จั่วหัววันนี้มันมีสองความหมาย “การบินไทยไปไหนดี”
ในความหมายแรกคือเวลาเราจะเดินทางไปต่างประเทศเพื่อพักผ่อนเราก็มักจะถามไถ่กันว่า “ไปไหนดี”
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการเดินทางไปประเทศต่างๆนั้นเรามักจะเดินทางด้วยสารการบินที่มี
ฮับ ในประเทศนั้นๆ เช่น
ประเทศไทยก็คงจะเลือก การบินไทย ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ เป็นต้น
กับสายการบินของประเทศที่เราจะเดินทางไป(ถ้ามีบินตรง) เช่นจะเดินทางไปฮ่องกง ก็คงเป็น
คาเธ่ย์แปซิฟิค หรือ ดราก้อนแอร์
เป็นต้น
ทั้งนี้ก็แล้วแต่เงินในกระเป๋าและความประทับใจในบริการเมื่อเทียบกับราคาค่าตั๋ว แต่นัยะในวันนี้ผมคงจะหมายถึงว่า “การบินไทย”
จะมีทิศทางในการปรับปรุงความล้มเหลวในการบริหารงานที่ผ่านมาอย่างไร ในมุมมองของคนเล็กๆคนหนึ่งที่บินกับการบินไทยปีละไม่ต่ำกว่า
20 ไฟล์ เพราะไม่อยากให้การบินไทยขาดทุน
ปีหนึ่งเกือบ 10,000 ล้านบาท
ในขณะที่สายการบินเอกชนอื่นๆกำไรกันท้วนหน้า ไม่ว่าจะ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์
บางกอกแอร์เวย์
ท่านผู้อำนวยการใหญ่ของการบินไทยได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะใช้ 3S กับ 6 แนวทาง
ซึ่งผมขอนำมาขยายความและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากมุมมองของผู้รับบริการคนหนึ่งที่ขี่การบินไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ไฟล์
3S ที่ว่าคือ 1/ STOP BLEEDING
ความหมายคือการหยุดการขาดทุน 2/STRENGTH BUILDING ร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งให้การบินไทย จากเดิมที่เป็นสายการบินระดับโลกติดลำดับต้นๆ แต่ปัจจุบันหาอันดับไม่เจอ รางวัลที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็น ไวน์ดี
ห้องรับรองดี
เท่านั้นไม่เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
เรามีความแข็งแกร่งแต่มองข้าม ละเลย
ปล่อยวาง จนทำให้วัฒนธรรมของการบินไทยเปลี่ยนแปลงไป จนหาความแข็งแกร่งไม่ค่อยเจอ 3/SUSTAINABLE GROWTH
การสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่งก็จะเป็นผลมาจากการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
สำหรับ
6 แนวทางเพื่อตอบโจทย์แรก คือ STOP BLEEDING
โดยมีเป้าหมายเพื่อลดค่าใข้จ่ายให้ได้ 15,000-20,000 ล้านบาท
ที่มอบหมายให้ประชาคมการบินไทยไปดำเนินการซึ่งกล่าวได้ว่านักบริหารธุรกิจแม้แต่เอสเอ็มอี หรือร้านอาหารตามสั่งก็ต้องทำในลักษณะเดียวกัน ปัญหาสำคัญก็คือ “คนการบินไทย”
พร้อมจะร่วมมือกันปฎิบัติกันได้ หรือปฎบัติกันอย่างจริงจังหรือไม่ ซึ่งทั้ง 6 แนวทางมีดังต่อไปนี้
1.ยกเลิกเส้นทางการบินที่ขาดทุน ดูเหมือนว่าจะยกเลิกไปแล้วได้แก่ โยฮันเนสเบิรก และจะยกเลิกเที่ยวบิน แมดริด กับมอสโคว เป็นต้น
ซึ่งแนวทางนี้สามารถดำเนินการได้ทันที
