“ภาวะผู้นำบกพร่อง ????”
ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ม.เกษตรศาสตร์
อาจารย์พิเศษโครงการปริญญาเอการจัดการกีฬา ม.เกษตรศาสตร์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการพิสิษฐ์กรุ๊ป
วันก่อนได้อ่านเจอในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่มีผู้อ่านได้เขียนมาบ่นหรือปรับทุกข์เกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารในองค์กรของผู้อ่านท่านนั้น ดูเหมือนว่าผู้บริหารที่กล่าวถึง(ถ้าเป็นจริง)คงเป็นผู้บริหารที่แค่อยู่นาน(ถ้าเป็นระบบราชการ) หรืออาจจะเป็นเถ้าแก่หรือลูกเถ้าแก่ที่เป็นผู้บริหารเพราะเป็นเจ้าของกิจการเป็นแน่แท้ เพราะข้อหาทั้งหลายล้วนแต่ไม่น่าเชื่อว่าถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆจะเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรนั้นๆได้อย่างไร ก็เลยลองมาทบทวนดูว่าคุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร หรือผู้นำนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ หรือแสวงหาคุณสมมาใส่ตัวอย่างไรบ้าง เพื่อที่ว่าพอเป็นผู้นำจริงๆแล้วจะได้ไม่โดนลูกน้องก่นด่ากันลับหลัง
โดยทั่วไปแล้วหากเรามาทบทวนคุณสมบัติในหน้าที่การงานใดการงานหนึ่งก็จะพบว่ามีคุณสมบัติแบ่งออกได้สามกลุ่ม 1.CORE COMPETENCY เป็นคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เฉพาะงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นที่ที่จะบ่งบอกถึงความรู้ เช่น ตำแหน่งวิศวกรจะต้องจบวิศวะมา นิติกรต้องจบนิติศาสตร์มาเป็นต้น ซึ่งคุณสมบัตินี้ไม่ยากที่จะค้นหาบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งเพราะปริญญาบัตรหรือประสบการณ์ในการทำงานคงเป็นเครื่องบ่งบอกได้ สามารถทดสอบองค์ความรู้ได้ไม่ยากเย็น 2.GENERAL COMPETENCY จะเป็นคุณสมบัติอื่นๆที่เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นซึ่งจะทำให้บุคคลๆนั้นได้เปรียบ หรือสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก เช่น เคยผ่านการฝึกงานในต่างประเทศ มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เป็นต้น ซึ่งก็สามารถทดสอบว่ามีคุณสมบัติดังว่าหรือไม่ 3.SPECIAL COMPETENCY ซึ่งเป็นคุณสมบัติในกลุ่มสุดท้ายที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การทำงานนั้นประสบผลสัมฤทธิ์ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น ดีสนีย์แลนด์ซึ่งมีปรัชญาในการสร้างความสุขให้กับทุกคนในครอบครัว โดยมีBRAND PROMISฎ ซึ่งเป็นพันธะสัญญาในการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าคือ HAPPY FAMILY ดังนั้นคุณสมบัติในข้อนี้ของดีสนีย์แลนในการรับพนักงานคือต้องเป็น ENTERTAINER เป็นผู้รังสรรค์ความสุขสนุกสนานให้กับทุกคนในครอบครัว
จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติในข้อที่สามซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษจริงๆนั้นเป็นอะไรที่ทดสอบได้ยากตรวจสอบได้อยาก ต้องอาศัยผู้รู้ผู้ชำนาญและแบบทดสอบที่ออกมาเฉพาะโดยนักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์ซึ่งในบริษัทใหญ่ๆ หรือบริษัทข้ามชาติจะมีแบบทดสอบชนิดนี้ในการที่จะวัดผลว่ามีคุณสมบัติพิเศษตามที่องค์กรต้องการหรือไม่ วกกลับมาเรื่องภาวะผู้นำกันดีกว่าเพราะจะว่าไปแล้วภาวะผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งผมขอสรุปตามตัวอักษรของคำว่า LEADER และขยายความเป็นคุณสมบัติของผู้นำดังนี้
