วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

“คิดเหมือนเดิม เพิ่มเติมที่การกระทำ”



ช่วงปลายปี พ.ศ. 2558  ที่ผ่านมามีแคมเปญในเรื่อง ช๊อปปิ้งช่วยชาติโดยผู้ที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  สามารถนำยอดซื้อที่ไม่เกิน 15,000 บาท ไปคำนวณเพื่อหักภาษีส่วนบุคคลได้  จากข่าวของโฆษกรัฐบาลที่กล่าวว่ามีผู้อยู่ในระบบฐานภาษีสองล้านคน และประมาณว่ามีผู้ใช้สิทธิ์ครึ่งหนึ่ง คือ หนึ่งล้านคน  ก็จะทำให้เกิดการซื้อขายเป็นจำนวนเงิน  15,000  ล้านบาท  (หากเงินนี้หมุน 4 รอบ ก็จะทำให้เกิดมูลค่า 60,000 ล้านบาท)  ซึ่งเป็นคำตอบที่น่าสนใจแต่ผมขอตั้งข้อสังเกตุดังนี้ 
1.       ยอดเงิน 15,000  บาท  มิได้ทำไปหักภาษี 15,000 บาท เหมือนที่ประชาชนเข้าใจหรือเหมือนที่ห้างร้านต่าง ๆ โฆษณาประชาสัมพันธ์  ทั้งนี้หากดูตามตารางข้างล่างก็จะนำไปลดภาษีได้ 750 – 5,250 บาท ตามฐานรายได้ที่นำมาคำนวณเพื่อหารายได้สุทธินั่นเอง

2.      ผู้ซื้อสินค้า 15,000 บาทนั้นต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%   เป็นจำนวนเงิน 1,050 บาท  ดังนั้นคนที่ได้รับภาษีคืนแค่ 750 บาท จึงถือว่าขาดทุนเพราะจ่ายภาษีไปถึง 1,050 บาท  ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นคนส่วนใหญ่ที่เสียภาษีอยู่และมีเป็นจำนวนมาก (รายได้อยู่ระหว่าง 30,000 – 40,000 บาท)  ยกเว้นว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่จำเป็น  หรือสินค้าที่วางแผนซื้ออยู่แล้วก็รีบมาซื้อในช่วงโปรโมชั่นดังกล่าว  ตัวอย่างเช่นลูกสาวผมต้องซื้อ ทีวี ตู้เย็น  ซึ่งจริง ๆ แล้วคิดว่าจะซื้อเดือนมกราคม 2559  ก็รีบซื้อและใช้ประโยชน์จากโครงการนี้  นั่นหมายความว่าไม่ได้เพิ่มดีมานด์  เพราะเป็นการนำดีมานด์ในอนาคตมาใช้ก่อนนั่นเอง
3.      สำหรับคนที่มีรายได้สูงก็อาจจะได้ประโยชน์เต็ม ๆ คือจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,050 บาท ได้ใบลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 5,250 บาท (ดูตามตารางประกอบ)  โดยการซื้อล่วงหน้าคล้ายกับลูกสาวผมที่กล่าวในข้อ 2 หรือซื้อสินค้าอุปโภค  บริโภค  จากซุปเปอร์มาร์เก็ต ไว้ใช้ใน 3 เดือนข้างหน้า  หรือซื้อเสื้อผ้าเครื่องใช้ต่าง ๆ ล่วงหน้านั้นเอง
4.      นั่นหมายความว่าแทนที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายก็เป็นแต่เพียงนำค่าใช้จ่ายล่วงหน้ามาจ่ายในช่วงโครงการนี้เท่านั้นเสียเป็นส่วนใหญ่  ยกเว้น!!!  สินค้าบริการเพราะว่าบริการซื้อเก็บไว้ไม่ได้คือจ่ายเงินแล้วรับการบริการเลย (เพราะการซื้อคูปองล่วงหน้าไม่สามารถนำมาใช้ในโครงการนี้ได้)  ขยายความได้ว่ายอดเงินกี่หมื่นล้านก็แล้วแต่มันไม่ใช้ดีมานด์ที่แท้จริงนั่นเอง คงมีบางส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริการและร้านอาหารที่เชื่อได้ว่าเป็นดีมานด์ที่สร้างขึ้น 
5.      จะดีกว่าหรือไม่ ........ถ้า.......เปลี่ยนเป็น .........การซื้อสินค้าโอทอป  สหกรณ์การเกษตร  กลุ่มแม่บ้าน  กลุ่มเกษตรกร  ซึ่งเป็นบุคคลที่ขาดกำลังซื้อมากที่สุด  รัฐบาลอาจจะอ้างว่ากลุ่มเหล่านั้นไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม  แก้ง่ายนิดเดียวใช้ ม.44 (ขนาดยึดรถคนดื่มสุราแล้วขับยังทำได้)  โดยให้กระทรวงพานิชย์ตั้งโต๊ะประทับตราหรือออกเอกสารเพื่อนำไปลดหย่อนงานโอทอปที่เมืองทองซึ่งจัดในช่วงเวลาดังกล่าวพอดี  หรือถ้าจะให้มันระเบิดเถิดเทิงก็จัดโอทอปวีคมันทุกจังหวัดทั่วไทย  เม็ดเงินจะหมุนไปยังคนจนได้ดีที่สุดซึ่งเขาเหล่านั้นก็ย้อนกลับมาซื้อสินค้าต่าง ๆ นั่นเอง  การกระทำในลักษณะนี้เงินจะตรงไปถึงชาวบ้านโดยตรงแต่ที่ทำอยู่ปัจจุบันนั้นเงินจะไปตกกับบริษัทขนาดใหญ่ หรือบริษัทต่างชาติ  เช่น  น่าจะมีคนสำรวจว่าไปซื้อโทรศัพท์มือถือ  เครื่องใช้ไฟฟ้า  สินค้าฟุ่มเฟือย  ซึ่งเงินหล่านี้ก็จะไปตกกับต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่   เอ.....ลุงตู่ โดนพ่อค้ารายใหญ่...หลอกเอา อะป่าว....คริๆๆๆ

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มิใช่ว่าโครงการนี้ไม่ดีแต่จะดียิ่งขึ้นถ้าผลมันเกิดกับคนในชนบท  หรือคนมีรายได้น้อยมากกว่าในเมือง  หรือคนมีรายได้มาก  หรือห้างร้านขนาดใหญ่  นั่นเอง..........ก็แค่...........

คิดเหมือนเดิม เพิ่มเติมที่การกระทำ

น่าตั้งให้ผมเป็นรัฐมนตรี  ชิมิ...ชิมะ...!!!!!  ลุงตุ่....


ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...