แต่ที่ตกใจคือการบินไทยมีจุดบิน 72 จุด
แต่เกือบครึ่งหนึ่งบินแต่ละครั้งก็ขาดทุน
โอ้พระเจ้าช่วย
เอสเอ็มอีเล็กๆหากเขามีสินค้า 72
อย่างบางอย่างซื้อมาแล้วขาดขาดทุนเขายังไม่ซื้อมาขายต่อเรยครับ นี่ระดับบริษัทมหาชนระดับโลก ทำไมทนบินในไฟลท์ที่ขาดทุนอยู่ได้ เพราะยิ่งบินยิ่งขาดทุน(แล้วจะบินไปทำไม) หรือเป็นเพราะนักการเมือง ??? แถมพอประกาศออกมาปั๊บ
รมต.ท่องเที่ยวออกมาค้านบอกว่าจะทำให้ขาดไฟท์บินพานักท่องเที่ยวมาเมืองไทย
คำถามง่ายๆถ้ามีนักท่องเทียวมามากพอทำไมไฟลท์นั้นขาดทุน ?? และคำถามคลาสสิค
ทำไมโตชิบา ซึ่งท่านรมต.เป็นเจ้าของทำไมถึงไม่ผลิตทีวีต่อ(คำตอบเพราะทำแล้วขาดทุน 555 )
2.ปรับปรุงฝูงบิน ปัจจุบันการบินไทยมีเครื่องบินทั้งสิ้น 109
ลำ แต่เป็น 9 รุ่น 11 แบบ เฉลี่ย
แบบละ 1:6 ในขณะที่สายการบินแอร์ฟร้าน มี 350 ลำ 6 แบบเท่านั้น เท่ากับ 1:60 ไทยแอร์เอเชียมีกี่ลำไม่ทราบแน่ชัด แต่รู้สึกว่ามี แบบเดียว A320
(ถ้าจำไม่ผิด)
ตัวนี้มันบ่งบอกถึงอะไรท่านทราบหรือไม่ครับต้นทุนค่าใช้จ่ายในเรื่องการสำรองอะไหล่ตามมาตราฐานการบิน
ต้นทุนในการฝึกอบรมนักบินไม่ใช่เหมือนขับรถขับเป็นก็สามารถขับรถเก๋งได้ทุกรุ่น ต้นทุนในการบำรุงรักษา อำนาจต่อรองในการจัดซื้อ ฯลฯ คำถามๆว่าคนการบินไทยไม่ทราบเรื่องนี้เมื่อ
20-30 ปีที่แล้วเหรอครับ
แต่ก็น่ายินดีที่มาคิดได้ตอนนี้ไม่รู้ว่าสายเกินไปหรือไม่
จนขณะนี้กล่าวได้ว่าอายุเฉลี่ยเครื่องบินและสิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องบินอยู่อันดับท้ายๆของชาวบ้านแล้ว 4 ไฟลท์สุดท้ายก่อนเขียนบทความนี้ผมเจอเครื่องทีไม่มีจอทีวีส่วนตัว
ก็ไม่ว่ากันยอมรับเครื่องเก่าแต่ที่รับไม่ได้คือจอที่ฉายหนังนั้นมันมีสีเดียว
“คือสีเขียว”
ถามพนักงานได้รับคำตอบว่าไม่มีอะไหล่ซ่อม
(จอฉายภาพมันมีอายุกี่ชม.ก็ไม่ทราบมันก็เสื่อมจนเหลือสีเดียว) แต่ข่ววงในของผมทราบมาว่าไม่มีเงินซ่อม(คือเห็นว่ายังไม่สำคัญมั้ง) เลยนำเงินไปใช้ในส่วนอื่นๆแทน
คงคิดว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญมากกว่า
แต่ปีใหม่ที่ผ่านมาผมเดินทางไปต้าลี่ลี่เจียง ขาไปการบินไทยสายการบินพรีเมียมจอเขียว
บินในประเทศสายการบินโลว์คอสของจีนจำไม่ได้สายการบินอะร “มีแท้ปเล็ท”
ให้เล่น ดูทีวี แทนจอทีวีส่วนตัวที่พนักพิง “นี่แหละคือวิธีการแก้ปัญหา” ไม่ใช่ไม่มีอะไหล่ซ่อม อิอิ....................แล้วเดี๋ยวนี้แท็ปเล็ทเครื่องละ
1,000 กว่าบาทเท่านนั้นเอง
3.เพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ แก้ได้ง่ายนิดเดียวยกเลิกระบบเอเย่นต์ หรือปรับปรุงระบบเอเย่นต์
ไม่ใช้ให้เอเย่นต์ล้อกที่ไว้ทำให้เสียโอกาสในการขาย หลายครั้งจะจองบิซเนสคลาสปรากฏว่าเต็ม
แต่พอขึ้นเครื่องจริงปรากฏว่าที่ว่าบานตะไท เหตุผลคืออะไรทำไมชาวบ้านจองไม่มี ?? ใครรู้ช่วยตอบทีเถอะ เงิบมาหลายครั้งแล้ว แล้วทำไมไม่บินไป อิสตันบูล