L= Language ซึ่งในที่นี้นอกจะหมายถึงภาษาที่ต้องเข้าใจได้หลายภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ เพราะโลกทุกวันนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล (อนาคตอาจจะต้องมีภาษาจีนอีกภาษาหนึ่ง) แต่ความหมายของภาษาในที่มีนัยที่กว้างมากกว่าความหมายข้างต้น มันครอบคลุมถึงการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับลูกน้อง ไม่ว่าคุณจะพูดได้ 12 ภาษาในโลก แต่คุณไม่สามารถพูด”ภาษาคน” ที่ทำให้ลูกน้องเข้าใจ ไม่สามารถจูงใจให้ลูกน้องปฏิบัติตามได้ก็ปล่าวประโยชน์ เรียกได้ว่าไม่มีศิลปะในการพูด ชักจูงนั่นเอง
E=Esteem ซึ่งก็คือการให้เกียรติยกย่อง ทั้งบุคคลที่สูงกว่าและบุคคลที่ต่ำกว่าเพราะมนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การให้เกียรติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำให้เขาเกิดความเกรงใจและเคารพยกย่องเราพร้อมที่จะทำงานให้เราด้วยความเต็มใจ เต็มที่ เต็มเวลา หาไม่แล้วก็จะทำไปแบบแกนๆไม่ได้ใสใจลงไปในงานนั้นถึงแม้งานจะเสร็จสิ้นตามคำสั่ง แต่คุณภาพและจิตวิญญาณของงานนั้นคงหามีไม่ ลองให้เกียรติลูกน้องดูแล้วจะรู้ว่าเกียรติที่เราได้รับคืนมานั้นมันมากมายมหาศาล
A=Atmosphere เป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานผู้นำจะต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ลูกน้องนั้นมีความสุขในการทำงาน เช่น บัตรเครดิตกรุงไทย สร้างห้องทำงานให้กับพนักงานเสียสวยหรู ดูมี Lifestyle สมกับวิถีชีวิตของลูกน้อง มีเก้าอี้นวดไว้ผ่อนคลาย ฯลฯ หรือหากเป็นงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ลองพาหนักงานไปเที่ยวแดนเนรมิตแล้วปล่อยใจให้ว่างเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างนั้นอาจจะแว๊ปความคิดดีๆออกมาก็ได้ใครจะไปรู้
D= Do it closer อยู่ใกล้ชิดกับพนักงานและงานที่ได้มอบหมายไปซึ่งก็คือติดตามงานและดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิดนั่นเอง ไม่ใช่ว่าการทำงานได้แต่สั่งการไม่เคยลงไปดูลูกน้องปฏิบัติงานเลยว่ามีความลำบาก ยุ่งยากแค่ไหน เพื่อที่จะได้หาทางปรับปรุงวิธีการทำงาน หรือสมควรเปลี่ยนเครื่องจักร ฯลฯ เป็นต้น
E=Empower ต้องรู้จักมอบอำนาจ รู้จักไว้ใจลูกน้องให้ลูกน้องได้ตัดสินใจในขอบเขตที่เหมาะสม หากอะไรๆก็ต้องมาให้เราตัดสินใจแล้ว องค์กรจะขับเคลื่อนไปได้ลำบากเหมือ one man show และที่สำคัญเมื่อมอบอำนาจแล้วต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ว่าถ้าลูกน้องตัดสินใจผิดก็ลงโทษให้ตายไปเลยแต่ถ้าหากทำถูกก็กลายว่าเป็นเพราะเรา เรียกได้ว่าอย่า “เอาดีใสตัว(ผู้นำ) เอาชั่วให้คนอื่น (ลูกน้อง) “ อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้นำแบบลูกน้องตายหมด สุดท้ายต้องกินข้าวคนเดียวอย่างเหงาๆและเดียวดาย ต้องทำกลับกัน” เอาดีให้ลูกน้อง หากผิดพลาดต้องรับไว้เอง (เพราะเรามีภูมิคุ้มกันมากกว่า) “
R=Relationship ต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ มีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้องทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ อย่าคุยหรือมีกิจกรรมกับลูกน้องแค่ในงาน เคยรู้หรือเปล่าว่าลูกน้องตัดผมใหม่ มีตุ้มหูคู่ใหม่ ลูกของเค้าสอบเข้าโรงเรียนสาธิตได้ วันนี้วันเกิดลูกน้อง ฯลฯ ถ้าเราได้ใส่ใจสนใจและตั้งใจแล้วข้อมูลอื่นๆที่จะทำให้เราได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ นอกเวลาทำงาน แล้วก็จะสามารถช่วยให้เราเป็น นายที่มีแต่ลูกน้องรัก เคารพ นับถือ และพร้อมจะทำงานให้อย่างสุดชีวิตอย่างแน่นอน
ลองสำรวจตัวท่านเองดูนะครับว่าเราขาดข้อไหนไป เชื่อว่าคุณสมในสองกลุ่มแรกคือ CORE & GENERAL COMPETENCY คงไม่ขาด แต่อาจจะขาดหรือยังมีไม่ถึงที่สุดในส่วนของ SPECIAL COMPETENCY ก็หาเติมเต็มในตัวท่านเองก็แล้วกันนะครับเพราะคุณสมบัตินี้ไม่มีขายอยากได้ต้องหา(ฝึก)เอาเองครับผม
