วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

“เวียดนามตามไทย......และแซงไปได้ ???”



                การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2560 คาดกันว่าน่าจะอยู่ที่ ไม่น้อยกว่า 6.0 %   และคาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในปี 2559 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 6.2 ลดลงจากปี 2558 ที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 6.7   โดยคาการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของ GDP จะเพิ่มสูงขึ้นในปี 2560 – 2561 โดยเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี   การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามได้แรงส่งจากภาคการผลิตและการส่งออกที่แข็งแกร่ง รวมถึงสินเชื่อในประเทศที่โตต่อเนื่องและการฟื้นตัวของภาคเกษตร การส่งออกยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องจากการที่สินค้าส่งออกของเวียดนามสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกเนื่องจากต้นทุนค่าแรงที่ถูก สินค้ามีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะได้รับผลกระทบจากการยกเลิกการผลิตมือถือรุ่น Galaxy Note 7 ของบริษัทซัมซุงจากปัญหาแบตเตอรี่ระเบิดก็ตาม     (ศูนย์ข้อมูลข่าสารอาเซียน  กรมประชาสัมพันธ์)
                นั่นเป็นการคาดการณ์ตามมุมมองทางวิชาการและในมุมมองของราชการ  แต่ในฐานะที่ผมเดินทางไปเวียดนาม (โฮจิมินท์)  มาตั้งแต่ปี 2000  นับเป็นเวลา 18 ปี ไม่น้อยกว่า  25 ครั้ง  (มีไปฮานอย 5-6 ครั้ง)  ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  และ วิถีชีวิตของชาวเวียดนาม (ที่อยู่ในเมือง)  พอสมควร  การพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนามมีความต่อเนื่อง  และราบรื่นแม้ในยามที่ภาวะเศษฐกิจโลกตกต่ำ  เวียดนามซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนอยู่ไม่น้อย  ก็ยังรักษาระดับการเติบโตได้อย่างน่าพอใจแม้จะต่ำกว่าเป้าหมายไปบ้างก็ตาม
                เมื่อต้นปีผมได้มีโอกาสครั้งแรกที่ไปเยือนเวีดนามในฐานะนักท่องเที่ยว  ที่เมืองซาป  และ นิงบินท์  โดยเดินท่างไปกับเพื่อนักเรียนเก่าสามเสนวิทยาลัย  ห้อง 5/4  รุ่น 22  ที่คบกันมาตั้งแต่ 2519 เป็นเวลา 41 ปี  ก็สนุกสนานกันแบบเพื่อนที่รู้ใจมึงมาพาโวย  คุยกัน  หัวเราะกัน  สนุกสนานกัน นึกถึงวันเก่าๆ    แต่สิ่งที่ผมสังเกตุได้คือการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวในเวียดนาม  ซึ่งผมเชื่อว่าคงศึกษามาจากไทยเป็นต้นแบบได้อย่างหนึ่ง  อัตรานักท่องเที่ยวเวียดนามเติบต่ออย่างต่อเนื่องเมื่อก่อนมีไฟท์บินไป  โฮจิมนท์และ ฮานอยไม่กี่เที่ยวบิน  แต่ปัจจุบันนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่องทุกปี  ยิ่งสายการบินต้นทุนต่ำเติบโตก็ยิ่งทำให้เกิดโอกาสการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   แบบว่าใครๆก็บินได้ตามสโลแกนของไทยแอร์เอเชียเค้าทำให้ค่าทัวร์หมื่นต้นๆ  ใครๆก็ไปเวียดนาม / พม่า  เพราะมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่มากทีเดียว  อันนี้หมายถึงนักท่องเที่ยวไทย  คงไม่ต้องพูดถึงนักท่องเทียวยุโรปที่เวีดยนามเป็นสิ่งที่น่าค้นหา เพราะตั้งแต่เหนือจรดใต้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเพราะ เวียดนามเป็นประเทศที่ยาวมากจากเหนือสุดถึงไต้สุดมีความยาวถึง 1,650 กม.  พื้นที่มีทรัพยากรและป่าไม้อยู่มากมาย   เป็นหนึ่งในสิบหกประเทศทั่วโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด อีกทั้งมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่หลากหลาย มีแม่น้ำไหลผ่านหุบเขาและที่ราบมากกว่า 2,800 สาย โดยเป็นแม่น้ำที่มีความยาวมากกว่า 10 กิโลเมตรกว่า 2,300 สาย มีพื้นที่ป่าเขตร้อนมากถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ รวมถึงป่าชายเลนที่มีพื้นที่ประมาณ 2 แสนเฮกตาร์ (1.25 ล้านไร่) โดยมีพันธุ์ไม้ 13, 000 ชนิด มีรุกขชาติมากกว่า 7,000 ชนิด แบ่งเป็น 239 สายพันธุ์    ที่ยังรอการพัฒนาอยู่อีกมากที่สำคัญคนเวียดนามมีความอดทน และมุมานะ  วิ่งสู้ฟัดสูงมาก  ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นผลมาจากภาวะสงครามที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมดังกล่าว   เราลองดูประเทศที่ผ่านสงครามกลางเมืองมาแล้ว  ไม่ว่าเยรมันนี  เกาหลี  เวียดนาม  หรือแม้แต่ญี่ปุ่นที่สมัยสงครามโลกก็ถูกถล่มจนแทบไม่เหลืออะไร  แต่ประเทศเหล่านั้นกลับมาผงาดในเวทีโลได้   ซึ่งผมเชื่อว่าเวียดนามจะตามสองสามประเทศดังกล่าว  แม้ไม่อาจจะเจริญเติบโตเท่าก็ตาม   แต่ตาม..................และแซงเราได้อย่างแน่อน..............คิดแล้วเศร้า !!!!!!!
                ที่สำคัญไปกว่านั้น  จำนวนประชากรที่มีมากถึง  89 ล้านคน  มีอัตราการเกิด  1.96  ต่อผู้หญิงหนึ่งคน(ข้อมูล ณ.2558  วิกิพีเดีย )   แต่โครงสร้างประชากรของเวียดนาม  มีประชากรในวัยที่สามารถทำงานได้ถึง  67 %  ที่อายุระหว่าง  15-65  ปี    โดยมี อัตราผู้สูงอายุที่มากกว่า 65 ปี แค่ 6 % (สงสัยตายไประหว่างสงครามเวียดนามแยะมาก)    และมีประชากรเด็ก 0-14 ปี ถึง 27 %   นั่นหมายถึงสามารถสร้างผลผลิตและสร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ  ได้อย่างต่อเนื่องไปอีกหลายสิบปี     ในขณะที่ประเทศไทยมีการคาดประมาณว่าในปี 2564 จะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 20 และปี 2574 จะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28  โอมายก๊อต  OMG   เราเองก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย   .....55555555
                จากข้อมูลของ  THE LONG LIFE VIEW  พบว่าประเทศไทยในปี 2593 อันดับการเติบโตของจีดีพีจะแพ้  ทั้งเวียดนาม  ฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ตกจาก อันดับที่ 20 ในปี 2559  เป็น  อันดับที่ 25 ในปี 2593 (ผมน่าจะตายไปแล้ว  555)   ในขณะที่เวียดนามจะปรับจาก อันดับที่ 32  เป็นอันดับที่ 20  แทนประเทศไทย


