วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

Real Hero…





                ในภาวะที่ประเทศไทยและโลกประสบกับวิกฤติโควิด-19  ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติต่อระบบเศรษฐกิจ  การค้าขาย การเดินทางท่องเทียว  การแข่งขันกีฬาต่างๆ ฯลฯ หยุดชะงัก  คนตกงาน กำลังซื้อหดหายทั่วโลก  ยังความวิตกกังวลกับอนาคตและความอยู่รอดทั้งจากการเอาตัวรอดจากโควิด และเอาตัวรอดจากเศรษฐกิจนั้น   แม้ในกีฬาโอลิมปิกโตเกียว 2020  จะเป็นการแข่งขันที่ไม่อนุญาติให้มีผู้ชมเข้าชมการแข่งขัน ซึ่งทำให้บรรยากาศในการแข่งขันนั้นดุไม่คึกคักเท่าที่ควร  แต่ในโอลิมปิกครั้งนี้  นักกีฬาของไทยเราไม่ทำให้คนไทยผิดหวัง  ได้มีโอกาสหัวเราะและยินดีท่ามกลางการหวาดวิตกจากโควิดและเศรษฐกิจ

                การที่น้องเทสนิสสามารถสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย  โดยเป็นเหรียญทองแรกในโอลิมปิกของสมาคม  จากเดิมที่เคยได้เหรียญมาก่อนหน้านั้นในโอลิมปิกคือ 2 เงิน และ 4 ทองแดง  ในเอเชียนเกมส์ 4 ทอง  และแชมป์โลก 4 คน   ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นต้องขอยกย่องและชมเชย “โค้ชเช”  ที่ได้เข้ามาทำทีมเทควันโดไทยตั้งแต่ปี 2002 นับเป็นเวลา 19 ปีเต็ม  แม้จะมีชาติอื่นๆเสนอค่าตอบแทนที่มากกว่า  แต่ด้วยความผูกพันกับคนไทย สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย และ นักกีฬาเทควันโดไทย  ซึ่งเป็นคำตออบ   ตอนที่ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์โค้ชเช  ในการประชุมวิชาการนานาชาติ   AASM Conference 2021 16th Asian Association for Sport Management Conference (AASM Conference 2021)

                นอกจากนี้แล้วสิ่งที่ “โค้ชเช”  พูดถึงประเทศไทยก็คือ  ความเป็นครอบครัวไทยที่อีกไม่กี่วันข้างหน้าก็จะได้สัญชาติไทยในชื่อ  “ชัชชัย  เช่ว”  ซึ่งชื่อนี้มีความหมายว่า  “ชัยชนะที่มั่นคง”  โดยได้รับเมตตาจาก เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตรเป็นผู้ตั้งให้   สิ่งที่โค้ชเช พูดอยู่เสมอๆในระหว่างให้สัมภาษณ์นั้น  จะกล่าวถึงความขยัน  ความมุ่งมั่น  ความศรัทธา (Trust)  และ ครอบครัว   นี่คือตัวจริงเสียงจริง  Real Hero” ของเทควันโด และ คนไทยทั้งชาติ

                ผลพวงของโค้ชเชยังตกทอดมาถึงลูกศิษย์ที่เป็นนักเทควันโด  เพราะตลอดระยะเวลา 19 ปีโค้ชได้สร้างผลผลิตทางเหรียญรางวัลให้คนไทยมากมาย  แต่สิ่งที่โค้ชได้ฝากไว้อีกคือ “นักกีฬาที่ทรงคุณค่า”  ที่มิได้เก่งแต่เพียงผลของการแข่งขันเท่านั้น  ยังเปี่ยมไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน  รู้รักสามัคคี และ กตัญญูกตเวทิตา  ดังคำพุทธสุภาสิตว่า   นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี  เพราะน้องเทนนิส  กลับมาก็กราบคุณพ่อที่มารับที่สนามบิน  อันนี้อาจจะไม่แปลกเท่าใด แต่การที่น้องนึกถึงครู/โค้ช คนแรกและได้ไปพบพร้อมมอบพวงมาลัยขอบคุณและก้มลงกราบ โค้ชทรงศักดิ์ ทิพย์นาง  พร้อมร่วมชื่นชมเหรียญโอลิมปิก  เป็นความงดงามที่ REAL HERO  ได้สอนคนไทยและสังคมไทย  ตลอดจนเวลาไปออกรายการต่างๆก็กล่าวขอบคุณ  นักวิทยาศาสตร์การกีฬา  นักโภชนการ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เรียกได้ว่าครบทุกภาคส่วน รวมทั้งสปอนเซอร์ทั้งรายเล็กรายใหญ่ กันอย่างทั่วหน้า   ลูกผู้หญิงตัวจริง / ฮีโรที่แท้จริง  เก่งไม่พอแต่จิตใจยังงดงามอีกด้วย  ข้าน้อยขอคารวะ

 

 

 

 

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผิดคาด แต่.....งดงามในความคิด

 






 