ดร.พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ม.เกษตรศาสตร์
อาจารย์พิเศษโครงการปริญญาเอการจัดการกีฬา ม.เกษตรศาสตร์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการพิสิษฐ์กรุ๊ป
วันก่อนได้อ่านเจอในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่มีผู้อ่านได้เขียนมาบ่นหรือปรับทุกข์เกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารในองค์กรของผู้อ่านท่านนั้น ดูเหมือนว่าผู้บริหารที่กล่าวถึง(ถ้าเป็นจริง)คงเป็นผู้บริหารที่แค่อยู่นาน(ถ้าเป็นระบบราชการ) หรืออาจจะเป็นเถ้าแก่หรือลูกเถ้าแก่ที่เป็นผู้บริหารเพราะเป็นเจ้าของกิจการเป็นแน่แท้ เพราะข้อหาทั้งหลายล้วนแต่ไม่น่าเชื่อว่าถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆจะเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรนั้นๆได้อย่างไร ก็เลยลองมาทบทวนดูว่าคุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร หรือผู้นำนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ หรือแสวงหาคุณสมมาใส่ตัวอย่างไรบ้าง เพื่อที่ว่าพอเป็นผู้นำจริงๆแล้วจะได้ไม่โดนลูกน้องก่นด่ากันลับหลัง
โดยทั่วไปแล้วหากเรามาทบทวนคุณสมบัติในหน้าที่การงานใดการงานหนึ่งก็จะพบว่ามีคุณสมบัติแบ่งออกได้สามกลุ่ม 1.CORE COMPETENCY เป็นคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เฉพาะงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นที่ที่จะบ่งบอกถึงความรู้ เช่น ตำแหน่งวิศวกรจะต้องจบวิศวะมา นิติกรต้องจบนิติศาสตร์มาเป็นต้น ซึ่งคุณสมบัตินี้ไม่ยากที่จะค้นหาบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งเพราะปริญญาบัตรหรือประสบการณ์ในการทำงานคงเป็นเครื่องบ่งบอกได้ สามารถทดสอบองค์ความรู้ได้ไม่ยากเย็น 2.GENERAL COMPETENCY จะเป็นคุณสมบัติอื่นๆที่เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นซึ่งจะทำให้บุคคลๆนั้นได้เปรียบ หรือสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก เช่น เคยผ่านการฝึกงานในต่างประเทศ มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เป็นต้น ซึ่งก็สามารถทดสอบว่ามีคุณสมบัติดังว่าหรือไม่ 3.SPECIAL COMPETENCY ซึ่งเป็นคุณสมบัติในกลุ่มสุดท้ายที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การทำงานนั้นประสบผลสัมฤทธิ์ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น ดีสนีย์แลนด์ซึ่งมีปรัชญาในการสร้างความสุขให้กับทุกคนในครอบครัว โดยมีBRAND PROMISฎ ซึ่งเป็นพันธะสัญญาในการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าคือ HAPPY FAMILY ดังนั้นคุณสมบัติในข้อนี้ของดีสนีย์แลนในการรับพนักงานคือต้องเป็น ENTERTAINER เป็นผู้รังสรรค์ความสุขสนุกสนานให้กับทุกคนในครอบครัว
จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติในข้อที่สามซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษจริงๆนั้นเป็นอะไรที่ทดสอบได้ยากตรวจสอบได้อยาก ต้องอาศัยผู้รู้ผู้ชำนาญและแบบทดสอบที่ออกมาเฉพาะโดยนักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์ซึ่งในบริษัทใหญ่ๆ หรือบริษัทข้ามชาติจะมีแบบทดสอบชนิดนี้ในการที่จะวัดผลว่ามีคุณสมบัติพิเศษตามที่องค์กรต้องการหรือไม่ วกกลับมาเรื่องภาวะผู้นำกันดีกว่าเพราะจะว่าไปแล้วภาวะผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งผมขอสรุปตามตัวอักษรของคำว่า LEADER และขยายความเป็นคุณสมบัติของผู้นำดังนี้
