วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เชื่อมจิต พิชิตยอดขา

 



8 กรกฏาคม 2567

            อันนี้ไม่เกี่ยวกับ “ลัทธิเชื่อมจิต”  นะครับ  ที่นับได้ว่าเป็นหมากาพย์ของปี 2567  เรยที่เดียว  “มูเก็ตติ้ง”  สำหรับลัทธินี้ถือว่าสุดยอดกระบี่มือหนึ่งของทศวรรษตเรยทีเดี่ยว    ไม่รู้ว่าคนที่หลงเชื่อที่มีทั้งคนที่มีการศึกษาสูงๆ   คนที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะความสามารถสูงๆ  ก็ยังไปหลงเชื่อเป็นสาวก  ซึ่งผมได้เคยเข้าไปนั่งดูไลฟ์อยู่ครั้งหนึ่ง 20 นาทีผ่านไปเจ้าลัทธิที่อายุ 8 ขวบพูดไม่กี่คำเอง   แต่สาวกและพ่อแม่ทั้งหลายก็เฮ......ตามๆกันไป  เรียกได้ว่าเป็นอุปทานหมู่ 

            ที่สำคัญคือสามารถ “เชื่อมจิต”  ที่ในที่นี้ผมคงแค่หมายถึง  สามารถหยั่งรู้ความต้องการของลูกค้า    เพราะเค้า

**  รู้จัก รู้ใจ  รู้ว่าห่วงใย  ทำอะไรเป็นพิเศษ    **

ที่เป็นหลักในการทำ บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ CRM นั่นเอง    โดยที่องค์กรธุรกิจ  หรือแม้แต่หน่วยงานราชการ หรือ NGO หรือ องค์กรกุศล  ลัทธิต่างๆก็ต้องเข้าไปนั่งในจิตใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและดำเนินกุศโลบายตามข้อความข้างต้น  โดยจะขอยกตัวอย่างดังนี้

ร้านอาหารร้านหนึ่งซึ่งเป็นคาเฟ่  ในเมลเบิร์น  ออสเตรเลีย   ได้คิดค่าอุ่นอาหารจากลูกค้า  จำนวน 1 เหรียญ  จากราคามัฟฟิน 7 เหรียญ และ กาแฟอีก 4.5 เหรียญ  เป็นระบบที่  “ไล่ลูกค้า” ไม่ได้เชื่อมจิตกับลูกค้า  ทำไมไม่ตั้งราคาเป็น 8 เหรียญ และ ถ้าไม่ต้องอุ่นลดเหลือ  6 เหรียญ    แต่ถ้าคิดว่าเป็นบริการที่สามารถให้กับลูกค้าได้อย่างไปคิดเงินดีกว่ามั้ยอ่า  ต้นทุนก็ไม่ได้เพิ่มเสียเท่าใด   มีสมองแต่ไม่ได้คิด  “เชื่อมจิต” กับลูกค้านั้นเอง

หรืออีกกรณีหนึ่ง  สน.ทองหล่อ   ที่พี่หนุ่มกรรชัยจะขอเข้าห้องน้ำ (แต่จริงๆก็คงจะไป อะไรซักอย่างกับคู่กรณี / ที่งคงไม่บานปลาย)   แต่ตำรวจ “ไม่ได้เชื่อมจิต”  กับพี่หนุ่ม ถ้าในกรณีนี้ก็แค่ ให้คู่กรณีอยู่ในห้อง และมี ตำรวจพาไปห้องน้ำ   เรื่องก็คงจะจบลงสวยกว่านี้ไม่ต้องหอบกระเช้าไปขอโทษพี่หนุ่มกรรชัย   แต่ดันบอกแค่ว่า “ผมมีมีอำนาจ”  แง้ว  ก็ยาวไปซิครับสารวัตร 

ซึ่งผู้ประกอบการจะต้อง   “เชื่อมจิต”  กับผู้บริโภคในเรื่องใดๆบ้าง  ก็เลยขอสรุปเพื่อนำไปพัฒนาแนวทางการดำเนินกิจการ  ดังนี้

** สินค้าไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่คาดหวังได้

**สินค้าบกพร่อง ชำรุด  มีปัญหาการใช้งาน

**เส้นทางการใช้บริการของลูกค้า  ยุ่งยาก สับสน  ตัวอย่าง สำนักพิมพ์ใหญ่แห่งหนึ่ง   กรอกที่อยู่ซ้ำแล้วซ้ำอีก  ถึง 3 รอบ   / ต้องการใบกำกับภาษี (ถ้าไม่ต้องก็ไม่ต้องกรอก แต่นี่ให้ ซ้ำอีกครั้ง ....(เหมือนที่จัดส่ง ได้มั้ย) หรือ ไม่ต้องการ ก็จะได้ไม่ต้องกรอก /  ที่อยู่จัดส่ง  ให้กรอกซ้ำอีก น่าจะช่องให้ระบุ  เหมือนกับที่อยู่ข้างต้น   อิอิ.....  ใหญ่ก็พลาดได้นะครับ

**การบริการไม่เป็นไปตามความคาดหวัง... 

**ประสบการณ์ในการใช้สินค้า ใช้ยาก  ไม่มีคุ่มือ  คอลเซนเตอร์โทรไปไม่ติด ติดไม่รับ รับแล้วตอบไม่ได้  ฯลฯ

**ขาดการสื่อสารที่ดี   ต้องเข้าใจประเด็นที่จะสื่อสารและปัญหาที่เกิดขึ้น

**ลูกค้าขาดการมีส่วนร่วม  ก็เลยยิ่งทำให้ขาดการ “เชื่อมจิต” ไปเรยยย

            น้องไนซ์ น่าจะเปิดคอร์ส  “เชื่อมจิตสำหรับเอสเอ็มอี “   ก็น่าจะดีนะ   5555.   พูดไม่ออก บอกไม่ถูก.... ขอไปทำกล้วยเชื่อมแทนนะครับ ..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...