วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

“กีฬาพาสินค้ารุ่ง”










  • สำหรับนักการตลาดแล้วคำว่า “การตลาดกีฬา” หรือ SPORT MARKETTING นั้นนับว่ามีความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงกีฬานั้นอาจจะมองเพียงแค่เรื่องของการหาผู้สนับสนุนการจัดการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นการมอง SPORT MARKETING อย่างแคบ เพราะคำจำกัดความนั้นครอบคลุมถึง ด้าน คือ 1.การทำตลาดของสินค้า หรืออุปกรณ์กีฬา เช่น อุปกรณ์กีฬาไนกี้ แกรนด์สปอร์ต 2.การทำตลาดของบริการทางการกีฬา เช่นคาลิฟฟอร์เนียร์ฟิตเนส สนามฟุตบอล หรือสระว่ายน้ำ รวมทั้งสปอร์ตคอมเพล็กซ์เป็นต้น และรวมทั้งบริการทางข้อมูล ข่าวสารต่างๆด้วยเช่น ทีวีกีฬา หนังสือนิตยสารกีฬาต่างๆ 3.การทำตลาดของการจัดการแข่งขันกีฬา EVENT / LEGUE ซึ่งต้องการสปอนเซอร์ และ จำนวนผู้เข้าชมกีฬา 3.การใช้กีฬาเป็นสื่อเพื่อทำตลาดสินค้าอื่นๆ เช่นการที่บริษัทให้งบสนับสนุนทีมกีฬาต่างๆ ช้างเป็นสปอน์เซอร์ให้กับทีมเอเวอร์ตันเป็นต้น

  • เราจะเห็นได้ว่าสำหรับ 3 ข้อแรกนั้นจะเป็นมุมมองจากคนในวงการกีฬาออกไปสู่การตลาด และเป็นการทำตลาดแบบชั้นเดียว คือแสวงหาความต้องการและตอบสนองความต้องการนั้น ส่วนการใช้กีฬาเป็นสื่อเพื่อทำตลาดสินค้าอื่นๆนั้นเป็นมุมมองของนักการตลาดที่อาจจะไม่ได้อยู่ในวงการกีฬาโดยตรง แต่ประสงค์จะใช้กีฬาเป็นสื่อในการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้เพราะว่ากีฬานั้นใกล้ชิดกับผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า กีฬาและบันเทิงเป็นสิ่งที่นักการตลาดพยายามเข้ามาใช้เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคอันเป็นผลมากจากปัจจัยหลายๆประการ ในสมัยก่อนนั้นการใช้สื่อสารมวลชนเช่น ทีวี หนังสือพิมพ์ และวิทยุ ก็เพียงพอต่อการส่งเสริมการตลาดและการเข้าถึงผู้บริโภค หากจัดงบประมาณอย่างเพียงพอแล้วก็จะสามารถสร้างการรับรู้และยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนมีเวลาน้อยลงไม่สามารถบริโภคสื่อต่างที่มีอยู่มากมายได้ สมัยก่อนเรามีทีวีอยู่ 4-5 ช่อง แต่ปัจจุบันมีมากกว่า 100 ช่องหากรวมทางอินเตอร์เน็ตด้วยแล้วก็คงนับไม่ถ้วนทีเดียว หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารก็เช่นเดียวกันมีมากมายให้เลือก ในขณะที่เรามีเวลาเท่าเดิม คือ 24 ชั่วโมง ดังนั้นการแสวงหาว่าผู้บริโภคประกอบกิจกรรมใดๆบ้างในแต่ละวันและสินค้าหรือบริการ หรือตราสินค้า ไปผ่านโสตประสาทสัมผัสรวมทั้งได้มีกิจกรรมต่างๆร่วมกัน นอกจากนี้แล้วยังเป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในงบประมาณที่เหมาะสม (คิดต่อหัวแล้วถูกกว่า) และยังสามารถวัดผลได้อย่างชัดเจนด้วย เพราะว่าสื่อสารมวลชนได้แค่จำนวนผู้รับสารแต่อาจจะไม่ใช่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรงก็ได้ เช่น เบียร์สิงห์ ซึ่งถูกจำกัดด้วยโฆษณาทางทีวีและสื่อสารมวลชน ก็ได้ปรับยุทธศาสตร์มาเป็นพันธมิตรกับทางสโมสรฟุตบอลอังกฤษในพรีเมียร์ลีกทั้งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และ เชลซี นับว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้เงินน้อยแต่ได้ผลแยะ ไม่รู้ว่าใครจะได้ผลสัมฤทธิ์มากกว่ากันกับช้างที่เป็นสปอนเซอร์หลักให้กับเอเวอร์ตัน เพราะว่าแมนยูกับเชลซีเป็นที่นิยมและมีแฟนคลับมากกว่าในประเทศไทย น่าจะมีคนทำวิจัยเรื่องนี้ดูว่าการเป็นสปอนเซอร์หลักกับการเป็นพันธมิตรซึ่งสามารถเอาภาพนักกีฬาและโลโก้สโมสรมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ กับเป็นสปอนเซอร์หลักมีชื่อสินค้าติดที่หน้าอกเสื้ออันไหนจะให้ผลตอบแทนทางธุรกิจที่ดีกว่ากัน แต่ไม่ว่าวิธีใดสินค้าทั้งสองซึ่งเป็นคู่กัดกันก็ใช้ยุทธวิธีที่เข้าถึงกลุ่มคนดูซึ่งเป็นทั้งแฟนบอลและคอเบียร์ซึ่งมีเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือทับซ้อน
    หากถามว่าน้ำดำเจ้าใดเป็นสปอนเซอร์หลักให้กับการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกสองสามครั้งที่ผ่าน บางทางอาจจะตอบว่า “โค้ก” บางทานอาจจะตอบ “เป็บซี่” แต่ที่คำตอบที่ถูกต้องคือ “โค้ก”



