“เสก โลโซ” ไอเดียบรรเจิดผุดธุรกิจร้านสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ “โลโซ
22” แข่ง “เซเว่นอีเลฟเว่น” ประเดิมสาขาแรกที่
สุขาภิบาล 5 รามอินทรา เล็งจ่อขยายสาขาตั้งเป้าเปิดทั่วประเทศ “เครดิต
: ผู้จัดการ 24
สิงหาคม 2558
ทำให้เป็นที่ฮือฮาอยู่พอสมควรสำหรับ
นักร้อคเกอร์ชื่อดังที่มีข่าวกับคู่กรณีที่เป็นภรรยาอยู่อย่างสม่ำเสมอ และราคาล่าสุดที่เคาะราคามา เสก โลโซ ก็ได้เปิดขายแฟรนไชส์ร้านมินิมาร์ท
โลโซ 22 แล้ว สนนราคาที่ 1,490,000 บาท
พร้อมเงินค้ำประกัน 5 แสนบาท โดยบอกว่าใครสนใจก็ให้คอมเม้นท์ติดต่อมาเลย.. เครดิต : “เว็บไซท์กระปุก.คอม
25 กันยายน 2558 “ ผมไม่แน่ใจว่าถ้าซื้อแฟรนซ์ไชส์เซเว่นฯราคาเท่าใด แต่เมื่อหาข้อมูลดูก็ทราบว่า แฟรน ไชส์ 7-11 ราคาเริ่มต้นที่ 1.5 ล้านบาท ในนี้จะประกอบด้วยวงเงินค้ำประกัน 1 ล้านบาทจะได้รับคืนเมื่อสินสุดสัญญาพร้อมดอกเบี้ย
ส่วนอีก 5 แสนบาทเป็นเงินลงทุน - เครดิต: http://www.bangkoktoday.net/7-11-franchise/#sthash.VOCmTMIS.dpuf โอ้โฮ....เสก ช่างกล้าหาญมากที่ตั้งราคาเดียวกับเซเว่นภาษาวัยรุ่นว่า
“นายแน่มาก” เท่านั้นยั้งไม่พอยังกล้าหาญออก โทรศัพท์มือถือ กับ
เครื่องดื่ม แบรนด์ “โลโซ” อีกด้วย
ใครกล้าซื้อแฟรนซ์ไชส์ “โลโซ 22”
บ้างยกมือขึ้น “เงียบ” เสก
คงนึกเอาเองว่าการทำธุรกิจนั้นคงง่ายเหมือนการแต่งเพลง คงลืมไปว่าการทำธุรกิจนั้นมีแบรนด์แต่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ไม่มีใครเถียงว่า”เสก”
มีแฟนคลับอยู่พอสมควร
แต่แฟนเพลงกับลูกค้าที่จะมาซื้อสินค้านั้นแตกต่างกัน ต่างกันทั้งทางด้านประชากรศาสตร์ เช่น เพศ วัย รายได้ อายุ ถามว่าคน 50อัพจะสนใจสินค้าแบรด์ “โลโซ”
หรือไม่ แล้วถ้าร้านโลโซ22มีสาขา5 หรือ
10 สาขาเราปลื้มเสกมากอยู่สะพานควายแต่สาขาอยู่หนองแขม บางบอน
พระราม2
เราจะถ่อไปซื้อหรือไม่
คำตอบคือไม่แน่นอนไม่เหมือนมีคอนเสิรต์โลโซในที่ดังกล่าวเราจะดั้นด้นไปชมคอนเสิรต์อย่างแน่นอน ชิมิชิมิ
เพราะลักษณะของสินค้าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งส่วนนี้คือในส่วนที่เราแบ่งลูกค้าตามลักษณะภูมิศาสตร์
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับช่องทางการจัดจำหน่ายหรือการใช้บริการนั่นเอง
อาจจะลืมไปว่าต้นทุนสำหรับธุรกิจค้าปลีกและยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อนั้น ยังมีอีกส่วนที่สำคัญคือ”การประหยัดจากขนาด ECONOMY
