บทความนี้ผมเขียนในวันรุ่งขึ้นที่พิธีเปิดโอลิมปิกเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 กรกฏาคม 2564 ซึ่งผู้คนทั่วโลกต่างติดตามและรับชมกันเป็นพันล้านคน เดิมทีคาดไว้ว่าจะต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยี และญี่ปุ่นคงเตรียมขายของทั้งวัฒนธรรม เทคโนโลยี แบรนด์สินค้า เกมส์ การ์ตูน แต่ก็ผิดคาดไปอย่างมากโดยเฉพาะ “การจุดคบเพลิง” ที่เรียบง่ายแต่........งดงามทางความคิดเป็นอย่างมาก ไม่มีเซอร์ไพรซ์อะไรทั้งสิ้น มีนิดเดียวคือกระถางคบเพลิงนั้นค่อยๆเปิดเหมือนดอกไม้คลี่อออกเพื่อให้นักกีฬาจุดคบเพิลงเท่านั้น
ความงดงามที่ว่าคือคำตอบของคำว่า “TOGETHER” ที่ได้ถูกบรรจุไว้เพิ่มเติมจากปรัชญาโอลิมปิก ที่เดิมมีแค่ Faster Higher Stronger เพราะในพิธีเปิดนี้เราจะได้เห็นถึงการเติมเต็มของปรัชญานี้ เช่น ในการถือธงโอลิมปิก ซึ่งแต่เดิมจะเป็นนักกีฬา และ ตำรวจทหารเป็นหลัก แต่ในพิธีเปิดกลับประกอบไปด้วยผู้คนที่หลากหลายอาชีพ ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นบุคคลากรสาขาอาชีพอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันในครั้งนี้
ในการวิ่งคบเพลิงเข้าสู่สนาม ก็ประกอบไปด้วยนักกีฬาในหลายๆมิติ ทั้งนักกีฬาที่เป็นขวัญใจของคนญี่ปุ่น นักกีฬาดังๆแต่ชราภาพคือนักเบสบอลในตำนานที่ถ้าเป็นประเทศอื่นแม้จะเป็นสุดยอดนกกีฬา ก็ไคงไม่เอามาเดิน/วิ่ง คบเพลิง เพราะท่านชราภาพมากแล้วขนาดเดินต้องประคองดูแล้วเหมือเป็นอัมพฤกษ์เพราะไม่ได้จับคบเพลิงเรย นักกีฬาที่เคยได้เหรียญทั้งกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน และ พาราลิมปิกฤดูหนาว ที่สำคัญไม่แน่ใจว่าเป็นนักกีฬาหรือเปล่าเพราะผู้พากษ์ไม่ได้บรรยายไว้แต่เป็นคุณหมอคุณพยาบาล ที่เป็นฮีโร่ของประชาคมโลกที่ต่อสู้เป็นด่านหน้าของ่โควิด-๑๙ มีเยาชนตัวน้อย และสุดท้ายนักกีฬาคนสุดท้ายที่เป็นผู้จุดคบเพิลงนั้น เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น-เฮติ คือ นาโอมิ โอซากะ แชมป์แกรนด์สแลม ๔ ครั้ง ที่หน้าตาไม่บ่งบอกว่าเป็นญี่ปุ่นแท้เรย อันเป็นคำตอบว่า การแข่งขันครั้งนี้ตอบโจทย์ “TOGETHER” ได้อย่างงดงาม ทางความคิด ข้าน้อยขอคารวะ
และยังมีปรัชญาที่ว่าความเท่าเทียมทางเพศไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง จากเดิมที่พยายามจะเพิ่มสัดส่วนนักกีฬาชายและหญิงให้ทัดเทียมกัน ในโตเกียว2020มีจำนวนนักกีฬาหญิง 48.8% ขณะที่นักกีฬาชายอยู่ที่ 51.2% แต่ในโอลิมปิก ปารีส 2024 จำนวนอีเวนต์ และโควตานักกีฬาของ 2 เพศ จะถูกแบ่งให้เท่ากันที่ 50% รวมทั้งเพิ่มชนิดกีฬาประเภทคู่ผสม ชายหญิง จาก 18 อีเวนต์ เป็น 22 อีเวนต์ นอกจากนี้การให้ผู้ถือธงชาติของแต่ละชาตินั้นให้ประกอบไปด้วยทั้งชายและหญิง ก็นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่โตเกียว2020 ได้ตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ผมเชื่อว่าพิธีเปิดในครั้งนี้คงไม่ใช่แผนแรกของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน คงจะมาปรับเปลี่ยนในภายหลังให้สอดรับกับสถานการณ์โควิดและการเพิ่มปรัชญาโอลิมปิก สามารถทำได้อย่างงดงามและทำให้การประกาศของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล IOC ในเรื่องเพิ่มปรัชญาโอลิมปิก ด้วยคำว่า “TOGETHER” นั้นได้แปรเปลี่ยนเป็นรูปธรรม พิธีปิดโตเกียว 2020 ครั้งนี้ แม้จะเรียบง่าย แต่ก็แฝงไว้ด้วยแนวคิด และตอบโจทย์ทั้งหลายได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุด TOGETHER WE CAN
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น