4 E มีแล้วปลอดภัยในทุกมิติ
23 กุมภาพันธ์ 2565
ข่าวที่ตำรวจควบคุมฝูงชนขี่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ชนหมอกระต่ายเสียชีวิตบนทางม้าลาย ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงนอกจากชีวิตของคุณหมอ ความสูญเสียของครอบครัว และความสามารถทางการแพทย์ที่มีเพียงไม่กี่คนในประเทศไทยแล้ว ยังทำให้ประชาสังคมได้ตระหนักรู้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวและเกิดการถกเถียงกันเป็นวงกว้าง แต่ที่น่าเกลียดที่สุดก็คือการตระหนักรู้ของภาครัฐในการหามาตราการป้องกันที่เหมาะสม เราเห็น กทม.รีบออกมาทาสีทางม้าลายชั่วข้ามคืนอีกไม่กี่วันต่อมามีไฟแดงตรงทางม้าลายนั้น และ เมื่อวันที่ 21 ก.พ ที่บริเวณด้านหน้าอาคารรัฐสภา คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน จัดกิจกรรม “หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” แล้วก็มีป้ายมาติดตรงทางม้าลายที่ปากซอยที่ทำงานผมหนึ่งแผ่น ผมอยากตั้งคำถามกับภาครัฐว่าถ้าไม่มีกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้วกิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ ???? อะไรช่างบังเอิญปานนั้น ....
แนวคิดในการป้องกันนั้นมีหลากหลายวิธีการซึ่งหลายๆฝ่ายก็คงดำเนินการกันอยู่ ที่สำคัญอย่าให้การดำเนินการต่างๆนั้นเป็นเพียงกระแสที่เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นการขับขึ่จักรยานยนต์บนทางเท้า การขับรถสวนทาง การขับรถฝ่าไฟแดง การใช้กล้องจับผู้ฝ่าไฟแดงที่ตอนนี้เงียบหายไปเรย การกระทำผิดกฎจราจร กฎหมายต่างๆ ฯลฯ เมื่อมีเหตุก็ดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งให้เห็นว่าฉันทำแล้วนะ พอกระแสดหมดก็ตัวใครตัวมันครับพี่น้อง อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกันก็คือพอมีการจับบ่อนในท้องที่ใดก็จะมีการย้าย 5 เสือของ สน./สภ. นั้น แต่ใครพอทราบมั้ยว่าแล้วมีการสรุปว่ามีความผิด และลงโทษกันกี่รายต่อปีซึ่งผมเชื่อว่าไม่มีเรย..... ??? ก็เรียกได้ว่าทำเพื่อลดกระแสเท่านั้น
แล้วแนวทางป้องกันปัญหาที่ยั่งยืนคืออะไร...?? จึงอยากเสนอแนวทาง 4 E ที่น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบได้ในทุกมิติและเหตุการณ์ ทั้งในเรื่องความปลอดภัย รวมทั้งการอยู่ร่วมในสังคมในมิติอื่นๆอีกด้วย ดังนี้
Ethics จริยธรามซึ่งประกอบด้วยคำสองคำคือ จริย + ธรรม จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มิได้มีความหมายในทางศาสนาเท่านี้น มันหมายถึงความดี แนวปฎิบัติ ดังนั้น "จริยธรรม" จึงหมายถึง “หลักในการประพฤติ ปฎิบัติที่ดี ที่ควรทำ “ ในส่วนนี้มิได้สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์แต่เพียงอย่างเดียว ต้องปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัยใครเคยไปญี่ปุ่นลองดูนะครับหากไฟแดงแม้ไม่มีรถยนต์วิ่งเลยอีกสามด้านที่เหลือคนญี่ปุ่นก็ยังหยุดรอไฟแดง หรือตอนแจกของซึนามิที่ญี่ปุ่นเข้าแถวกันเรียบร้อย แต่เราแจกบัตรชมภาพยนต์สุริโยทัยแย่งกันชุลมุนวุ่นวายกันไปหมด (ทั้งสองเหตุการณ์เกิดขึ้นใกล้กันซึ่งผมได้เคยเขียนเรื่อง “วินัย” นี้ไปครั้งหนึ่ง)
Education การให้การศึกษาทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน ที่สำคัญผู้ใหญ่ต้องประพฤติปฎิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง และต้องสม่ำเสมอด้วย จะต้องทำตั้งแต่เยาว์วัยและต่อเนื่องจนติดเป็น นิสัย วินัย และฝังอยู่ในดีเอ็นเอ
Engineering คือระบบวิศวกรรม การออกแบบ การมีนวตกรรม เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางมาลาย ที่เหมือนจะมีแนวคิดแบบสองมิติสามมิติที่จะเพิ่มการตระหนักรู้หรือไม่ ?? ไฟจราจร สะพานลอย รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบปฎิบัติ แนวปฏิบัติ เช่น ให้มี การสำรวจ อุปกรณ์ ทางม้าลาย ทุกๆ 2 เดือนเพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม ฯลฯ
Enforcement ก็คือการบังคับใช้กฎหมาย ทีมีคนเรียกร้องให้มีการลงโทษอย่างหนักสำหรับคนขับชนคนตายตรงทางม้าลาย ซึ่งที่ผ่านมาเราก็เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการดำเนินการในการบังคับใช้กฏหมายนั้นมันไม่ใช่แค่มีบทลงโทษที่รุนแรงแต่เพียงอย่างเดียวก็พอ แม้บทลงโทษจะไม่มากแต่หากบังคับใช้อย่างทัดเทียม สม่ำเสมอ ก็จะช่วยเพิ่ม E ตัวแรกได้แม้จะไม่ใช่เกิดจากจริยธรรมภายในคือจิตสำนึกและวินัยในตนเอง แต่ก็เกิดจากภายนอกคือความกลัวค่าปรับ ติดคุก ฯลฯ เราลองย้อนกลับไปดูซิครับว่าเราเจอด่านตรวจใบขับขึ่ ทะเบียนรถกันครั้งสุดท้ายเมื่อใด แล้วตำรวจในกรณีนี้รถยนต์ก็ไม่ได้เสียภาษี ดีไม่มีเป็นรถเถื่อนหรือไม่ ?? และตำรวจเองซึ่งเป็นผู้รักษากฎหมาย ขับรถไม่เสียภาษี ไม่โอนทะเบียน ขับเลนขวาสุด ขับเร็วเกินกำหนด โดนไป 9 ข้อหา แล้วนับประสาอะไรกับลูกตาสีตาสาละครับ ...........@@@@@
จะเห็นได้ว่า จาก 4 E ข้างต้นนั้นข้อแรกสำคัญที่สุดแม้สามข้อหลังจะหย่อนยานไปบ้าง หากข้อแรกคือ จริยธรรม นั้นเข้มแข็งก็จะสามารถทำให้เราปลอดภัย และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขในทุกมิติครับ ...............