ในที่สุดโครงการสวัสดิการแห่งรัฐของรัฐบาลลุงตู่ ก็สำเร็จเป็นรูปร่างจะเริ่มแจกบัตรและใช้สิทธิในบัตรได้ตั้งแต่
1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป แม้ว่าจะมีคนมาลงทะเบียนถึง 14 ล้านคนเศษ ตรวจสอบแล้วมีคุณสมบัติครบ 11.6 ล้านคน แถมมี ป.โท ป.เอก จบ ดร. มาสมัคร 6000
กว่าคน โอ้ยจะจนได้อย่างไรกันมีทุนเรียนถึง
ป.โท ป.เอก น่าจะจับมาประจานให้มันรู้แล้วรู้รอด
ความจริงตอนลงทะเบียนน่าจะมีระเบียบว่าใครกรอกข้อความเป็นเท็จจะต้องถูกลงโทษเหมือนแจ้งความเท็จ ก็จะสามารถสกรีนคนที่ไม่จนจริงออกไปได้อีก ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่า ใน 11.6 ล้านคนนั้น
น่าจะจนไม่จริงอีกไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน
“ครม.ไฟเขียวโครงการ
“ประชารัฐ”
สวัสดิการช่วยเหลือคนจนที่ลงทะเบียน นำบัตรสวัสดิการไปซื้อสินค้า
คนที่รายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี จะได้300 บาท/เดือ คนรายได้ 3 หมื่น-1 แสนบาทต่อปี จะได้เดือนละ 200 บาท รวมทั้งได้ส่วนลดค่าซื้อแก๊สหุงต้ม 45 บาทต่อคนต่อ
3 เดือน ได้วงเงินขึ้นรถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า อย่างละ 500 บาทต่อเดือนเผยบัตรคนต่างจังหวัดใช้ขึ้นรถเมล์
รถไฟฟ้าไม่ได้ (https://www.thairath.co.th/content/1054220)
อ่านข่าวนี้แล้วต้องอุทาน “อุต๊ะ คิดได้งัย” ไม่น่าเชื่อว่าระดับมันสมองอย่าง ดร.สมคิด
และทีมงานจะคิดได้แค่นี้ เพราะมันมีจุดอ่อนมากมายและต้องลงทุนอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายก่ายกอง เพราะตามข่าวว่าจะเป็นบัตรสมาร์ทการ์ด โดยตามผมมาจะวิเคราะห์ให้เป็นข้อๆ
แถมข้อเสนอจากมันสมองอันน้อยนิดของคนธรรมดาๆคนหนึ่ง
1.ทำไมส่วนลดค่าแก๊สหุงต้ม 45
บาทต่อสามเดือน ก็คือเดือนละ 15
บาทต่อเดือน แล้วคนที่ไม่ได้ใช้แก้สหุงต้มก็ไม่ได้สิทธิ์
(น่าจะมีอยู่มากคน เช่นคนในชนบท
พวกที่อยู่บ้านเช่าส่วนหนึ่ง พวกที่ไม่ได้ทำอาหารเองอีกส่วนหนึ่ง) แล้วจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าเอาไปซื้อส่วนลด 45
บาท/3เดือน
แสดงว่าร้านขายแก้สทั้งหลายต้องออนไลน์หรือเปล่า ?? ถ้างั้นทำไมเพิ่มเงินในบัตร จาก 200 เป็น 215 บาทจะง่ายกว่ามั้ย วัยรุ่นงง...............เพิ่มเงินตรงนี้ก็เหมือนกับให้ตังไปซื้อ/จับจ่ายใช้สอยนั่นเอง
2.บัตรที่ว่าเติมเงินให้ทุกเดือนนั้น จะสามารถนำไปซื้อของได้ที่ร้านประชารัฐ
หรือร้านธงฟ้า อ้าว.....แล้วที่อำเภอผมไม่มีร้านดังกล่าวละครับ........ หรือมีแต่อยู่ไกลมาก .......ละละ
3.แล้วร้านธงฟ้า หรือ
ร้านประชารัฐนั้น ต้องมีเครื่องรูด หรือ
เครื่องอ่านและตัดบัตรหรือไม่ ซื่งอธิบดีก็ออกมาแถลงแล้ว ต้องซื้อเครื่องอ่านบัตร อีซีดี แล้วต้องลงทุนอีกเท่าใด ??? เอางบมาละลายน้ำเล่น....
4.วงเงินขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้า
รถไฟ ...... มันก็เป็นสิทธิที่คนกรุงเทพจะได้เป็นส่วนใหญ่ แล้วถามต่อว่า
แล้วรถเมล์ กับระไฟ ต้องมีเครื่องอ่านบัตร
แบบรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือไม่.....
ถ้าไม่มีแล้วต้องซื้อเครื่องอ่านติดรถเมล์ทุกคันหรือไม่ โอ้ย
แค่คิด ก็ปวดหัว.............
ไม่แค่พร่ำบ่น แต่ผมมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในทำนองเดียวกัน ไม่กล้าเคลมว่าน่าจะเป็นข้อเสนอที่ดีกว่า................เอาละสมมุติว่าตั้งตัวเลขไว้ที่
46,600
ล้านบาทต่อปี หรือ หัวละเท่าใดก็ตาม หารออกมาเป็นวงเงินต่อคนต่อปีได้เท่าใด
แล้วให้รัฐ ไปซื้อของจาก โอท้อป วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร ฯลฯ ที่เป็นคนในชนบท โดยซื้อในราคาตลาด แล้วนำมาแพคเป็นถุงยังชีพแจกเป็นรายเดือน ที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคนในภาคใดก่จะได้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนในภาคนั้นๆ
คุณูปการจะเกิดแก่ ชุมชน
คนรากหญ้า
เต็มวงเงินที่รัฐจัดให้ แถม
ผู้ผลิตก็สามารถมีรายได้
มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 46,000 ล้านต่อปี คิดเป็นกี่ %
ของจีดีพี ต้องไปถามนักเศรษฐศาสตร์ ไม่ต้อซื้อเครื่องอ่านบัตรอีซีดี....... เฮ้อ
เหนื่อยใจ...............