OF SCALE “ วันนี้เซเว่นมีสาขา 8000
สาขาเป็นอย่างน้อย ดังนั้นต้นทุนในการซื้อสินค้าเพื่อนำมาขายในร้านสะดวกซื้อย่อมต่างกันอย่างสิ้นเชิง ค่าขนส่งจากโกดังไปยังร้านค้าปลีก ต้นทุนค่าบุคลากร การฝึกอบรม
ฯลฯ แค่คิดก็ไม่กล้าแล้ว ขนาดร้านสะดวกซื้อ 108 SHOP ในเครือสหพัฒน์ยังไปไม่ถึงไหน ขนาดมีสินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในมือเป็นร้อยรายการยังไม่สามารถขยายสาขาได้ตามเป้าหมายเรย
ร้านแฟมิลี่มาร์ทจากญี่ปุ่นมาทีหลังยังตามอยู่ต้วมเตี้ยมเลย เห็นอานุภาพของอีโคโนมีออฟสเกลหรือยัง แม้จะมีค่าแรกเข้าในการนำสินค้าไปขายในเซเว่นมากพอสมควร
แต่ก็ยังมีผู้ผลิตหลายรายรอเข้าคิวไปเสี่ยงกับเซเว่น มากกว่าแฟมิลี่มาร์ท 108ช้อป
มาดูโทรศัพท์”โลโซ”
บ้างขนาดเอไอเอส ดีแทค ทรู
ยังไม่กล้าใช้ชื่อตนเองในการทำเฮาส์แบรนด์ของตนเองเลยทั้งที่อยู่ในวงการมือถือและเป็นโอเปอเรเตอร์เอง แล้ว”เสก”
มีจุดเด่นหรือจุดขายในสินค้าไอทีและสื่อสารอย่างไร แล้วเครื่องดื่ม “โลโซ” ละจะไปถึงไหน หากนำมาเทียบกับ “คาราบาว” ดูเหมือนว่าคล้ายกันคืออาศัยความเป็นแบรนด์ที่มีแฟนคลับแต่ภาพลักษณ์อาจจะต่างกันมากพอสมควร
ที่สำคัญปัจจัยความสำเร็จอีกข้อหนึ่งนอกเหนือจากมี แบรนด์ที่ดี สินค้ารสชาติถูกใจ ฯลฯ แล้ว
ปัจจัยอีกข้อหนึ่งคือ “ช่องทางการจัดจำหน่าย” เริ่มแรกทีเดียว คาราบาว
ให้เสริมสุขเป็นผู้จัดจำหน่ายเพราะมีรถส่งสินค้าไปยังตู้แช่ทุกตู้แช่ในประเทศไทย
(เพราะส่งเป็บซี่อยู่แล้วในตอนนั้น) แต่ตอนนี้เสริมสุขเป็นของไทยเบฟแล้วก็เลยไม่ได้จัดจำหน่ายให้
คาราบาว
เพราะมีแรงเยอร์เป็นสินค้าของตนเอง
แล้ว “โลโซ”
จะใช้ใครเป็นผู้จัดจำหน่าย เป็นคำถามที่น่าคิด??? และงบประมาณในการโปรโมทสินค้าเท่าใดวงการนี้ปราบเซียนมาแยะแล้ว แรงเยอร์ ของไทยเบฟยังไปไม่ถึงไหนเลยครับ ปัจุบันมี
M150 กระทิงแดง และ คาราบาวแดง ทั้งสามรายนี้มีส่วนแบ่งรวมกันเกือบ 90% ในอดีตก็จะมีให้เห็นว่าดารานักแสดงออกสินค้าอุปโภคบริโภคแล้วก็มีอุปสรรคต่างๆน่า ใครเลยจะรู้ว่า “พี่เบิร์ด” ก็มีบะหมี่ “ฟอร์มี” เรียบร้อยโรงเรียนน้าเบิร์ดไปแล้ว เห็นได้ชัดเจนถึงความไม่ง่ายเหมือนแต่งเพลงหรือออกคอนเสิรต์ทั่วไทยแน่ๆ เสก
คงไม่สามารถ เสก ธุรกิจได้เหมือนเป่ามนต์ขลังให้ขาร้อกให้ ติดตาม และมาสนับสนุนสินค้า “โลโซ” เหมือนไปเข้าคิวซื้อบัตรคอนเสิรต์