ยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดอะไรๆก็ดูเหมือนจะขายไม่ค่อยดี ตั้งแต่ไฮโซจนรากหญ้ามีปัญหากันหมด สำหรับรากหญ้าแล้วไม่ต้องสงสัยเงินในกระเป๋าน้อยลงก็จำเป็น (ขอย้ำว่าจำเป็น) ต้องใช้น้อยลงจนเป็นตัวทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไปไม่ถึง 3 % แน่ๆ แต่สำหรับไฮโซแล้วเงินในกระเป๋าไม่น้อยลงแต่ปัญหามันอยู่ที่ “อารมณ์” ในการจับจ่ายใช้สอยไม่มี ยกเว้นอยู่พวกนึงที่เป็น SHPAHOLIC ซึ่งเป็นพวกประมาณลูกอีช่างซื้อไม่ว่าอะไรจะเกิดขอให้เปิดกระเป๋าซื้อ พวกนี้จะไม่อิงเศรษฐกิจหรือรายได้เป็นพวก “ขี้สงสาร” กลัวคนขายของจะอยู่ไม่ได้เจออะไรซื้อหมด ทั้งหลายทั้งปวงนี้นี่เองทำให้การบริโภคภายในประเทศไม่ขยายตัวเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะยี่สิบปีที่ผ่านมาเราพึ่งพิงการส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ บางคนอาจจะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงทำไมต้องขยายตัวด้วยอันนี้ก็ต้องไปอ่านบทความเก่าๆของผมเพราะได้ขยายความไว้แล้ว เพราะถ้าขยายตัวมากเกินไปหรือไม่ขยายตัวหรือติดลบเลยก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไปทั้งสิ้น เข้าเรื่องวันนี้ดีกว่าเพราะตั้งใจจะเล่าถึงเรื่องว่าในยามเศรษฐกิจเป็นแบบนี้คนค้าขายมีทางเดียวที่จะทำให้ยอดขายเพิ่มหรือตกลงน้อยที่สุดก็คือ “การโปรโมชั่น”
การโปรโมชั่นก็มีพัฒนาการของมันในตัวเองจากเดิมที่โหมโฆษณาในสื่อกระแสหลักไม่ว่าจะทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ ที่เป็นแมสคือกระจายและรับรู้ในวงกว้าง ก็ปรับมาเป็นการมุ่งสือสารกับลูกค้าเฉพาะกลุ่มให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือก็มีการพัฒนาไปกตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบันจะเห็นว่าสื่อทางโซเชียลมีเดียมีราคาถูกมาก แถมตรงกลุ่ม แถมมีประสิทธิภาพสูง แถมสามารถวัดผลได้อย่างแท้จริง โอ้ย....อะไรจะแถมมากมายขนาดนั้น สื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นอนาคตเราอาจจะเห็นว่าเมื่อเราเดินเข้าไปในศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง อาจจะมีป๊อปอัพนำเสนอการโปรโมชั่นสินค้าที่เราซื้อหรือใช้เป็นประจำขึ้นมา อะไรจะเป็นคุณแม่รู้ดีปานนั้นซึ่งไม่ยากเลยเขาก็เอาข้อมูลจากที่เราโพสลงในโซเชียลมีเดีย ข้อมูลจากบัตรเครดิต ข้อมูลจากการเมนต์ต่างๆ การซื้อสินค้ามาบูรณาการให้เกิดข้อมูลที่เฉพาะตรงแต่ละบุคคลแล้วนำเสนอข้อเสนอที่มิอาจปฏิเสธได้ อาจจะรู้ว่าทุกปีใหม่เราจะซื้อน้ำหอมยี่ห้อนี้สองขวด พอเดือนพฤศจิกายนเดินเข้าศูนย์การค้าก็จะป๊อบอัพขึ้นมานำเสนอซื้อสองขวดลด 30% แล้วจะอดใจไหวเหรอพี่น้อง
