ชื่อเรื่องวันนี้อาจจะผสมผสานทั้งภาษาไทยและอังกฤษไม่มีอะไรครับ ตั้งชื่อเพื่อให้มันสอดคล้องแถมเพื่อเพิ่มความจุงใจในการติดตามเท่านั้นเอง เพราะไปได้ไอเดียมาจากการพานักศึกษา ป.เอก
การจัดการกีฬาของมหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์
ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นโดยครั้งนี้ได้เดินทางไปดูงานถึงสามหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น
ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นก็มีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
มหาวิทยาลัยแรกคือ JUNTENDO UNIVERSITY ที่มหาวิทยาลัยนี้มีกิจกรรมหลักคือ
การที่อาจารย์ทั้งสองมหาวิทยาลัยมาบรรยากแลกเปลี่ยนกันฝ่ายละ 4 คน ใน 4
หัวข้อ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกีฬา
นับว่าได้แนวคิดและข้อมูลมามากมาย
มหาวิทยาลัยที่สองคือ TSUKUBA
UNIVERSITY เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง
ซึ่งที่นี่เราได้ศึกษาดูงานและอุปกรณ์การเรียนการสอนของเขา
ที่นับว่าล้ำหน้าไปกว่าบ้านเราไปมาก(ซึ่งก็ไม่แปลก) สระว่ายน้ำของเขาด้านข้างจะเป็นกระจกเหมือนกับตู้ปลาเรย
โดยมีกล้องสำหรับถ่ายวีดีโอเก็บไว้เพื่อการศึกษาและวิจัย
เรียกว่าอุปกรณ์พร้อมรวมทั้งนักศึกษาของเขาศึกษาอย่าจริงจังตั้งคำถามและคิดอย่างมีระบบ
มหาวิทยาลัยที่สามเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากคือ
WASEDA
UNIVERSITY
เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่เก่าแก่
ที่นี่พวกเราไปช่วงที่มีงานประชุมวิชาการนานาชาติพอดีก็เลยได้เข้าร่วมประชุมไปด้วย มีศาสตราจารย์จากยุโรปน่าจะเป็นเบลเยี่ยมมาเป็นองค์ปาถก
และหลังจากนั้นก็เป็นการมอบรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นและให้นักศึกษาที่ได้รางวัลนั้นนำเสนอผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์
นับว่าน่าทึ่งมากนักศึกษาคนแรกเนื้อหาวิชาการที่นำเสนอนั้นก็คล้ายกับงานในบ้านเรา เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ J-LEAGUE D2
ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่นสองนั่นเอง แต่ว่าสิ่งที่นักศึกษาของเราอ้าปากค้างคือภาษาอังกฤษครับ
เขานำเสนอแบบไม่ติดขัดภาษาที่ใช้ก็งดงามและเทคนิคเรื่องราวก็ตัดตอนมาเฉพาะที่น่าสนใจ ผมได้แนะนำนักศึกษาเราไปว่า เนื้อหาอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจแต่เทคนิควิธีการนำเสนอต้องให้ความสนใจมากกว่าเพราะว่าหากเนื้อหาดีแต่นำเสนอแบบไม่น่าสนใจก็จะไม่มีคนติดตาม
เลยคิดกันว่าต้องมาปรับปรุงและฝึกนักศึกษาเราให้นำเสนออย่างมืออาชีพมากขึ้น
ไปเที่ยวนี้ท่านอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ท่าน ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์
