และแล้วกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีทีก็ได้รับการอนุมัติจาก
คณะรัฐมนตรีให้เปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” นับเป็นก้าวที่ตอบโจทย์ดิจิตอลอีโคโนมีที่ทางรัฐบาลลุงตู่ได้ประกาศไว้เมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว
ซึ่งถ้าเปลี่ยนแต่ชื่อแต่วิธีคิดไม่เปลี่ยนการปฎิบัติไม่เปลี่ยนก็คงไม่มีความหมายอะไร
ก่อนอื่นเรามาดูคำจำกัดความว่ามันหมายถึงอะไรหากสรุปง่ายๆสั้นๆก็คือ “เศรษฐกิจที่ใช้เครื่องมือทางดิจิตอลเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสร้างมูลค่าเพิ่ม” ง่ายๆสั้นๆ
แต่ขยายความได้เป็นกิโลเพราะเราคงไม่สามารถเป็นผู้ส่งออกข้าว ยางพารา
สินค้าเกษตร(ไม่แปรรูป)
และครองแชมป์ได้อย่างแต่ก่อนเพราะว่าโครงสร้างต้นทุนเราสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ลาว เขมร เมียนมาร์ เวียดนาม รวมทั้ง ประเทศในเอเชียใต้ในเรื่องของสิ่งทอ
รองเท้า ฯลฯ
มีทางเดียวที่เราจะอยู่รอดได้คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไม่ว่าจะเป็น เกษตรแปรรูป
ซึ่งหมายถึงเอาผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ไม่ใช่ขายแต่ไข่ ขายเนื้อไก่ เนื้อกุ้งแช่แข็ง อย่างนี้อีกไม่เกิน 10 ปีจอดไม่ต้องแจว หรือการสร้างสินค้าทีมีนวตกรรม ซึ่งผมได้เคยเขียนไว้ในเรื่อง 3IN WIN ทุกสนามแล้วนะครับว่าเราจะทำอย่างไรให้ชนะในการแข่งขันในโลกการค้านี้
หลังจากนั้นก็ทราบข่าวดีมาว่ารัฐได้มีข้อสรุปกับหน่วยงานที่มีไฟเบอร์ออพติค คือ
กสท ทศท เอไอเอส ทรู ดีแทค ทั้ง 5
ยอมร่วมมือกันในการรวมโครงข่ายเข้าด้วยกัน
ด้วยการแปลงทรัพย์สินเป็นหุ้น
คือเป็นผู้ถือหุ้นในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต
แล้วหน่วยงานใดมาใช้ก็จ่ายเงินค่าใช้ตามปริมาณอะไรประมาณนี้ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ฮาร์ดแวร์ (ไม่รู้ว่าราชบัณฑิตจะให้ผมแก้เป็น หนักภัณฑ์ เหมือนโรฮิงจา หรือเปล่า 555 ) ได้มารวมศูนย์กันเป็นการช่วยชาติประหยัดเงินตราในการที่แต่ละค่ายต้องใช้เงินขยายเครือข่ายกันเอง เรื่องเสาโทรศัพท์มือถือก็เหมือนกันผมเคยพูดในหลายเวทีว่าทำไม่ไม่รวมกัน ประหยัดเงินตราต่างประเทศ
(เพราะเราต้องนำเข้าทั้งหมด) ซึ่งอย่างแรกเรยจะทำให้ต้นทุนในการใช้อินเตอร์เน็ตลดลงเป็นอย่างมากนั่นเอง โดยสอดรับกับแนวคิด “ถูก ดี
มีทั่วถึง”
ต่อจากนี้ก็เหลือซอฟแวร์แล้วหละครับว่าเราจะมีวิธีการดำเนินกิจกรรม กันอย่างไรให้เกิดมรรคผลจากฮาร์ดแวร์ที่มี
มันเหมือนกับมีเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์แล้วเราเอามาใช้งานแค่ เล่นเฟสบุค
ดูหนัง ฟังเพลง เข้ายูทูป มันก็ไม่เกิดมรรคผลเท่าที่ควร ชิมิ
.................สิ่งที่ต้องสานต่อคือซอฟแวร์ต่างๆ หรือ
ทิศทางการดำเนินงานให้เกิดมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าไทย หรือนำเอาสิ่งที่มีอยู่มาเพิ่มประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล ในการบริหารกิจการ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิต
การตลาด การจัดการ การแสวงหาลุกค้า การบริหารข้อมูล ฯลฯ
จนสามารถเป็น E-GOVERNMENT
E-FINANCE E-MARKETING หรือการส่งเสริมให้มีการศึกษาทางด้านดิจิตอล และความคิดสร้างสรรค์กันอย่างกว้างขวาง ทราบมาว่าทางกันตนามีการสอนเรื่องอานิเมชั่น รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆก็มีการเรียนการสอน
ในเรื่องของคอมพิวเตอร์กราฟฟิคกันอยู่ไม่น้อย
แต่สุดท้ายที่ต้องฝากไว้คือทำอย่างไรงานที่ออกมามันมีความคิดสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่มได้นั่นเอง
คล้ายกับเรามีนักคอมพิวเตอร์ที่เก่งกาจสามารถเขียนโปรแกรมได้ทุกอย่างแต่สิ่งที่เขียนมาไม่สอดรับกับความต้องการของลูกค้า หรือเรียกว่ามันไม่โดน ก็ไลฟ์บอย
ชิมิ....
ก็เรยอยากจะฝาก 3D
และ 5 ช. ไว้ให้เป็นแนวคิดสำหรับ “เศรษฐกิจดิจิตอล”ดังนี้
1.DIGITAL COMMERCE เรื่องนี้เราเริ่มกันมาพอสมควรแล้วสำหรับการนำอินเตอร์เน็ตมาใฃ้ในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล ขายสินค้า
สื่อสารกับคู่ค่า ฯลฯ
2.DIGITAL CREATIVE
สิ่งที่จะนำเสนอต้องสร้างสรรค์
และโดยใจคู่ค้า ตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าทางด้านบันเทิง ศิลปะ
3.DIGITAL VALUE CREATION เป็นการเอาเทคโนโลยี่มาสนับสนุน เสริมสร้าง ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การขาย
การขนส่ง การปฏิบัติงาน ลดต้นทุน เพิ่มความพึงพอใจลูกค้า / คู่ค้า /
พันธมิตรทางธุรกิจ
และการบูรณาการข้อมูลต่างๆ
ข้อมูลสำหรับคนไทยในปี
2558 ประชากรมีทั้งหมด 67 ล้านคน แต่มีเบอร์มือถือจดทะเบียน 94 ล้านเบอร์ ในจำนวนนี้ ใช้อินเตอร์เน็ต 44 ล้านเบอร์
และเป็นสมาร์ทโฟนเซีย 29
ล้านเบอร์ อุแม่เจ้าอีกไม่นานก็จะครบ 100
ล้าน
แต่พอดูว่าสมาทโฟนคนไทยใช้ทำอะไร
79 % ใช้แชต (ว่าไม่ได้ต้องแชต) 57%
อ่านข่าว( อันนี้ต้องไปดูเชิงลึกดูข่าวซ้อเจ็ดหรือข่าวอะไร) 56% ใช้หาข้อมูล (ต้องดูเชิงลึกอีกว่า หารูปโป๊ ป่าว
555) พอจะสรุปได้ว่านิสัยคนไทย มี 5 ช
ชม เช็ค แชร์
โชว์ ช้อป
ซึ่งอันหลังนี้และจะทำให้เศรษฐกิจดิจิตอลเกิดได้ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น