วงจรเศรษฐกิจดูเหมือนว่ามันจะมีวงรอบ 10 / 20 ปี
หรือไม่เป็นข้อสังเกตุที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้เคยปรารภไว้
ซึ่งก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่ห่างไกลจากข้อสังเกตุนั้นเสียทีเดียว ลองมาดูย้อนไปซัก 40 – 50 ปี เราก็จะพบว่าในปี
2520
เศรษฐกิจของไทยเราหยุดชะงักเพราะปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงจนกระทบกับต้นทุนการผลิตอย่างแรง เพราะในช่วงปี
2500-2520
ประเทศไทยอยู่ในยุคพัฒนาอุตสาหกรรมและส่งเสริมการส่งออกเป็นหลัก และอีกครั้งหนึ่งในปี 2540 ภาวะวิกฤตต้มยำกุ้ง
และการลดค่าเงินบาท ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆล้มระเนระนาด และพอมาถึง พ.ศ.2560 ก็มีภาวะเศรษฐกิจทรงตัว
ถดถอยทั่วโลก
หรืออย่างน้อยที่สุดเติบโตช้า
ลามมาถึงปี 2563
ที่ปรมาจารย์หลายท่านส่งสัญญาณว่า
เผาจริง ตายจริง ฟุบจริง
ไม่ใช่นิยายแต่เป็นของจริงที่เราต้องเตรียมรับมือ ปรับตัว
เพื่อความอยู่รอดให้ได้แบบแมลงสาบ
อย่าทำตัวแบบไดโนเสาร์ใหญ่โตแต่ไม่ปรับตัวในที่สุดก็สูญพันธุ์
คำถามว่า “เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ………….ก็คงจะมีหลายสาเหตุ
เพราะหลายประเทศก็ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็น
เวียดนาม อินโดนีเซีย ซึ่งพอจะรวบรวมปัญหาของประเทศไทยมาไว้ (พร้อมทั้งข้อคิดเห็นในการปรับแก้ )
1.การศึกษา ส่งเสริมให้มีการเรียนในระดับ ปริญญาจนล้นเมือง
ทั้ง ตรี
โท เอก เราเห็นคนทำงานต่ำกว่าวุฒิมากมาย นอกจากนั้นแล้วการเรียนการสอนที่มุ่งแต่จะให้ท่องจำ
ข้อสอบคำขวัญวันเด็กแต่ละปีเป็นตัวอย่างที่คลาสสิคที่สุดจำไปเพื่อ.....?
ปีหน้าก็เปลี่ยนแล้ว ค่านิยม 12 ประการ
ไม่รู้ว่าวันนี้คนออกค่านิยมจำได้ถึงครึ่งหรือไม่ มีสถาบันอุดมศึกษาในทุกสังกัด รวม 310 แห่ง(รวมวิทยาเขตต่างๆ) จำนวนนักศึกษาเกือบ
2 ล้านคน แต่ในขณะที่สายอาชีวะ สถาบันของรัฐ
429 แห่ง ของเอกชน 482 แห่ง นักศึกษารวม แค่
1 ล้าน คือประมาณว่าเราผลิตระดับปริญญาเป็นสองเท่าของสายอาชีวะ ในขณะที่มีแต่ รมต.และ
ปลัดที่พร่ำบ่นว่าอาชีวะขาดแคลน
แก้อย่างไร.....ง่ายนิดเดียว
เปิดรับระดับปริญญาให้น้อยลง
เพิ่มระดับอาชีวะ.....จบข่าว
ทำไมทำไม่ได้ ???? ลดระดับ ม.ปลาย ลง เพิ่มอาชีวะระดับ ปวช. ปวส.
แทน ทำไมทำไม่ได้ ??? ที่สำคัญไปกว่านั้นระบบการเรียนการสอนการประเมินผลที่ต้องให้ผู้เรียนมีความคิด มีประสบการณ์
การเรียนร่วมและทำงานที่เรียกว่า “ทวิภาคี”
ซึ่งมีหลายสถาบันได้ดำเนินการอยู่แล้วต้องทำให้เข้มข้นขึ้น ที่สำคัญลดการผลิตระดับปริญญาให้ได้
2.แรงงาน ปี 2563 นี้คนวัย 60 มีถึง 12 ล้านคนแล้วคิดเป็น
18% ในขณะที่คนในวัยทำงาน
มีอยู่ประมาณ 40 ล้านคนเศษ
ที่สำคัญไม่ยอมทำงานอีกต่างหากเรียกได้ว่าว่างงานแบบสมัคใจ พม่า ลาว เขมร ถึงเต็มบ้านเต็มเมือง ประกาศหาแม่บ้าน ให้เงินเดือน 12,000
ยังไม่มีคนไทยมาสมัครทำงานเรย
เพราะชอบอิสระ
3.สินค้าเกษตร มีราคาตกต่ำที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะหลายปัจจัย ปัจจัยที่สำคัญคือกำลังซื้อที่ลดลง และต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน นี่ยังไม่นับภัยพิบัติที่ประเทศเรามีน้อยที่สุดก็ว่าได้สำหรับภัยพิบัติที่ไม่อาจบริหารจัดการได้ แต่ที่บริหารจัดการได้ก็ไม่ได้บริหาร หรือ บริหารไม่เป็น ดูแค่ภัยแล้งปี 2563 นี่ก็จะเห็นได้ชัด แถมเราคุยกันมาตั้งแต่ผมจำความได้ว่า “เราต้องแบ่งโซนนิ่ง” บริหารจัดการผลผลิตให้พอดีกับความต้องการของตลาด ผ่านมา 40 ปียังไปไม่ถึงไหน ทั้งที่ประเทศไทย ดินดี น้ำดี (ยกเว้นบางช่วงเวลาที่ท่วมบ้า แล้ง บ้าง)
พัฒนาต้นทุนการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตให้สรุปได้ว่ามีต้นทุนที่แข่งขันได้กับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
4.ค่าแรงที่สูงอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นเหตุปัจจัยเร่งเสริมแต่หากเราได้ผลผลิตที่สูงกว่า ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่า
ปัจจัยปัญหาค่าแรงก็จะไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด
5.ผู้บริหาร รัฐบาล
ที่มีวิสัยทัศน์ ทำงานเป็นทีม เพราะที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ถึงความขัดแย้งลงลึกไปถึงทุกระดับ และจะคงอยู่ไปอีกตราบนานเท่านาน
6.ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรและ
ความเหลื่อมล้ำ ยิ่งพัฒนา ยิ่งแย่ลง
จนวันหนึ่งจะเกิดวิสัญญีในประเทศไทย เขียนแปะข้างฝาไว้ได้เลย ยิ่งพัฒนา EEC ก็จะยิ่งเหลื่อมล้ำ เพราะรายย่อย SME
จะตายหมด ต้องพัฒนาไปควบคู่กัน ทั้ง ธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง
ขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน
ร้านค้าชาวบ้าน
สุดท้ายแล้วความหวังของประเทศไทยผมฝากไว้กับ “การท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป๊นกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว การท่องเทียวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ท่องเที่ยววิถีชุมชน ฯลฯ ” และ “อาหาร
ผลไม้
รวมทั้งผลผลิตที่แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม” ................ไม่เชื่อคอยดู 2580
คืออีก 17 ปีข้างหน้าค่อยมาอ่าน
แต่ตอนนั้นผมคงไม่อยู่แล้ว ............... บายๆๆๆๆๆๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น