วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

“เศรษฐกิจไทย ไยไม่ฟื้น”



                          
                            บทความนี้ผมเขียนเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558  ซึ่งก็เหลืออีก 5 วันก็จะหมดไตรมาสแรกของปี 2558 หรือเดินทางมาถึงครึ่งปีงบประมาณ2557-2558   ซึ่งงบประมาณของรัฐนั้นเริ่มนับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557   เรามักจะได้ยินพ่อค้าแม่ค้าบ่นกันว่าค้าขายไม่ดี   แม้แต่ขนมถังแตกยังต้องมีโปรโมชั่นเลยซื้อ 5 แถม 1 ไม่เคยเห็นว่าสินค้ารถเข็นจะมีโปรโมชั่นแบบนี้มาก่อน  ถ้าขายดีแกคงไม่ต้องมาโปรแบบนี้จริงมั๊ยครับ    และล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ออกมาปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2558  ว่าจะโตเพียง  3.8% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 4.0%  ด ก็คงพอจะมองเห็นทิศทางของภาวะเศรษฐกิจในบ้านเราได้เป็นอย่างดี



                             ทีนี้มาดูสาเหตุกันเพราะว่าโดยภาพรวมหรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจมหภาคนั้น  การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่างสามารถวัดได้จากการเจริญเติบโตของ   ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product: GDP) ซึ่หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของ ประชากรในประเทศนั้น ๆ  แต่ก็ไม่สามารถวัดถึงขีดความสามารถในการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม  หรือบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้    แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนก็เป็นสิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตของประเทศ

                                วิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจ GDP ดังนั้น ซึ่งมีเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ 4 ตัว    อธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่าย ดังต่อไปนี้ซึ่งในแต่ละเครื่องยนต์นี้มีปัญหาอุปสรรคมากมาย

GDP = C + I + G + NE หรือ C + I + G + (X - M)

Consumption (C) หมายถึง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมดเช่น อาหาร ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อบ้านหลังใหม่   ซึ่งเครื่องยนต์ตัวนี้เดี้ยงไปด้วยสาเหตุหลายประการ  ประการแรกเลยคือสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ  ไม่ว่าจะข้าว ยาง ฯลฯ ซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศ  นอกจากนี้แล้วความเชื่อมั่น  ของผู้บริโภคที่ลดลง  โดยดูจากดัชนีควาเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง  มกราคม อยู่ที่ 80.4  กุมภาพันธ์ ลดเหลือ 79.1 นับเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง  3 เดือนแล้ว  และยังไม่มีแนวโน้มหรือสัญญาณใดๆว่าจะดีขึ้นในสองสามเดือนข้างหน้า   สินค้าส่งออกลดลงเป็นเดือนที่สามอีกเช่นกันมันก็มีผลกระทบต่อกำลังผลิต  การจ้างงาน  และความแน่นอนของเศรษฐกิจ   เป็นปัญหาลูกโซ่

Investment (I) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน เช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น   เมื่อการบริโภคลดลง การส่งออกลดลง  มันก็มีผลให้การลงทุนลดลงเป็นเงาตามตัว  เพราะการบริโภค  และการส่งออก(ก็คือการบริโภคของลูกค้าในต่างประเทศ)    หากมีคนซื้อคนขายย่อมต้องผลิตและสรรหาสินค้ามานำเสนออย่างแน่อน    ยกเว้นอยู่อย่างเหนึ่งว่าถ้าการใช้จ่ายของรัฐบาลมีการลงทุนฯลฯ  ก็จะทำให้การลงทุนเติบโตได้เช่น รัฐมีเมกะโปรเจค  เช่นโครงการบริหารจัดการน้ำ  รถไฟความเร็วสูง  การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ ก็จะเป็นตัวช่วยอยู่แรงหนึ่ง

Government Spending (G) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ   ซึ่งปรากฎตัวเลข ณ วันที่ 6 มีนาคม ของสำนักงบประมาณ (คือ 5 เดือน 6 วัน ของงบประมาณ 2557-58 )  ปรากฏว่า มีปัญหาโดยผมจะแยกเป็นส่วนๆดังนี้