ได้กล่าวถึง “นวตกรรมทางความคิด”
ซึ่งเชื่อได้ว่าท่านได้แนวคิดและแรงบรรดาลใจมากจากการที่ไปศึกษาที่ญี่ปุ่นทั้ง
ป.โทและเอกนั่นเอง
ท่านกล่าวว่าองค์ประกอบของ “นวตกรรมทางความคิด” คือ
คิดต่าง / คิดสร้างสรรค์ / คิดนอกกรอบ ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยเรามีน้อยและก็ไม่โทษใครโทษที่ระบบการศึกษานั่นเอง แต่ถึงแม้ระบบการศึกษาเราจะไม่เอื้อต่อนวตกรรมทางความคิดนั้น ก็สามารถแสวงหาได้จากองค์ความรู้อื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ ภาพยนต์
การเดินทางท่องเที่ยว หรือศึกษาดูงานเป็นต้น
ก็เลยอยากจะนำมาผูกกับการทำธุรกิจว่าจะสามารถแข่งขันได้อย่างไรในโลกของธุรกิจที่นับวันการแข่งขันก็สูงขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคก็มีความหลากหลายขึ้น ทำอย่างไรจะได้เป็นผู้มีชัยในในการแข่งขัน ซึ่งอาจจะสรุปได้ว่ามี 3 IN ดังนี้
INTREND คือความนำสมัย
ส่วนใหญ่ธุรกิจบ้านเราจะทำตามสมัยนิยม
เรียกได้ว่าใครทำอะไรแล้วรวยก็แห่ทำตามกัน
เช่น ขายกาแฟ เดี๋ยวนี้ซาไปแล้วเพราะเจ๊งมากกว่ารวยคิดจะเป็นสตาร์บัคกันทั้งเมืองเพราะเราไปตามสมัย
แต่บางครั้งการนำสมัยก็ต้องดูที่ลูกค้าของเราด้วยว่าพฤติกรรมลูกค้าเป้าหมายเป็นอย่างไร เคยไปอบรมให้โอท้อปมีผู้มาหารือว่าจะทำเคสโทรศัพท์มือถือที่ทำมาจากกระจูดสาน ??
ผมก็เลยถามกลับว่าแล้วลูกค้ามีความต้องการหรือไม่ในกรณีนี้ผมมีความคิดเห็นว่าไม่น่าจะเกิดเพราะไม่สอดรับกับพฤติกรรมและสินค้าครับ
INVENT ต้องรังสรรค์
หรือประดิษฐ์ขึ้นมา
คือการประดิษฐ์สินค้าใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
แน่นอนว่าญี่ปุ่นเป็นเจ้าแห่งความคิดอันนี้ และที่ตามมาติดๆคือเกาหลีโดยจะเห็นได้จาก
โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อีเลคโทรนิคต่างๆ
INNOVATE นวตกรรม หรือการแปลงโฉม ปรับปรุง
ต่อยอด บูรณะจากของเก่าเพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะลูกค้ายุคใหม่เปลี่ยนใจเร็วและแรง กรณีนี้สายการบินไทยอาจจะล้าหลังมากๆ
ผมบ่นบ่อยๆว่าเครื่องรุ่นเก่าของการบินไทยไม่มีจอทีวีส่วนตัว
แถมจอส่วนกลางยังมีสีเดียวคือสีเขียวเพราะเครื่องมันหมดสภาพแล้วอะไหล่ไม่มีซ่อม(จริงหรือเปล่าไม่รู้?) ซึ่งแปลว่าคุณโชคไม่ดีที่ได้บินกับเครื่องบินลำนี้
(ซวยไป) 555
แต่ผมไปขึ้นเครื่องประมาณว่าโลว์คอสของจีนปรากฏว่า มีแทปเลต
ให้ผู้โดยสารเล่นระหว่าการเดินทางแถมเดี๋ยวนี้แทบเล็ตก็ราคาแค่เครื่องละพันกว่าบาท คำถามถามว่า
“การบินไทยคิดได้ป่าว” ไม่บอก.......เพราะไม่ทันคิด หรือ
คิดไม่เป็น
ไม่รู้.................ตัวใครตัวมัน
เพราะท่านนายกประยุทธบอกการบินไทยไม่มีวันเจ๊ง........อนิจจาความสุขประเทศไทย...@@@
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น