เป็นการผสมผสานของ  ข้อมูล  ขนส่ง  เคลื่อนย้าย  บริหารวัสดุคงคลัง  การจัดการวัตถุดิบ  หีบห่อ (ให้ปลอดภัย เหมาะสม ประหยัด)    ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันครอบคลุมทั้งระบบ  เพียงแต่การขนส่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่คนทั่วไปมองเห็นเท่านั้นเอง  เลยนึกเอาว่าโลจิสติกส์คือแค่ขนส่งเท่านั้น
                ซึ่งในระบบโลจิสติกส์นี้ถ้าเราจะสรุปให้ชัดเจนว่าการจัดการทั้งหลายนั้นทำไปเพื่ออะไร  ก็ขอสรุปว่าเป็นไปเพื่อ  3 ลด  3  เพิ่ม   อันได้แก่
                ลดค่าใช้จ่าย   ซึ่งเป็นต้นทุนของกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัย  อันได้แก่  การจัดซื้อจัดหา    การเก็บรักษา  การบริหารคลังสินค้า  การจัดการขนส่ง  ค่าขนส่งเพื่อส่งออก  (ค่าใช้จ่าย / ค่าระวางเรือ)
                ลดเวลา     และ  ลดปัญหา  คือการมีสินค้า  พอ  ทัน  และ สมบูรณ์(ถูกต้องตามสเปค)  ในเวลาที่ต้องการทั้งเพื่อการผลิต และ เมื่อลูกค้าต้องการนั่นเอง
                เพิ่มประสิทธิภาพ   เพิ่มประสิทธิผล  และ เพิ่มผลผลิต  อันจะทำให้ต้นทุนต่างๆลดลงและสามารถแข่งขันในตลาดได้นั่นเอง  ซึ่งถ้ามองจากตัวเลขในอดีต  จะเห็นได้ว่า  สหรัฐอเมริกา  มีต้นโลจิสติกส์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
                ปี 1981  ต้นทุน  คิดเป็น  16%  ของ GDP
                ผ่านไป 20 ปี ในปี 2001  ต้นทุนคิดเป็น 9% ของ GDP   ในขณะที่ EU ต้นทุนอยู่ที่ 8-9%  ของ GDP
                ส่วนประเทศไทยอันเป็นทีรักยิ่งของเรา  ลดจาก  18 % ในปี 2544  เหลือ 14% ในปี 2555   ถ้าดูจากตัวเลขนี้ก็จะเห็นว่า ตัวเลขโลจิสติกส์ไทยปัจจับันใกล้เคียงกับ สหรัฐอเมริกาในปี 1981  หรือเมื่อประมาณ 30 ปีเศษ    ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเราใช้ระบบการขนส่งทาง รางคิดเป็นแค่  2%  ทางน้ำ 10% และทางถนนสูงถึง 82%  ซึ่งทางถนนต้นทุนสูงที่สุดไม่ว่าจะเป็นค่าเชื้อเพลิง  ความรวดเร็ว ปริมาณขนส่งต่อเที่ยว  ต้นทุนต่อหน่วย
                  ในอียูนั้นระบบขนส่งทางน้ำและทางรางได้พัฒนาจนเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ  ผมเคยไปเยี่ยมโรงงานสต๊อกเฮาเซ่น  ที่เยรมันซึ่งย่านนั้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเรียกได้ว่า  หลังติดน้ำหน้าติดรางเลยทีเดียว   และตอนเดินทางไปจากดุลเซนดอฟก็นั่งรถไฟ  ปรากฏว่าทางรถไฟมีหลายช่วงเลียบขนานกับแม่น้ำาซึ่งเห็นเรืออขนส่งสินค้าอยู่ในแม่น้ำอยู่เต็มไปหมด  นึกไม่ออกก็นึกถึงเรื่อที่ขนข้าว  ขนน้ำตาลในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ล่องมาจากภาคกลางภาคเหนือนั่นแหละครับ   แต่ของเขาเรือใหญ่กว่ามากๆนั่นเอง   โลจิสติกส์ของเขานั้นสะดวก  รวดเร็ว ลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  จนต้นทุนโลจิสติกส์อยู่ที่  8-9 % ของ GDP  เท่านั้น