แล้ว “ข้ามสายพันธุ์” ละ เป็นโปรโมขั่นแบบใด เพราะเร็วๆนี้เห็นโปรโมชั่นแบบนี้บ่อยขึ้นถึ่ขึ้น ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจให้เข้าใจตรงกันเสียก่อนว่า “ข้ามสายพันธุ์” หมายถึงการนำสินค้าสองชนิดที่ต่างหมวดหมู่กัน ( CATEGORY) มาทำโปรโมชั่นกัน ( CROSS PROMOTION) ตัวอย่างเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าชาร์ป ทำโปรโมชั่นกับอโกด้า ซึ่งเป็นเว็บสำหรับจองโรงแรมที่เป็นที่นิยมมากเป็นที่รู้จักกันดีของผู้เดินทางบ่อยๆ คือซื้อสินค้าตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปจะได้รับสิทธิ์ในการจองโรงแรงกับทางอโกด้าเป็นมูลค่า 7,000 บาท ถ้าดูเผินๆก็เหมือนกับเป็นส่วนลดถึง 14% แต่ข้อเท็จจริงคือ ชาร์ปไม่ได้จ่ายเงินให้อโกด้าเต็ม 7 พันบาท (เท่าใดไม่รู้) และอโกด้าก็ไม่ได้จ่ายให้โรงแรม 7 พันบาทเช่นกันเพราะมูลค่าที่พักโรงแรมที่ปรากฏในเว็บอโกด้านั้นเป็นราคาขายไม่ใช่ต้นทุนที่แท้จริงของอโกด้า และแน่นอนชาร์ปก็ไม่ได้จ่ายเต็มเพราะเป็นโปรโมชั่นร่วม แต่สิ่งที่อโกด้าได้คือการประชาสัมพันธ์โดยใช้ช่องทางที่ชาร์ปได้โฆษณาแคมเปญนี้ แถมเมื่อลูกค้าเข้ามาใช้สิทธิ์ก็จะเป็นการรับรู้ถึงประสิทธิภาพของอโกด้า (ในกรณีที่ยังไม่เคยใช้บริการของอโกด้ามาก่อน) เราเรียกว่าการ AWARNESS และ EXPERIENCE ซึ่งต้องบอกว่าบริการเว็บนี้ดีจริงๆผมใช้เป็นประจำมาหลายปีดีดักแล้วครับ ไม่เคยมีข้อผิดพลาดเรยแถมราคาก็ยังถูกกว่าจองกับโรงแรมโดยตรงข้อมูลเป๊ะเว่อร์เลยพี่น้อง เห็นยังใช้ดีแล้วบอกต่ออิทธิพลของ WORD OF MOUTH
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งซัมซุงเอส 6 ออกโปรโมชั่นแถมตั๋วเครื่องบินนกแอร์ในประเทศไปกลับซึ่งมูลค่าจริงแล้วประมาณ 3000 บาทเอง แต่ดูเหมือนแถมตั๋วเครื่องบินนี่มันช่างเลิศหรูอลังการ์ ชิมะ...หรือ เตารีดฟิลลิปส์ แถมคูปองไปซื้อเสื้อ หรือซื้อเสื้อแถมคูปองไปลดเวลาซื้อเตารีด หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เครื่องใช้ไฟฟ้าพานาโซนิคร่วมกับสำนักพิมพ์อัมรินทร์ โปรโมทหนังสือทำขนมปังกับเครื่องทำขนมปังร่วมกัน ก็นับว่าเป็นการโปรโมชั่น “ข้ามสายพันธ์” ที่บางเรื่องก็เกี่ยวพันกันคืออาจใช้ร่วมกัน บางเรื่องก็ไม่เกี่ยวกันโดยสิ้นเชิง แต่ก็ต้องมี “ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย” ที่เป็นกลุ่มเดียวกันนะครับ ไม่ใช่ ซื้อซัมซุงเอส 6 แถมยาหม่องตราม้าบิน 10 โหล อันนี้มันก็ข้ามทั้งสายพันธุ์และข้าม3โลกไปด้วยเรย ก็ฝากให้พิจารณากันให้ชัดก่อนจัดโปรครับผม ...@@@@