บอลข่าน ย่านสงคราม
26 เมษายน 25678
ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาผมได้ลางานมากที่สุดในประวัติการทำงานของผม คือลางานทั้งสิ้น 9 วัน รวมวันหยุดต่างๆแล้วจัดทริปไป 15 วัน และนับเป็นทริปต่างประเทศที่ยาวนานมากที่สุดที่เคยเดินทาง ซึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปยังคาบสมุทรบอลข่านที่หลายคนคงสงสัยว่ามันอยู่ตรงใดของแผนที่โลก แต่ถ้าถามว่ารู้จักยูโกสลาเวีย โคโซโว บอสเนีย หรือไม่ก็คงตอบว่าคุ้นเคยมากซึ่งเรามักจะเห็นอยู่ในข่าวอยู่เสมอเกี่ยวกับ สงครามยูโกสลาเวียซึ่งเป็นสงครามที่แสดงความขัดแย้งทางชาติพันธ์ที่อาจจะเรียกได้ว่าร่วมสมัย เพราะสงครามนี้เกิดขึ้นในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1991 ถึง 2001 ความขัดแย้งนำไปสู่การล่มสลายของยูโกสลาเวียในที่สุด
หลังจากนั้นก็แยกเป็นประเทศเอกราชใหม่จำนวน 6 ประเทศ คือ สโลวีเนีย, โครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย และมาซิโดเนียเหนือ (อดีตมีชื่อว่า มาซิโดเนีย แต่ชื่อเหมือนรัฐของตุรกีรัฐหนึ่ง ซึ่งเดิมก็มีชาติพันธ์เดียวกัน ) แต่ทริปนี้ผมยังได้เดินทางไปอีกสามประเทศรวมเป็น 8 ประเทศ (ไม่ได้เดินทางไปสโลวีเนีย) คือ ออสเตรีย ,โคโซโว แต่จริงๆแล้วชื่อ คอซอวอ ที่เป็นรัฐในการดูแลของสหประชาติและเพิ่งเป็นรัฐเอกราชเมื่อ 2551 แค่ 16 ปีเอง และแอลบาเนีย ภายหลังสงครามยุติแต่ละประเทศก็เริ่มต้นฟื้นฟูประเทศนับถึงวันนี้ก็แค่ 23 ปี ก่อนเดินทางไปก็คิดว่าประเทศเหล่านี้คงล้าหลัง ปรักหักพัง ฯลฯ เพราะเพิ่งผ่านสงครามมาไม่นานนัก แต่ปรากฎว่าผิดคาด ทันสมัย (ในระดับหนึ่ง) การคมนาคมขนส่ง ผู้คน แม้จะไม่เจริญหรือมีอารยะเทียบเท่าประเทศในยุโรปอื่นๆก็ตาม แต่ก็ดีกว่าหลายๆประเทศในเอเชียที่มีอารยธรรมมายาวนาน แม้ไกด์จะชี้ให้เห็นถึงรอยกระสุนที่ยังคงมองหาได้ในบางตึก และบางตึกก็ยังคงมีทิ้งร้างพร้อมรอยกระสุน แถมได้ไปดูอุโมงค์ในซาราเจโวที่ใช้ในระหว่างสงครามในการเดินทางเข้าไปรับสิ่งของช่วยเหลือในสนามบินก็ตาม
สิ่งที่ค้นพบในการเดินทางครั้งนี้ก็จะพบว่าทุกประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างเม็ดเงินได้เร็วและตรงไม่ต้องผ่านกระบวนการซื้อวัตถุดิบ ผลิต ขนส่ง ขาย เก็บเงิน ฯลฯ แม้ว่าสถานที่ท่องเทียวยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรเพราะมีแต่ โบสถ์ วิหาร อาราม วัง หอนาฬิกา (ที่มีทุกเมืองเรยนะอิอิ) สแควร์หรือจตุรัสกลางเมือง หรือลานโล่งๆที่ไว้ใช้จัดกิจกรรม และใกล้ๆกันมักจะมีถนนคนเดิน หรือ ตลาดเก่า และมีจุดถ่ายภาพที่จะได้ช่วย ปชส.การท่องเที่ยวไปด้วย หากเราถ่ายภาพๆหนึ่งในกรุงเทพหรือเชียงใหม่ แล้วคนที่ไม่รู้จักไม่เคยมาจะทราบได้ว่าเป็นที่ไหน เราจะทำอย่างไรครับ.....