วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ความน่าเชื่อถือ คือว่าใครนำเสนอ ??

                         ช่วงสงครามโควิด-19 ข้อมูลข่าวสารมันถาโถมเข้ามาจากทุกทิศทุกทาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสังคมออนไลน์ที่ตอนนี้ใครมีมือถือ หรือแท้ปเล็ตก็สามารถมีช่องสื่อสารเป็นของตนเอง   ทุกคนสามารถทำช่องของตนเองได้ยิ่งถ้ามีเทคนิค ลูกเล่น ในการนำเสนอด้วยแล้วก็สามารถเรียกแฟนคลับได้เป็นหลักแสนหรือหลักล้าน    

            สำหรับข่าวที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขแล้ว  ลองไปดูในยูทูปและเสริช์หาคำว่าคลอเลสเตอรอล  เราจะพบว่ามีข้อมูลให้เลือกรับชมได้มากมายโดยมีทั้งบุคคลากรทางการแพทย์  และใครก็ไม่รู้ที่ออกมาพูดโดยอาจจะศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้วมาสื่อสารต่ออีกครั้ง  ทำให้ข้อมูลนั้นอาจจะคลาดเคลื่อน  หรือแม้แต่จะบิดเบือนไปได้ถ้าตั้งใจจะขายของหรือสินค้าที่ตอบโจทย์ตรงนั้นได้  เพราะคนที่เสิรช์หาข้อมูลนี้คงเกือบทั้งหมดคงเป็นผู้ที่มีปัญหาในด้านนี้

            ข่าวรัฐมตรีอนุทิน  อนุทิน กราบเท้าประชาชนให้มาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยืนยันกรณีมีผู้เสียชีวิตหลังฉีด ไม่เกี่ยวกับวัคซีน 100 %  (จากเดอะสแตนดาร์ด 26 มีนาคม 2564 )  รวมทั้งข่าวที่ว่า บุคลากรทางการแพทย์ และ ตำรวจ ไม่ยอมฉีดวัคซีน   แถมล่าสุดการลงทะเบียนฉีดวัคซีนสำหรับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและโรคเสี่ยง 7 โรค มีผู้มาลงทะเบียน  14 วันแค่  ประมาณ 2 ล้านคนเท่านั้นจากจำนวนทั้งหมดประมาณ 15-16 ล้านคน   มันแสดงออกให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของวัคซีน  กลัวตายจากวัคซีนมากกว่ากลัวตายจากโควิด   ทั้งๆที่โควิดมีความเสี่ยงในการติด  และ  การตายมากกว่าไม่รู้กี่เท่าตัว

                มันบ่งบอกถึงระบบการสื่อสารของรัฐล้มเหลว  แน่นอนปัญหาส่วนหนึ่งมาจากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีทั้งข่าวจริง ข่าวปลอม  ข่าวปั่น  ข่าวสร้างตัวตนในสังคม ฯลฯ  แต่สุดท้ายแล้วเมื่อเป็นผู้บริหารสูงสุดของประเทศจะต้องมีการแก้ไขปัญหาในการสื่อสาร  และ การให้ข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้  และทันเวลาด้วย....... สุดท้ายคนที่ให้ข้อมูลจะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเชื่อถือ และ ยอมรับในสังคมด้วย

          รมต.แต่ละท่านรวมทั้งท่านนายกรัฐมนตรีด้วย  อะไรที่เป็นเรื่องทางวิชาการควรให้หมอที่มีความรู้  และ ความศรัทธา (จากใจ)  ของประชาชนเป็นผู้ให้ข่าวดีกว่า  การแถลงของศบค. รายวันทุกวันนี้แทบจะไม่มีข้อมูลใหม่อะไรเลยนอกจาก จำนวนผู้เสียชีวิต  ผู้หาย ติดจากไหน ฯลฯ แถมดันลงรายละเอียดว่าแต่ละคนที่ตายมีโรคแทรกซ้อนจากโรคอะไร   เรียกว่าอ่านครบทุกคนแต่ตอนหลังๆจำนวนคนตายเพิ่มมากเป็น 20-30 คนก็เป็นสรุปว่ามีโรคแทรกซ้อนอะไรกี่คน ฯลฯ บลาๆๆๆ

            ล่าสุด   'โน้ส อุดม' ขอบคุณ 'สรยุทธ' เล่าข่าววัคซีนโควิด จน 'คุณนายทองสุก' เปลี่ยนใจ ยอมไปฉีด    เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ????  คนไม่เชื่อ นายก  ไม่เชื่อ รมต. ไม่เชื่อหมอ.   แต่ เชื่อ “สรยุทธ” 

            ข้อเสนอ  ต้องจัดแถลงข่าว 

            1.โดยผู้รู้จริง

            2.โดยผู้ที่ได้รับความน่าเชื่อถือ

            3.โดยผู้ที่ประชาชนมีความศรัทธา

            4.โดยรวดเร็ว  สามเวลาหลังอาหารยิ่งดี  เพราะว่าสื่อโซเชียลมันไปเร็วกว่าที่เราคิด

            5.นายก และ รมต. พูดให้น้อยๆหน่อย  55555  ขำไม่ออก.....