  • แต่ทำไมหลายท่านอาจะตอบว่า “เป็บซี่” ทั้งนี้เพราะเป็บซี่มียุทธวิธีที่แยบยลโดยเอากีฬาฟุตบอลมาเป็นเครื่องมือทางการตลาด (MARKETTING TOOL ) ซึ่งกีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีคนนิยมมากที่สุดในโลกทั้งจำนวนผู้เล่น ผู้ชมทั้งในสนามและทางทีวี อีกทั้งยังมีแมทช์การแข่งขันมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยทางเป็บซี่มีดาราฟุตบอลมาเป็นพรีเซนเตอร์โดยเรียกเล่นๆว่า “ทีมเป็บซี่” ในปี 2008 ซึ่งประกอบด้วยนักฟุตบอลสามกลุ่ม คือ นักเตะประเภทดาวรุ่งพุ่งแรง Messi และ Frabregas กลุ่มที่สองคือนักเตะประเภทสุดยอดฝีตีน Ronaldhinyo และ Lampard ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือประเภท ตำนาน Beckham และ Henry
    ลองมองให้ลึกอีกครั้งซิครับจะพบว่าทุกสองปีจะมี EVENT ฟุตบอลใหญ่ๆสองรายการคือ ฟุตบอลโลก และฟุตบอลยูโร เรียกว่าเตรียมงานแรกเคลียร์งานเสร็จก็เตรียมงานต่อไปได้เลยงานเข้าต่อๆเนื่องตลอด และภาพยนต์โฆษณาทางทีวีของเป็บซี่เองก็ชัดเจนมากๆว่า “ฟุตบอล ฟุตบอลและ ฟุตบอล” ในขณะที่”โค้ก”เองภาพไม่ชัดเอาเลยโดยเฉพาะ ครั้งล่าสุดที่อัฟริกาใต้ เลยเป็นที่มาของการสำรวจในประเทศไทยว่าการรับรู้ในตรายี่ห้อสินค้าของเป็บซี่ใกล้เคียงกับโค้กมาในขณะที่โค้กใช้งบประมาณไปมากกว่าไม่รู้กี่เท่าตัวจนทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของเป็บซี่ในประเทศไทยมากกว่าโค้กซึ่งมีแค่สามสี่ประเทศในโลกเท่านั้นที่เป็บซี่ชนะโค้ก แน่นอนหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย อ้าว........ลืมไปรษณีย์ไทยไปได้ยังไงเพราะทางไปรษณีย์ไทยอยากให้ฟุตบอลโลกจัดทุกปีเลยเพราะขายไปรณียบัตรทายผลได้แค่ปีเว้นปี(คือบอลโลก กับบอลยูโร) คนอะไรก็ไม่รู้ไม่ลงทุนแค่มีพันธมิตรคือไทยรัฐก็รับทรัพย์ไม่รู้เรื่อง เพราะว่าของรางวัลก็มีสปอรเซอร์จ่ายให้โดยมีไทยรัฐเป็นแกนขอสปอนเซอร์ (ซึ่งใครๆก็เกรงใจ) รวมทั้งต้องการเกาะกระแสบอลโลกกันทั้งนั้น เห็นหรือยังครับว่า กีฬาพาสินค้ารุ่งได้จริงๆครับพี่น้อง.............................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...