หัวข้อวันนี้ดูเหมือนจะเป็นนามธรรมมากๆและไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับ”ธรรมะ” เพราะว่าผมเป็นคนห่างวัด(พอสมควร)
แต่สืบเนื่องจากมีโอกาสได้ไปเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ รายการ”รู้เท่ารู้ทัน” ทางไทยพีบีเอสมาแล้วสามครั้ง
และคงได้มีโอกาสไปร่วมเป็นระยะตามแต่หัวข้อสนทนาจะเหมาะกับองค์ความรู้ที่เรามี โดยหลักก็คือไปเป็นผู้รุ่วมสนทนาประเด็นต่างๆที่เป็นที่น่าสนใจในแต่ละช่วงเวลาของสังคมไทย อันนี้ขอบอกว่าเป็นความฝันของผมที่เป็นไปตามหลักทฤษฎึของแมสโลว์ ลำดับขั้นที่ 5 คือ Self-actualization คือความสมบูรณ์ของชีวิต
ซึ่งหมายถึง“อะไรที่บุคคลเป็นได้
เขาต้องเป็น” (“What a man can be, he must be.”) เป็นคำกล่าวของมาสโลว์ที่สรุปความหมายของความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตไว้
ความต้องการนี้ เกี่ยวกับ ศักยภาพสูงสุดของบุคคล และ การตระหนักถึงศักยภาพนั้น มาสโลว์อธิบายว่านี้คือความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นมากกว่าที่เขาเป็นอยู่
เป็นความปรารถนาที่จะเป็นทุกๆอย่างที่เขาจะสามารถเป็นได้ (อ้างอิง วิกิพีเดีย :
ลำดับขั้นความต้องการของแมสโลว) แต่สำหรับผมแปลง่ายๆก็คือ “ความอยากอันสูงสุด”
อิออออ
ต้องขอบคุณน้องแจ้ส ปุณชนิกา
ช่วยนุกิจ จากไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นรุ่นน้องที่สามเสนวิทยาลัยที่ให้เกียรติและตาถึง
(หรือปล่าวไม่รู้ 555 ) ที่ได้ชวนให้มาเป็นผู้ร่วมรายการ “รู้เท่ารู้ทัน” รู้ไปด้วยกันกับไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นรายการสดไม่มีเทคสอง เทคสาม
อะไรจะเกิดก็ต้องจัดไปแก้ไขไปตามสถานการณ์
น้องป้างซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการหลักเก่งมากทั้งๆที่ประสบการณ์อาจจะไม่มากเพราะดูจากอายุอานามแล้ว
(สงสัยเราจะแก่จริงๆ) ปกติไปรายการอื่นๆที่เคยมีประสบการณ์ในการออกทีวีอยู่บ้าง
ก็มักจะเป็นรายการที่บันทึกเทปสามารถตัดต่อและแก้ไขได้ แต่เมื่อเป็นรายการสดนั้น แถมมีรายการทุกวัน จันทร์-ศุกร์ ด้วยแล้ว ต้องขอบอกว่าน้องแจ้สและทีมงานยอดเยี่ยมจริงๆ
ทำให้เห็นภาพว่าแท้จริงแล้วความสำเร็จของรายการนั้นแน่นอนผู้ดำเนินรายการซึ่งเป็นฉากหน้าของสินค้าตัวนี้
ถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนพนักงานขายที่เป็นผู้บรรยาย
แนะนำสินค้าให้กับลูกค้าก็คือคนดู
ต้องมีความสามารถอย่างสูงเพรียบพร้อมไปด้วยทักษะและไหวพริบ
แต่ใครจะหารู้ไม่ว่าทีมงานเบื้องหลังก็มีความสำคัญ ไม่ใช่แค่ไม่น้อย แต่
น่าจะสำคัญเท่าๆกันเรย
ไม่ว่าจะเป็นทีม ข้อมูล
ประสานงาน สคริป เนื้อหา
คอมพิวเตอร์กราฟฟิค ช่างกล้อง ผู้กำกับเวที
แสง เสียง แต่งหน้าทำผม ฯลฯ ก็เปรีบเสมือนกับ ฝ่ายผลิต
ฝ่ายบริการลูกค้า บรรจุ ขนส่ง การเงิน บัญชี สื่อสารองค์กร ลูกค้าสัมพันธ์ ฯลฯ
ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่จะสนับสนุนให้การสินค้านั้นขายได้ และ ทำให้พนักงานขาย “ขายสินค้า” ได้ นั่นเอง
ดังนั้นในการบริหารองค์กรก็อย่าเพียงแต่ให้ความสำคัญกับด่านหน้า หรือ ขุนพล
ในด้านการขายการตลาดแต่เพียงอย่างเดียว
ต้องเห็นความสำคัญ ให้โอกาส ให้รางวัล
ชมเชย หรือแม้แต่กล่าวถึง
เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับทีมเบื้องหลัง ทีมสนับสนุน
ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้ขุนพลนั้นรบชนะในสมรภูมิรบทางธุรกิจที่เข้มข้น แล้วคุณจะเห็นว่าองค์กรไหลลื่นและประสบความสำเร็จมากขึ้นเพราะ โค้ช หรือ ผู้จัดการ
เห็นความสำคัญของผู้เล่นทุกตัว
ทั้งที่อยู่ในสนามและตัวสำรองที่นั่งอยู่ขอบสนามเพราะเป็นตัวตามตัวแทน
หรือตัวแปลี่ยนเกมส์ได้เรยครับ