ง่ายมาก และทุกคนอาจจะคาดไม่ถึงก็คือ การสร้างป้ายที่ลานกว้างๆไว้เป็นจุดถ่ายรูปและเช็คอินของเมืองๆนั้น ถ้าในกทม.ผมขอเสนอให้สนามหลวง และมีวัดพระแก้วเป็นฉากหลัง รับรองเป๊ะปังครับเพราะหากมีแค่วัดพระแก้วคนอื่นๆก็ที่ไม่เคยรู้จักหรือเคยมาก่อนก็จะไม่ทราบว่าที่ใด ลองดูตัวอย่างขอ ซาราเจโว กับ ทิรานา เมืองหลวงของแอลบาเนียตามภาพประกอบดูนะครับ
มีข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งคือวีซ่าในการเข้าประเทศ ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่ได้เป็นสมาชิกในอียู และ วีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa) ซึ่งเป็นวีซ่าที่ใช้ในการเดินทางเข้า–ออกประเทศในแถบยุโรป โดยที่หากมีวีซ่านี้ไม่ว่าจะทำที่สถานฑูตประเทศอะไรใน 26 ประเทศก็สามารถเดินทางเข้าออกบรรดาสมาชิกทั้งหลายได้ แต่หากเรามีวีซ่าเชงเก้นแล้วสามารถเดินทางไปยัง 7 ประเทศนี้ได้เรย เปรียบเสมือนว่าได้ถูกกลั่นกรองมาแล้วว่าบุคคลนั้นๆมีคุณสมบัติเพียงพอขนาดประเทศสมาชิกเชงเก้นได้ออกวีซ่ารับรองมาแล้ว ทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วและกระตุ้นให้เกิดการเดินทางได้มากขึ้น บ่อยขึ้นนั่นเอง หรือหากไปอเมริกาใต้หากมีวีซ่าอเมริกาแล้วก็เข้าได้เรยซึ่งระยะเวลาของวีซ่าอเมริกานั้นยาวนาว 5-10 ปี แล้วแต่คุณสมบัติของแต่ละคน หรือ แคนาดาก็ให้วีซ่าเท่ากับอายุพาสปอร์ตของเราที่ใช้งานอยู่ ก็เป็นการเพิ่มโอกาสในการเดินทางซ้ำ บ่อย ถี่ ขึ้นนั่นเอง
น่าที่รัฐไทยจะได้นำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ในการออกวีซ่าเช่น คนที่มีวีซ่าเข้าญี่ปุ่น อเมริกา อียู อังกฤษ สามารถเข้าประเทศไทยได้เรย หรือให้วีซ่าเท่ากับอายุพาสปอร์ตเพราะเราได้ตรวจสอบคุณสมบัติดีแล้วในระดับหนึ่ง (ซึ่งในอนาคตก็สามารถยกเลิกวีซ่าได้ หากข้อมูลเปลี่ยนแปล หรือเป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ ) ลูกค้าผมขนาดมาเมืองไทยเป็นสิบครั้งขอแบบมัลติเพิลวีซ่า ยังได้แค่ 3-6 เดือนเลย น่าจะให้ไปเรย 3-5 ปี จะดีกว่าฟรีวีซ่าคือไม่ต้องทำวีซ่าแล้วเข้าประเทศไทยได้เลยเราก็จะได้ จีนเทา แขกขายโรตีขายถั่วมาเต็มเมืองหรือไม่ ????
หรือวีซ่าอาเซียนไปเรยเพราะเห็นเคยมีดำริเรื่องนี้มาแล้วเป็น 10 ปี ฝาก รมต.ต่างประเทศคนใหม่ล่าสุดที่เพิ่งโปรดเกล้าฯเมื่อวานนี้ด้วยก็แล้วกัน เพราะไหนๆความสามารถในการแข่งขันของประเทศเราลดลงไปเรื่อยๆ ก็เห็นมีแต่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเวลเนส อุตสาหกรรมบริการ นี่แหละที่คงจะพอพยุงเศรษฐกิจของเราได้ จริงหรือไม่ครับท่านนายก “ทักษิณ” เอ้ย..... ท่านนายก “เศรษฐา”....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น