วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

“COMMUNITY MALL ห้างข้างบ้าน”



                                    
                        วันเวลาผันผ่านทุกสิ่งย่อมแปรเปลี่ยนแปลงไป   ไม่มีอะไรอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลกระนั้นหรือ?   วันนี้มาแปลกคงไม่ใช่เรื่องของธรรมะหรือปรัชญาอะไรเพี่ยงแต่อยากจะยกตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงใกล้ตัว  ที่บางครั้งเราอาจจะมองข้ามไปสาเหตุเพราะมันอยู่ใกล้เกินไปนั่นเอง  ประมาณปี 2510 ก็ประมาณเกือบ 50 ปีที่แล้ว   การจับจ่ายใช้สอยของคนไทยโดยเฉพาะในชนบทก็เป็นไปในลักษณะดั้งเดิมที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ 60 หรือ 70 ปีก่อน   แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาการจับจ่ายใช้สอยที่เรียกว่าการค้าปลีกก็เริ่มพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป  อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเอง  เรียกได้ว่ามีพัฒนาการโดยในเมืองเราจะเห็นมีห้างสรรพสินค้า  เช่น  เซ็นทรัล  ไทยไดมารู  มาให้คนกรุงเทพได้ยลโฉมและถือเป็นความทันสมัยของเมืองกรุงที่เรียกได้ว่า  คนต่างจังหวัดเข้ามากทม.ละก็ต้องมาที่ห้างเหล่านี้เพราะมันตื่นตาตื่นใจเสียนี่กระไร   แม้การค้าปลีกในต่างจังหวัด และชนบทยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากนัก  แต่การที่มีถนนหนทางคมนามคมที่เริ่มมีการตัดถนนมากขึ้นทำให้เกิดการเดินทางมากขึ้น  แต่ก็ยังไม่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของคนในต่างจังหวัดมากนัก

                                และพัฒนาต่อมาเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่   โดยผม(คิดเห็นส่วนตัว) มองว่าเริ่มมาตั้งแต่มีเซ็นทรัลลาดพร้าว  ราวๆปี 2525  แค่ 30 ปีเศษนี้เองที่ทำให้พฤติกรรมคนในกทม.เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก   เรียกได้ว่า 20-30 ปีที่ผ่านมาทุกสัปดาห์ก็ว่าได้อาจะไปที่ห้างเหล่านี้ไม่ว่าจะเซ็นทรัล  โรบินสัน  เดอะมอลล์  พาต้า(ตอนนี้แย่แล้ว)    เปรียบเสมือนเหนึ่งเป็นที่พักผ่อนในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็ว่าได้  แต่ประมาณปี 2540 เป็นต้นมา ก็ประมาณ 10-17 ปีที่ผ่านมารูปแบบของห้างเหล่านี้ก็พัฒนาไปอีกขั้น  คือเป็นห้างขนาดเล็กลง  พื่นที่ใช้สอยไม่มากเท่าห้างใหญ่ๆก่อนหน้า  มีรูปแบบและไลฟ์สไตล์ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น   ที่สำคัญอยู่ใกล้ชุมชนที่พักอาศัย   หรือแหล่งชุมนุมของคนทำงาน มากยิ่งขึ้น   อันเป็นผลมาจากปัญหาการจราจร และ ระยะทางในการเดินทาง ตลอดจนห้างขนาดใหญ่นั้นขาดความเฉพาะเจาะจง   เราจึงเห็นห้างที่เรียกว่า  COMMUNITY MALL  ห้างข้างบ้าน”   เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมเจอร์ที่เริ่มจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็มีห้างของตัวเองโดยผนวกกับโรงภาพยนต์ที่พัฒนาระบบเสียง  ระบบฉายหนังที่จากเดิมต้องเป็นรอบ  เด็กรุ่นใหม่อาจะไม่มีประสบการณ์  คือทุกโรงจะเป็นโรงใหญ่หลายร้อยที่นั่น  และทุกโรงฉายเป็นรอบๆเช่น 10.00 13.00 16.00 น.ตายตัว ใครไปช้าก็ต้องรออีกประมาณ 3 ชมกว่าจะถึงรอบถัดไป  แต่แค่ปรับรอบฉายและโรงฉายให้มีขนาดเล็กลงก็สามารถตอบโจทย์ว่าไปเวลาใด  ก็รอไม่นานที่จะได้ชมภาพยนต์เรื่องที่เราต้องการชม    นอกจากนี้แล้วเรายังเห็นได้ว่ามีห้างข้างบ้านเกิดขึ้นตามขนาดของชุมชนและเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป   เช่น I’M PARK  ที่ตั้งอยู่ตรงสามย่านตอบโจทย์นิสิตจุฬาและชุมชนในละแวกใกล้เคียง  หรือ  THE CIRCLE  ที่เจาะชุมชนคนชัยพฤกษ์  /  PORTOCHINO  เจาะคนมหาชัย  กับ คนเดินทางลงภาคใต้ (ดูเหมือนว่าผ่านพระรามสองไปใต้ใครไม่แวะจะเป็นคนตกยุคไปนีสนุง)   และขณะนี้ก็มีการก่อสร้าง SALAYA HALL แน่นอนต้องเจาะคนศาลายา / และ ชาวมหิดล    

                                ศูนย์การค้าเหล่านี้มีเป้าหมายลูกค้าชัดเจนไม่ใช่ว่าจะเจาะลูกค้าทุกคน   เป้าหมายนอกจากในเรื่องของประชากรศาสตร์  แล้วยังมีเรื่องของภูมิศาสตร์  และ วิถีชีวิตเป็นสำคัญ  และผมก็เชื่อว่าอีกไม่นานคงกี  KAMPANGSAEN PSRK  มาตอบโจทย์ นิสิตเกษตรและชาวกำแพงแสนใกล้เคียงเป็นแน่แท่  แค่รอเวลาและจำนวนคนที่มากพอเมื่อเอยก็เมื่อนั้น...............มันมาเอง  ครับ..........COMMUNITY MALL  ห้างข้างบ้าน”  


ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...