วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565

อิหยังหว่า ? อย่างนี้ก็ได้เหรอ ??

 




                ปรากฎการณ์ “ลิซ่า”  กับ “มิลิ”  SOFT POWER  ที่ผมขอบัญญัติเองว่า  “พลังแห่งสุนทรียะ” ไว้เมื่อ 27 กันยายน 2564  เพราะกระดากปากที่จะใช้คำว่า “พลังอ่อน”  เหมือนคนอื่นเขา   การเป็นที่กล่าวขวัญทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกยอดไลค์ยอดแชร์ถล่มทลาย   จน “รัฐบาล” ต้องรีบมาเกาะกระแสทั้งๆที่เวลาที่ผ่านมารัฐเองไม่ได้การส่งเสริมที่เป็นรูปธรรมอย่ามีนัยยะสำคัญ  แม้จะมีส่วนสนับสนุนอยู่ในหลายๆงานก็ตามที่  แต่ก็ไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและจับต้องได้     เพราะรัฐเองมองในมุมที่เป็นเรื่องตายตัวและขาดซึ่งความคิดสร้างสรรค์  ไม่คิดนอกรอบเพื่อให้พลังแห่งสุนทรียะนี้แพร่กระจายไปอย่างทั่วถึง  เพราะติดกับดักคือ “กรอบความคิด”  ของผู้นำและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง


                เราจะเห็นได้ว่า เกาหลีซึ่งเดิมเป็นชาติที่ยากจนกว่าเราย้อนไป ปี 1970 เกาหลีต้องเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาเอเชียนเกมส์แต่ไม่มีงบประมาณพอที่จะจัดงานนี้  ประเทศไทยรับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพจัดแทน  จากนั้นมีไม่กี่สิบปีเกาหลีได้เป็นเจ้าภาพจัดทั้ง เอเชี่ยนเกมส์  โอลิมปิกเกมส์ทั้งฤดูร้อน ฤดูหนาว  แถมด้วย ฟุตบอลโลก   เกาหลีเองนั้นก็มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเหมือนประเทศไทย  โดยเริ่มจากประธานาธิบดีปักจุงฮีได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ระยะเวลา 5 ปี ฉบับที่ 1 และ 2  เริ่มตั้งแต่ คศ. 1961 -1971   ประเทศไทยเองก็มีมี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแผนที่  1 ในปี   2504  บังเอิญเหลือเกิน คือปี คศ.1961  ปีเดียวกับเกาหลีใต้  แต่  60 ปีผ่านไปเราเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนว่าเราแม้จะพัฒนาไปมากแต่เมื่อเที่ยบกับคู่แข่งขันในระนาบเดียวกันแล้วจะเห็นได้ว่าเรายังสามารถพัฒนาได้มากกว่านี้อีก  และต่อมาเกาหลีใต้ได้ปรับแผนในปี 1971  มาใช้แผน ที่มีชื่อว่า แซมาเอิล อุนดง (Saemaul Undong)  โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาชนบทที่สามารถลดช่องว่างของคนรวยกับตน  จนเห็นการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมจนถึงทุกวันนี้

                หลังจากนั้น ในปี   2014 ประธานาธิบดี ปาร์คกึนเฮย  ได้ประกาศใช้แผนนวตกรรมเศรษกิจ  3 ปี  โดยเป็นแผนนวตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์  โดยมีซอฟท์พาวเวอร์เป็นเครื่องมือในการดำเนินตามแผนนี้   ไม่ว่าจะเป็นดนตรีที่สร้างกระแส เค-ป้อบ  ภาพยนต์  การแสดง ศิลปวัฒนธรรม อาหาร  หัตกรรม การท่องเที่ยว  ฯลฯ อย่างเป็นรูปธรรม  ส่วนบ้านเราไทยแลนด์แดนแห่งยิ้มสยาม   นานๆทีก็จะมีซอฟท์พาวเวอร์ที่เป็นกระแสทีนึงแล้วก็จะค่อยจางๆไป ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการคือการต่อยอดของกระแสนั้นๆให้จริงจัง  และต่อเนื่อง