บทความนี้ผมเขียนในวันรุ่งขึ้นที่พิธีเปิดโอลิมปิกเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 กรกฏาคม 2564 ซึ่งผู้คนทั่วโลกต่างติดตามและรับชมกันเป็นพันล้านคน เดิมทีคาดไว้ว่าจะต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยี และญี่ปุ่นคงเตรียมขายของทั้งวัฒนธรรม เทคโนโลยี แบรนด์สินค้า เกมส์ การ์ตูน   แต่ก็ผิดคาดไปอย่างมากโดยเฉพาะ การจุดคบเพลิงที่เรียบง่ายแต่........งดงามทางความคิดเป็นอย่างมาก ไม่มีเซอร์ไพรซ์อะไรทั้งสิ้น มีนิดเดียวคือกระถางคบเพลิงนั้นค่อยๆเปิดเหมือนดอกไม้คลี่อออกเพื่อให้นักกีฬาจุดคบเพิลงเท่านั้น

ความงดงามที่ว่าคือคำตอบของคำว่า “TOGETHER” ที่ได้ถูกบรรจุไว้เพิ่มเติมจากปรัชญาโอลิมปิก ที่เดิมมีแค่ Faster Higher Stronger เพราะในพิธีเปิดนี้เราจะได้เห็นถึงการเติมเต็มของปรัชญานี้ เช่น ในการถือธงโอลิมปิก ซึ่งแต่เดิมจะเป็นนักกีฬา และ ตำรวจทหารเป็นหลัก แต่ในพิธีเปิดกลับประกอบไปด้วยผู้คนที่หลากหลายอาชีพ ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นบุคคลากรสาขาอาชีพอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันในครั้งนี้

ในการวิ่งคบเพลิงเข้าสู่สนาม ก็ประกอบไปด้วยนักกีฬาในหลายๆมิติ ทั้งนักกีฬาที่เป็นขวัญใจของคนญี่ปุ่น นักกีฬาดังๆแต่ชราภาพคือนักเบสบอลในตำนานที่ถ้าเป็นประเทศอื่นแม้จะเป็นสุดยอดนกกีฬา  ก็ไคงไม่เอามาเดิน/วิ่ง คบเพลิง เพราะท่านชราภาพมากแล้วขนาดเดินต้องประคองดูแล้วเหมือเป็นอัมพฤกษ์เพราะไม่ได้จับคบเพลิงเรย  นักกีฬาที่เคยได้เหรียญทั้งกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน และ พาราลิมปิกฤดูหนาว   ที่สำคัญไม่แน่ใจว่าเป็นนักกีฬาหรือเปล่าเพราะผู้พากษ์ไม่ได้บรรยายไว้แต่เป็นคุณหมอคุณพยาบาล ที่เป็นฮีโร่ของประชาคมโลกที่ต่อสู้เป็นด่านหน้าของ่โควิด-๑๙ มีเยาชนตัวน้อย และสุดท้ายนักกีฬาคนสุดท้ายที่เป็นผู้จุดคบเพิลงนั้น เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น-เฮติ คือ นาโอมิ โอซากะ แชมป์แกรนด์สแลม ๔ ครั้ง ที่หน้าตาไม่บ่งบอกว่าเป็นญี่ปุ่นแท้เรย อันเป็นคำตอบว่า การแข่งขันครั้งนี้ตอบโจทย์ “TOGETHER” ได้อย่างงดงาม ทางความคิด ข้าน้อยขอคารวะ

และยังมีปรัชญาที่ว่าความเท่าเทียมทางเพศไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง   จากเดิมที่พยายามจะเพิ่มสัดส่วนนักกีฬาชายและหญิงให้ทัดเทียมกัน ในโตเกียว2020มีจำนวนนักกีฬาหญิง 48.8% ขณะที่นักกีฬาชายอยู่ที่ 51.2% แต่ในโอลิมปิก ปารีส 2024 จำนวนอีเวนต์ และโควตานักกีฬาของ 2 เพศ จะถูกแบ่งให้เท่ากันที่ 50% รวมทั้งเพิ่มชนิดกีฬาประเภทคู่ผสม ชายหญิง จาก 18 อีเวนต์ เป็น 22 อีเวนต์   นอกจากนี้การให้ผู้ถือธงชาติของแต่ละชาตินั้นให้ประกอบไปด้วยทั้งชายและหญิง   ก็นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่โตเกียว2020  ได้ตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี  

ผมเชื่อว่าพิธีเปิดในครั้งนี้คงไม่ใช่แผนแรกของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน  คงจะมาปรับเปลี่ยนในภายหลังให้สอดรับกับสถานการณ์โควิดและการเพิ่มปรัชญาโอลิมปิก สามารถทำได้อย่างงดงามและทำให้การประกาศของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล IOC  ในเรื่องเพิ่มปรัชญาโอลิมปิก ด้วยคำว่า “TOGETHER” นั้นได้แปรเปลี่ยนเป็นรูปธรรม   พิธีปิดโตเกียว 2020 ครั้งนี้ แม้จะเรียบง่าย แต่ก็แฝงไว้ด้วยแนวคิด  และตอบโจทย์ทั้งหลายได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุด  TOGETHER WE CAN

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...