กับ เวียนนา เพราะผมไปทั้งสองเมื่องนี้ในปีที่แล้วที่นั่งเต็มทุกไฟล์
ที่สำคัญบิซิเนสคลาดของออสเตรียนแอร์ไลน์เค้ามีเชฟมาปรุงอาหารให้บนเครื่องบินครับ ไม่ใช้ใช้อุ่นแบบการบินไทย 5555555
4.ปรับปรุงการปฎิบัติการ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย แต่ปรากฎว่าท่านจะเชิญพนักงานเก่าๆ
ที่เกษียณ
มาร่วมกันระดมสมองเพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุง โถ่....แค่คิดก็ผิดแล้วครับ
.............ทำไมไม่เชิญคนนอก
คนที่ใช้การบินไทยประจำ (อย่าผม
อิอะ@@ ) ต้องให้คนนอกมองคนในมองก็มองแบบเดิมๆแถมเอาคนเก่าๆมาอีกโลกมันเปลี่ยนชั่วข้ามคืน
คิดแบบนี้งัยการบินไทยถึงไม่ไปไหน...............ตัวอย่างเช่น ที่สนามบินมะนิลา การบินไทยบินวันละเที่ยวเดียว
แต่มีห้องรับรองเป็นเอกเทศเรียกว่าใช้งานห้องรับรองแค่วันละ 3 ชม.(หรือน้อยกว่า) แต่มีต้นทุนประจำไม่ว่าจะค่าเช่า ค่าพนักงาน ฯลฯ
ทำไมไม่ไปใช้ห้องรับรองกลางโดยการบินไทยจ่ายต่อหัวให้กับห้องรับรองกลางที่สนามบินมะนิลาแทนละครับพี่น้อง
5.การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร อันนี้สำคัญระบบการทำงานและโครงสร้างองค์กรของการบินไทยเป็นแบบกึ่งราชการ
เก้าอีบนเครื่องบินเสียทราบมาว่ากว่าจะซ่อมได้เอกสารจะต้องวนเวียนตามระบบอยู่หลายวัน แต่เครื่องบินต้องบินทุกวัน
วันละหลายเที่ยวด้วยซ้ำสำหรับเครื่องบินระยะสั้น
ทำไมไม่จากกับตันตรงไปยังหัวหน้าช่างเลย
ต้องไปวนหลายวันเหมือนราชการไทย
และการซื้ออะไหล่ก็แบบราชการแต่ไหงกลับมีข่าวทุจริตในทุกขั้นตอน ทุกอย่างต้องใช้จิตวิญญาณในการทำงาน
เรียกได้ว่าถ้าเป็นบริษัทเอกชนเจ้งไปนานแล้ว
ซีอีโอแอร์เอเชียที่เป็นชาวมาเลเซียเคยให้สัมภาษณ์คุณสุทธิชัยหยุ่นว่า สิ่งแรกที่การบินไทยหรือพนักงานการบินไทยต้องคิดคือ
“การบินไทยเจ๊งได้”
เพราะถ้าคิดว่าเจ๊งไม่ได้ก็ทำงานไปเรื่อยๆเหนื่อยก็ไม่ทำ(ไม่ใช่แค่พัก)
สัมภาษณ์ได้ไม่ถึงสองสัปดาห์มีการประชุมปฎิรูปรัฐวิสาหกิจท่านนายกประยุทธออกมาการันตีว่า
“การบินไทยไม่มีวันเจ๊ง”
เงิบกันไปทั้งบางเลยก็แล้วกัน
เราจะมาลองดูกันในอีกสามปีข้างหน้าดีกว่า
คำตอบจะออกมาในรูปใด
6. การจัดกลุ่มธุรกิจของบริษัทอย่างเป็นระบบ โดยให้แยกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางการบิน (Non-Core) อันนี้ขอแสดงความคิดเห็นสั้นๆ ว่าน่าจะทำมาตั้งนานแล้ว...............
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็เพราะรักการบินไทย
อยากเห็นสายการบินนี้อยู่คู่คนไทยและเป็นหน้าตาของประเทศไทย
................ไม่อยากได้ยินว่าค่าตั๋วแพงแต่บริการงั้นๆ ไม่ต้องพูดถึงสิงค์โปรแอร์ไลน์ ตอนนี้อิมิเรสต์ หรือเอธิฮัด ตุรกี
กำลังแซงเราไปแล้วครับ.............บอกได้คำเดียวเสียดาย #######
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น