                 2 เรื่องสุดท้ายที่จะขอสรุปเกี่ยวกับโลจิสติกส์ก็คือ  วิธีการวัดประสิทธิภาพ และ  กิจกรรมของโลจิสติกส์   ซึ่งวิธีการวัดประสิทธิภาพมีอยู่ 5 วิธีการดังนี้
                1.วัดที่ต้นทุน 
                2.วัดที่อัตราการหมุนเวียนของสินค้า  (ต้องมีสต๊อกสินค้าพอเพียง  หมุนเวียนเร็ว  และมีสต๊อกสินค้าให้น้อยที่สุด)
          3.รอบเวลาในการขนส่ง
                4.ความพึงพอใจของลูกค้า ที่ได้รับสินค้าในเวลาที่ต้องการ และในสภาพที่สมบูรณ์
                5.ความพึงพอใจของพนักงาน และ องค์กรได้ดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้
และกิจกรรมของโลจิสติกส์ซึ่งได้กล่าวรวมๆไว้ในตอนต้นแต่จะขอสรุปในรายละเอียดดังนี้
1.    ORDER MANAGEMANT  การบริหารคำสั่งซื้อ
2.    PACKAGING  การบริหารเรื่องบรรจุภัณฑ์
3.    MATTERIAL  HANDLING การบริหารวัตถุดิบ และวัสดุสิ้นเปลือง
4.    TRANSPORTATION   การจัดการเรื่องการขนส่ง
5.    WAREHOUSE MANAGEMENT  การบริหารคลังสินค้า
6.    INVENTORY CONTROL  การบริหารสินค้าคงคลัง
7.    SUPPLYER MANAGEMENT การบริหารผู้จัดส่งวัตถุดิบ
8.    DISTRIBUTION CENTER  การบริหารและจัดการศูนย์กระจายสินค้า
9.     MANUFACTURING CONTROL การบริหารการผลิต
ซึ่งจากกิจกรรมทั้ง 9 ข้อนั้นก็จะต้องเป็นการผสมผสานกันระหว่างองค์ความรู้ทางวิศวกรรม  เพื่อวางแผนในเรื่องวัตถุดิบ  แผนผลิต     องค์ความรู้ทางบริหารธุรกิจ ในเรื่องต้นทุน  ภาษี กฎหมาย คลังสินค้า  และองค์ความรู้ทางด้านไอที  เรื่องซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์เพื่อการบริหารจัดการดังกล่าวข้างต้น
                อีกสองปีการเข้าสู่ประชามคมอาเซียนก็จะมาถึงโดยถ้ามองแค่ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยได้เปรียบทั้งทางด้าน บก  เรือ  อากาศ  เพราะตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของอาเซียน  และมีพรมแดนติดกับอีก 4 ประเทศ   แต่ว่าระบบรางของไทยเราอีก 10 ปีคงต้องตามหลัง CLMV คือ  CAMBODIA  LAOS  MYNMAR  VIETNAM   ทำใจได้ถ้ารถไฟไทยจะสู้  สิงค์โปร จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น  แต่ถ้า CLMV ละก็ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ตรงไหน   แต่ไม่เป็นไรตอนนั้นเราคงตำน้ำกินแล้ว  หรืออาจจะไม่อยู่แล้วก็ได้.............แค่สงสารลูกหลานไทยที่จะต้องไปขึ้นรถไฟไฮสปีดเทรนที่ลาวแทน   ไม่เป็นรัยนึกว่าช่วยส่งเสริมการท่องเทียงวลาวก็แล้วกันครับพี่น้อง ..........อมิตพุทธ  รฟท. ####

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...