อาชีพ
“นักขาย” ใครๆก็เป็นได้ แต่ว่าจะเป็นแล้วให้ประสบความสำเร็จ คงมีองค์ประกอบที่ต้องใช้ในการพัฒนาทักษะ และ ต้องมีมุมมองของนักขายแบบมืออาชีพ
สำหรับน้องใหม่ในวงการนักขายมักจะถูกปลูกฝังว่าให้ปิดการขายในครั้งแรกที่พบกัน จริงอยู่มันเป็นความท้าทายที่มีความเสี่ยงพอสมควรทีเดียว
เพราะว่าการจะปิดการขายได้ในครั้งแรกที่พบกันนั้นอาจจะประสบความสำเร็จ สำหรับสินค้าที่ “นักขาย” เป็นแค่ “ผู้ให้บริการ”
เท่านั้น เช่น ขายของในเซเว่น ขายข้าวแกง
ขายอาหาร ฯลฯ ที่เรียกว่าคนซื้อพร้อมที่จะซื้ออยู่แล้ว เพียงแต่เข้ามาเลือกสี ขนาด
ฯลฯ นักขายจึงเป็นแต่เพียงผู้บริการในการขายเท่านั้น คือทำให้ลูกค้าประทับใจในบริการ มิต้องใช้ทักษะในการขายเสียเท่าใด อาจจะมีมีบ้างที่คอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ
แต่มีสินค้าบางประเภทที่นักขายจำเป็นต้องใช้ทักษะ ความชำนาญ
และการสังเกตุ ว่ามี “สัญญาณซื้อ” หรือไม่
ถ้ายังก็อย่าเพิ่งรีบปิดการขาย
หรือลูกค้าเพียงแต่เดินเข้ามาเล่นๆ
สอบถามข้อมูล ก็จะพยายามปิดการขายอยู่นั่นแหละ
หรือแม้แต่บางครั้งลูกค้าตั้งใจมาซื้ออยู่แล้วเพียงแต่รอเปรียบเทียบกับอีกยี่ห้อหน่อย ก็พยายามปิดการขายให้ได้ โดยที่ไม่สังเกตุสัญญาณการซื้อหรือ
ดูว่าลูกค้ามีความรำคาญหรือไม่ในบทสนทนาที่กำลังดำเนินการอยู่ จะขอยกตัวอย่างเรื่องจริงสุดๆที่เกิดเมื่อวานนี้
.......น้องเค้ารีบมากๆจนลืมการดูแลลูกค้าให้เป็นลูกค้าถาวร.......เรื่องมีอยู่ว่า
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมตั้งใจว่าจะไปสมัครเป็นสมาชิกฟิตเนสแห่งหนึ่งที่เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ
เพราะอยากกลับไปเล่นโยคะอีกครั้งหนึ่ง
เนื่องจากการวิ่งมากๆแล้วหัวเข่ามันเจ็บก็เลยจะกลับมาเล่นโยคะเพราะคงเหมาะกับอายุเรามากว่า นินิ
พอนั่งลงปุ๊บน้องเค้าถามว่า
“พี่สนใจสมัครแบบไหนดีคะ”
โอ้ว ยังไม่แนะนำสินค้าเรย จะปิดการขายซะแระ ปิดครั้งที่ 1
เรา “ โยคะมีวันละกี่คลาส” เธอ
ก็ตอบโน่นนั่นนี่ ไม่ตรงประเด็นซักที เราเองก็บอกว่า “บ้านอยู่ตรงข้ามนี่เอง
(คือแนวโน้มน่าจะสมัครที่นี่แน่ๆเพราะเดินเข้ามาเอง
ไม่ใช่มาจากโปรโมชั่นใดๆทั้งสิ้น ) “ ไม่เป็นรัยอาจจะเป็นน้องใหม่ เมื่อก่อนน้าก็เป็นแบบนี้แหละ
น้อง
“ พี่เล่นโยคะมานานหรือยัง “ “เล่นที่ไหน
“ เล่นได้ระดับใดแล้ว “ โอ้ย
ฟังน้าพูดก่อนดิ
เพราะเธอยิ่งคำถามมาในขณะที่เรา พยายามจะสอบถามว่า รายละเอียดเกี่ยวกับคลาสโยคะ เกี่ยวกับสาขา และ อัตราค่าสมาชิก นักขายต้องฟังให้มากกว่าพูดและรอพูดในโอกาสที่ลูกค้าอยากฟัง อิอิ......