                แต่ด้วยความสามารถของภาคเอกชนของไทยได้พัฒนาและขยายตลาดซอฟท์พาวเวอร์ของไทยไป   ตัวอย่างที่อยากจะยกขึ้นมาเล่าสู่กันฟังก็คือ   “เวิร์คพอยท์เอ็นเตอร์เทนเมนท์”   เจ้าพ่อเกมส์โชว์ของประเทศไทยที่ไม่ทำให้คนไทยผิดหวัง  เพราะบ้านเราซื้อลิขสิทธิ์รายการมาผลิตมากมายที่เรียกได้ว่าจำติดตาติดหูคนไทย  ไม่ว่าจะเป็น   ตั้งแต่ยุคอะคาเดมีแฟนตาเซีย   เรื่อยมาจน  เดอะมาสค์ซิงเกอร์ หรือ ไอแคนซียัวร์วอยซ์   แต่สิบกว่าปีที่ผ่านมาทางเวิร์คพอยท์ก็กลายมาเป็นผู้ส่งออกรายการโดยการขายลิขสิทธิ์ไปยังต่างประเทศบ้าง   หลังจากประสบความสำเร็จได้รับรางวัลต่างๆมากมายในระดับเอเชีย    โดยไปออกบูทงาน  MIPCOM ซึ่งเป็นองค์กรการจัดงานแสดงสำหรับการขายลิขสิทธ์รายการบันเทิง  ในปี 2022  นี้ก็จะมีการจัดงานนี้ขึ้นที่เมืองคาสน์ระหว่างวันที่ 17-20 ตุลาคม 2022   งานนี้จะมีผู้ซื้อและผู้ขายนำรายการโทรทัศน์มานำเสนอที่สำคัญงานนี้เป็นงานที่ใหญ่ที่สุดของโลกในธุรกิจนี้

                รายการที่ได้รับความสนใจที่มีการขายไปยังยุโรป อเมริกา และเอเชีย  เช่น  ไมค์หมดหนี้  ปริศนาฟ้าแลบ  ร้องข้ามกำแพงที่เรียกเรตติ้งได้ดีทั้งในประเทศไทยและประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์ไป คือ  ฝรังเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์  สเปน อิตาลี โปรตุเกส  เยรมัน รวมทั้ง เวียดนาม  และตอนนี้คิดว่าน่าจะมีมากกว่า 8 ประเทศนี้ที่ได้ซื้อลิขสิทธิ์ “ร้องข้ามกำแพง” ไปแล้ว

                อีกรายการหนึ่งทีเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ “ลุงตู่” มาตลอด  ก็คือ “มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล”  ซึ่งเจ้าของลิขสิทธ์ คือคุณ  ณวัฒน์ อิสรไกรศีล   ที่จัดงานประกวดนี้ทีไรจะมีปัญหาทุกครั้งเพราะออกมาพูดกระทบรัฐบาลอยู่บ่อยครั้ง   ก็เป็นซอฟท์พาวเวอร์ในระดับโลกที่ถือว่าเป็นตัวอย่างความสำเร็จของคนไทย  บริษัทไทย  ที่ไม่สามารถรอรัฐบาลได้  ต้องขวนขวายและแสวงหาความสำเร็จในตลาดโลกเอาเอง

                ล่าสุดเมือเดือน มกราคม 2565 ที่ผ่านมาทางรัฐบาลโดย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา  ได้สนับสนุนการจัดการแข่งขันเจ็ตสกีชิงแชมป์โลก WGP#1 WORLD CUP 2021-2022   โดยจัดการแข่งขันที่พัทยาและมีการถ่ายทอดทีวีไป 90 ประเทศทั่วโลก  ส่วนในฤดุการแข่งขัน   2022-2023  คาดว่าจะถ่ายทอดทีวีไปถึง 120 ประเทศเป็นการประกาศศักยภาพด้านการกีฬาของไทย  ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การแข่งขันรายการนี้   และเชื่อได้ว่ากระแสเจ็ตสกีจะเติบโตเรื่อยๆ  จนการแข่งขันเก็บคะแนนจะเพิ่มสนามในลักษณะเดียวกันกับการแข่งขันรถฟอมูล่าวัน  F1  ก็จะยิ่งเพิ่มจำนวนคนดู  ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน  รวมทั้งผู้ติดตามที่จะมีผลพลอยได้ตามมาในด้านการท่องเที่ยว   ที่ประเทศไทยของเราก็มีของดีให้มาดูมาชมมาเที่ยวกันได้ทั้งปีอยู่แล้วนั่นเอง

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...