L= Language ซึ่งในที่นี้นอกจะหมายถึงภาษาที่ต้องเข้าใจได้หลายภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ เพราะโลกทุกวันนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล (อนาคตอาจจะต้องมีภาษาจีนอีกภาษาหนึ่ง) แต่ความหมายของภาษาในที่มีนัยที่กว้างมากกว่าความหมายข้างต้น มันครอบคลุมถึงการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับลูกน้อง ไม่ว่าคุณจะพูดได้ 12 ภาษาในโลก แต่คุณไม่สามารถพูด”ภาษาคน” ที่ทำให้ลูกน้องเข้าใจ ไม่สามารถจูงใจให้ลูกน้องปฏิบัติตามได้ก็ปล่าวประโยชน์ เรียกได้ว่าไม่มีศิลปะในการพูด ชักจูงนั่นเอง
E=Esteem ซึ่งก็คือการให้เกียรติยกย่อง ทั้งบุคคลที่สูงกว่าและบุคคลที่ต่ำกว่าเพราะมนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การให้เกียรติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำให้เขาเกิดความเกรงใจและเคารพยกย่องเราพร้อมที่จะทำงานให้เราด้วยความเต็มใจ เต็มที่ เต็มเวลา หาไม่แล้วก็จะทำไปแบบแกนๆไม่ได้ใสใจลงไปในงานนั้นถึงแม้งานจะเสร็จสิ้นตามคำสั่ง แต่คุณภาพและจิตวิญญาณของงานนั้นคงหามีไม่ ลองให้เกียรติลูกน้องดูแล้วจะรู้ว่าเกียรติที่เราได้รับคืนมานั้นมันมากมายมหาศาล
A=Atmosphere เป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานผู้นำจะต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ลูกน้องนั้นมีความสุขในการทำงาน เช่น บัตรเครดิตกรุงไทย สร้างห้องทำงานให้กับพนักงานเสียสวยหรู ดูมี Lifestyle สมกับวิถีชีวิตของลูกน้อง มีเก้าอี้นวดไว้ผ่อนคลาย ฯลฯ หรือหากเป็นงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ลองพาหนักงานไปเที่ยวแดนเนรมิตแล้วปล่อยใจให้ว่างเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างนั้นอาจจะแว๊ปความคิดดีๆออกมาก็ได้ใครจะไปรู้
D= Do it closer อยู่ใกล้ชิดกับพนักงานและงานที่ได้มอบหมายไปซึ่งก็คือติดตามงานและดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิดนั่นเอง ไม่ใช่ว่าการทำงานได้แต่สั่งการไม่เคยลงไปดูลูกน้องปฏิบัติงานเลยว่ามีความลำบาก ยุ่งยากแค่ไหน เพื่อที่จะได้หาทางปรับปรุงวิธีการทำงาน หรือสมควรเปลี่ยนเครื่องจักร ฯลฯ เป็นต้น
E=Empower ต้องรู้จักมอบอำนาจ รู้จักไว้ใจลูกน้องให้ลูกน้องได้ตัดสินใจในขอบเขตที่เหมาะสม หากอะไรๆก็ต้องมาให้เราตัดสินใจแล้ว องค์กรจะขับเคลื่อนไปได้ลำบากเหมือ one man show และที่สำคัญเมื่อมอบอำนาจแล้วต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ว่าถ้าลูกน้องตัดสินใจผิดก็ลงโทษให้ตายไปเลยแต่ถ้าหากทำถูกก็กลายว่าเป็นเพราะเรา เรียกได้ว่าอย่า “เอาดีใสตัว(ผู้นำ) เอาชั่วให้คนอื่น (ลูกน้อง) “ อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้นำแบบลูกน้องตายหมด สุดท้ายต้องกินข้าวคนเดียวอย่างเหงาๆและเดียวดาย ต้องทำกลับกัน” เอาดีให้ลูกน้อง หากผิดพลาดต้องรับไว้เอง (เพราะเรามีภูมิคุ้มกันมากกว่า) “
R=Relationship ต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ มีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้องทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ อย่าคุยหรือมีกิจกรรมกับลูกน้องแค่ในงาน เคยรู้หรือเปล่าว่าลูกน้องตัดผมใหม่ มีตุ้มหูคู่ใหม่ ลูกของเค้าสอบเข้าโรงเรียนสาธิตได้ วันนี้วันเกิดลูกน้อง ฯลฯ ถ้าเราได้ใส่ใจสนใจและตั้งใจแล้วข้อมูลอื่นๆที่จะทำให้เราได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ นอกเวลาทำงาน แล้วก็จะสามารถช่วยให้เราเป็น นายที่มีแต่ลูกน้องรัก เคารพ นับถือ และพร้อมจะทำงานให้อย่างสุดชีวิตอย่างแน่นอน
ลองสำรวจตัวท่านเองดูนะครับว่าเราขาดข้อไหนไป เชื่อว่าคุณสมในสองกลุ่มแรกคือ CORE & GENERAL COMPETENCY คงไม่ขาด แต่อาจจะขาดหรือยังมีไม่ถึงที่สุดในส่วนของ SPECIAL COMPETENCY ก็หาเติมเต็มในตัวท่านเองก็แล้วกันนะครับเพราะคุณสมบัตินี้ไม่มีขายอยากได้ต้องหา(ฝึก)เอาเองครับผม
เอ่อ ... แล้วถ้าจะเป็น P.M. ล่ะครับ ต้องจบอะไรมา?
ตอบลบผมหมายถึง Podium Man น่ะ