น้อง
“ อัตราค่าสมาชิกมีแบบ 5 เดือน
ราคา......12 เดือน ราคา.......จ่ายตัดบัครเครดิตรายเดือน บลา ๆๆๆ
“
ยังไม่ทันจะถามว่า “มีค่าแรกเข้าหรือไม่
(เห็นมีอยู่ในโบรชัวร์) “
น้อง “แต่ถ้าตัดสินใจวันนี้นะคะ หนูคิดค่าแรกเข้าแค่ ...... (ลดไปบานตะไทคะ) “
เรา
......ก็ถามโน่นนี่นั่นไปเรื่อย ๆ
เพราะมีความสงสัยอะไรประมานนี้
ซึ่งเดิมตั้งใจมาสมัครเรยนะนี่ แต่เจอการขายแบบนี้ เลยบอกไปว่า
“ เดี๋ยวขอไปดูรายละเอียดของ
ฟิตเนส....ที่รัชโยธินก่อนค่อยตัดสินใจ”
น้อง
“
ได้คะ.....งั้นเชิญศึกษารายละเอียดนะคะ
หนู ...ขอตัวก่อน “
อุแม่เจ้า ......การที่เราไม่ตัดสินใจซื้อในวันนี้นี่เป็นความผิดของเรา ถึงขนาดที่เธอจะจากไปอย่างไม่ใยดีเรยเหรอ
แล้วเธอก็เอาโบรชัวร์ที่มีรายละเอียดที่คุยกัน มีการเขียนราคา โปรโมชั่นไปด้วย หายเข้าไปด้านหลัง
เราก็นึกขึ้นได้ว่าไม่ได้จดอะไรไว้เลยจึงเข้าไปขอเอกสารโบรชัวร์อันนั้นเก็บไว้ไปเปรียบเทียบ
น้อง “
อันนี้ให้ไม่ได้คะ
หนูต้องเก็บไว้เป็นข้อมูล”
เรา
“ แน่ใจเหรอ !! งั้นพี่ขออันที่ยังไม่ได้เขียนอะไรก็ได้ เพราะคิดว่าทางฟิตเนสคงแจกให้นะครับ”
น้อง
หายเข้าใบในห้องแล้วก็หยิบใบที่เธอบอกว่าให้ไม่ได้ต้องเก็บไว้เป็นข้อมูลมาให้เรา.............
จบข่าว.......................แม้เราจะเป็นสมาชิกที่ฟิตเนสนี้ก็คงไม่สมัครกับ ....นาง....เป็นแน่
เพราะนางคงไม่ดูแลเราหลังจากจบการขายเป็นแน่แท้ นางมองแต่ประโยชน์ที่นางจะได้รับจากการขายเพียงอย่างเดียว
อย่าลืมว่า .....ไม่ซื้อวันนี้ ....อาจซื้อวันหน้า...... ไม่รู้ใครสอนน้องมาให้รีบปิดการขาย และ ไม่สนใจลูกค้าถ้าดูแล้วว่า “คงไม่ซื้อวันนี้”
...........................เค้าอาจจะซื้อ
“วันหน้าก็ได้นะนู๋”
อ้อ.................และถ้าน้าจะไปสมัครที่นี่ น้าก็
“ไม่สมัครกับนู๋ นะจะบอกให้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น