   
                ผมตั้งข้อสังเกตุว่าเหตุใดประเทศเราถึงจะแพ้ประเทศทั้งสี่ข้างต้นนั้นดังนี้
                1.อุปนิสัยของคนไทย   ชอบสบายแบบเบิร์ดๆ    คนรุ่นใหม่ๆเติบโตมาอย่างสุขสบาย  (รวมทั้งลูกผมด้วย)  หรือเราเลี้ยงลูกผิดด้วยความรักอยากให้เขาสบายๆ  เลยกลายเป็นปลูกอุปนิสัยรักสบาย  ไม่สู้ไม่อดทน  เราจะเห็นได้จากเราขาดแรงงาน ต้องจ้างแรงงานต่างด้าวถึง 3-4 ล้านคน  แต่คนไทยไปลงทะเบียนคนจนถึง 11.4 ล้านคน  เนื่องจากรายได้ไม่ถึง 100,000 บาทต่อคน  ซึ่งถ้าทำงานแรงงานรายวัน 300 บาท  ก็จะไม่อยู่ในเกณฑ์นี้
                2.การเมืองการปกครองเราไม่นิ่ง  มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  โดยแค่เปลี่ยนกลุ่มผู้มีอำนาจ ที่ผลัดกันเขามาแสวงหาประโยชน์   ขาดวิสัยทัศน์ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความยั่งยื่น 
                3.แม้เราจะมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่ไม่น้อยแต่จาก 50 ปีที่ผ่านมา  ขาดการบริหารจัดการ และแบ่งปันที่ไม่เหมาะสม   
                และพวกเรากันเองไม่กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการจับจ่ายใช้สอยในประเทศเรามุ่งเน้นที่การส่งออกมากไปใน 20-30 ปีที่ผ่านมา  แม้ตอนนี้จะพยายามสร้างเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มการบริโภคในประเทศแต่ก็ติดขัดด้วยราคาพืชผลการเกษตรมันตกต่ำ  (เป็นไปตามภาวะ เศรษฐกิจของโลก)  ทั้งๆที่ทุกรัฐบาลก็มีนโยบายในการกำหนดพื้นที่เพาะปลูก (เพื่อควบคุมซัพพลายให้เหมาะสม)   แต่ก็ทำไม่สำเร็จซักรัฐบาลแม้แต่รัฐบาลลุงตู่  
และที่พวกเราไม่ค่อยใช้สอยกันในประเทศ   ก็เพราะเรามีเพื่อนให้ยืมไม่ต้องซื้อเพื่อมาบริโภคเอง   เพราะแม้แต่  นาฬิกา  ยังยืมเพื่อน  แหวน  ก็รอแม่ให้  เศรษฐกิจเรยไม่หมุนเวียนงัยครับ    อ้าว......มาลงตรงนี้ได้งัย...ง่า...อุ๊ปส์...!!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...