                                งบประจำ  อันได้แก่เงินเดือน และค่าใช้จ่ายประจำ  2.1 ล้านล้าน  83.6% ของงบประมาณทั้งหมดสามารถเบิกจ่ายได้ถึง  48 % ซึ่งไม่แปลกเพราะชื่อก็บอกแล้วเป็นค่าใช้จ่ายประจำก็ต้องจ่ายประจำ

                                งบลงทุน  ที่จะมาสร้างสาธารณูปโภค  และ โครงการต่างๆที่จะทำให้ประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น มีงบประมาณแค่ 0.449 ล้านล้านบาท( ประมาณ 5 แสนล้านบาท)  ปรากฏว่าเบิกจ่ายได้แค่  19 % เท่านั้นทั้งที่ผ่านมาเกือบจะครึ่งปีงบประมาณเท่านั้น  ส่วนสาเหตุของการล่าช้านั้นก็ต้องไปแสวงหาเอาเองครับท่าน 

                                แต่ที่สงสัยคือประเทศไทยยิ่งปฎิรูประบบอะไรมันก็วนไปวนมา   แถมหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐมากขึ้นเป็นลำดับแทนที่จะกระชับ  มีประสิทธิภาพ   หรืออย่างการศึกษาเมื่อก่อนก็แยกกันระหว่างประถมกับมัธยม  ก็เอามารวมกันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาวันนี้จะกลับไปเหมือนเดิมแล้ว  เพลียใจประเทศไทยจริงๆ

Net Exports (NE) หมายถึง การส่งออกสุทธิ หรือการส่งออก (X) ลบด้วยการนำเข้า (M) นั่นเอง ที่ต้องลบการนำเข้าเพราะตัวเลขการบริโภคสินค้าและบริการที่นำเข้ามาบริโภคจะ รวมไว้ใน C, I, และ   ซึ่งเดือน มกราคมก็ติดลบ  กพ.ก็คาดว่าจะติดลบเช่นเดียวกัน  เพราะยอดส่งออกติดลบทั้งสองเดือนเมื่อเที่ยบกับเดือนเดียวกันของปี 2557   ก็ได้แต่โทษว่าเศรษฐกิจโลกชลอตัว  (แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรือ??)  

                                 สรุปสุดท้ายเครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัวเดี้ยงหมดแล้วเศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนใยถึงยังไม่ฟื้นคงได้คำตอบแล้วนะครับ  แต่ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีเล็กๆหลงเข้ามาเหมือนกันก็คิ  “การท่องเที่ยว”  มาเป็นพระเอกหลังจากที่ปี 2557 ตัวเลขนักท่องเที่ยวติดลบไป  6.6 จาก 26.54 ล้านคน เหลือแค่ 24.74 ล้านคน  โดยปีนี้ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีถึง 27 ล้านคนซึ่งก็มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ (แต่อย่างน้อยที่สุด 26 .54 ล้านได้แน่ๆ)  เพราะดูจากตัวเลขเดือนมกราคม 2558 เติบโตถึง  16%  มียอดนักท่องเที่ยวถึง 2.28 ล้านคน  โดยตลาดที่เดิบโตอย่างมีนัยะสำคัญคงไม่แปลที่จะบอกว่า จีน  เพิมขึ้นถึง 83%  จำนวนนักท่องเที่ยว  3.5 แสนคน  เวียดนาม ที่เดิบโตถึง  56%   บังคลาเทศ 75%   เนปาล 33%  สิงคโปร์ 49%   แน่นอนว่ายุโรปติดลบ   -14อเมริกา บวก 1%   ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยตัวเดียวที่ยังทำงานอยู่ก็ขอภาวนาให้สงกรานต์นี้เข้ามากันเยอะๆนะโยม  ไม่งั้นอาตมาต้องเผาจริงแล้ว ..............เศรษฐกิจไทย.....###

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...