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

นี่แหละ “ผู้นำ” ในดวงใจ

            

ข่าวเล็กๆในไทยรัฐ เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมาที่แทบจะไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าใดข่าวหนึ่ง คือ   "เหงียน ซวน ฟุก" นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ส่งของขวัญวันตรุษจีน ถึงมือของ "ปาร์ค ฮังซอ" กุนซือทีมฟุตบอลทัพดาวทอง หวังให้โค้ชอยู่ยาว ช่วยทีมชาติเวียดนามต่อ 

ข่าวนี้ดูเหมือนไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจในมุมมองของการกีฬามากเท่าใดนัก  แต่ในมุมมองของการเป็นผู้นำแล้วผมคิดว่า   มันเป็นสิ่งทีอยู่ในตำราหรือในคุณสมบัติที่ผู้นำควรมีนั่นก็คือ   การจูงใจและสร้างแรงบันดาลใจแก่บุคคล (Motivating and Inspiring People)   การกระทำของนายกรัฐมนตรีเวียดนามนี้เป็นการเข้าถึงในสองด้าน    ด้านแรกคือการเข้าถึงหัวใจของชาวเวียดนามที่คลั่งใคล้ฟุตบอล  ซึ่งนับแต่โค้ชชาวเกาหลีคนนี้มาทีมชาติเวียดนามประสบความสำเร็จในหลายๆมิติ  พร้อมทั้งโค้ชได้ตั้งเป้าหมาย สำคัญคือ เข้ารอบ 12 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก, คว้าแชมป์ซีเกมส์ และป้องกันแชมป์ เอเอฟเอฟ อาเซียน คัพ 2020    ส่วนอีกด้านหนึ่งก็เข้าถึงหัวใจของโค้ชเพราะว่ามีทั้งทีมชาติเกาหลี  และ ทีมในเควันของเกาหลีจ้องจะฉกตัวไปทำทีมเพราะว่าโค้ชยังมีสัญญากับทางเวียดนามอีก 1 ปี    

            การกระทำนี้แม้มูลค่าของสิ่งของที่มอบให้นั้นอาจจะไม่มากมายนัก  แต่นับว่าได้ใจของโค้ชไปเต็มๆเพราะว่า  ขนาดนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำของประเทศยังเห็นความสำคัญของโค้ชคนนี้  แน่นอนว่าค่าตอบแทนหากโค้ชฉีกสัญญาและไปทำทีมให้ทีมชาติเกาหลี หรือ ทีมในเควัน  แล้วย่อมได้ค่าตอบแทนที่มากกว่า  แถมได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว   ใช้ภาษาในการสื่อสารที่เป็นภาษาของตนเอง  เข้าใจในวัฒนธรรมและการดำรงชีพของลูกทีมได้อย่างแท้จริง บลาๆๆๆ      ส่วนหากว่าสุดท้ายแล้วโค้ชไม่อยู่ทำทีมต่อท่านนายกรัฐมนตรีเวียดนามก็ได้ใจประชาชนชาวเวียดนามไปเต็มๆ

            หันมาดูที่เมืองไทยบ้างเมื่อพูดถึงโค้ชต่างชาติแล้วผมนึกได้สองคน  คนแรกคือ “ฟอนตาเนียน”ที่เป็นโค้ชมวยไทยสมัครเล่น  และ โค้ชเทควันโด้  “โค้ชเช”  ที่ทั้งสองคนนั้นสร้างนักกีฬาจนไทยได้รับเหรียญในระดับโอลิมปิคมาแล้วมากมาย   นับได้ว่ามีฝีมือในระดับต้นๆของโลกที่ใครๆก็ต้องการตัว   แต่ทั้งสองคนตัดสินใจมาทำทีมให้ประเทศไทย  ที่ค่าตอบแทนก็น้อยกว่าแถมโอกาสในการคว้าเหรียญได้ก็น้อยกว่าอีกด้วย  แต่ด้วยสปิริตและความผูกพันกับคนไทย  กับนักกีฬาไทย  และกับชาติไทย   ทั้งสองคนเลยไม่หนีไปไหน  นอกจากนี้แล้วทางสมาคมกีฬาทั้งมวยและเทควันโด้โดยนายกสมาคม และกรรมการบริหารตลอดจนทีมงาน และนักกีฬา   คงได้ทำการผูกใจของโค้ชทั้งสองไว้กับประเทศไทย  นักกีฬาไทย  มิฉนั้นแล้วทั้งสองคนคงเลือกไปทำทีมที่ได้เงินมากกว่า   โอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า

แล้ว.....ผู้นำไทยไม่ว่านะระดับใด  โดยเฉพาะในระดับชาติน่าจะได้แสดงออกถึง “ผู้นำในดวงใจ” ของคนในวงการกีฬา  คนไทยที่รักในกีฬา  และวงการกีฬาของประเทศไทย  ไม่ว่าจะเป็นวันเกิด  วันครบรอบแต่งงาน หรือ วันสำคัญของโค้ชคนนั้นๆ   หากได้กระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเชื่อว่าน่าจะเป็นการ “ผูกใจ” ของโค้ชได้แบบลึกซึ้งอย่างแน่อนอน    ผมได้บัญญัติคำคมไว้ท่อนหนึ่งที่อยากจะนำมาเผยแพร่เพื่อการรักษาคน และ ใจของคนไว้  คือ  “รู้จัก รู้ใจ รู้ว่าห่วงใย และทำอะไรเป็นพิเศษ”   ซึ่งทางนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว   ก็หวังว่า รมต. นายกรัฐมนตรีไทยจะได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติบ้าง .....ก็ยังดี... หรือเปล่า ??

 


ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...