วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

“ฟิน ก๊ะ .....ฟินเทค”



       

       มื่อก่อนถามว่าคู่แข่งของธนาคากรุงเทพคือใคร?   คำตอบคงไม่พ้นธนาคารกสิกร  ธนาคากรุงไทย  ฯลฯ  ซึ่งก็คือธนาคารคู๋แข่งขันนั่นเองซึ่งในภาษาการตลาดแล้วเราหมายถึงคู่แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน   เช่นธนาคาสถาบันการเงินก็คือธนาคาร  ไฟแนนซเป็นต้น  แต่จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจนเราสามารถทำธุรกรรมต่างๆแบบออนไลน์   ไม่ว่าจะเป็นผ่านทางคอมพิวเตอร์   ทางสมาร์ทโฟน ฯลฯ  ทำให้คู่แข่งขันเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
            เมื่อก่อนถ้าจะโอนเงินให้กับใครสักคนหนึ่งมีแค่สองวิธี  คือ ธนานัติ  กับ ตั๋วแลกเงิน  อันนี้นานมากแล้วพวกอายุน้อยกว่า 30 อาจจะไม่รู้จัก  ซึ่งต้องไปดำเนินธุรกรรมที่ไปรษณีย์ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีให้บริการอยู่ซึ่งสะดวกสำหรับคนในชนบทเป็นสำคัญ   ต่อมาก็บริการโอนเงิน ชำเระเงินผ่านทางธนาคาร  ปัจจุบันเราสามารถโอนเงิน/ชำระเงิน  ผ่านได้ทั้งร้านสะดวกซื้อ  ห้างสรรพสินค้า  ร้านค้าที่มีบริการ ฯลฯ มากมายรวมทั้งการโอน / ชำระ ผ่านระบบออนไลน์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
            ฟินเทค (FINTECH)  เป็นชื่อที่นำเอาคำว่า FINANCIAL และ  TECHNOLOGY มาผสมกัน   นาทีนี้เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกคนเรียบร้อยแล้ว ในหลากหลายรูปแบบ และอีกไม่นาน ฟินเทคหรือ ไฟแนนเชียล เทคโนโลยี (Financial Technology) จะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนไทยมากยิ่งขึ้น พื้นฐานเลยก็คือ  บัตรเอทีเอ็ม  บัตรเดบิท จนมาถึงโมบายโฟน   ฟินเทคจึงเป็นการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่การทำธุรกิจและธุรกรรมทางการเงิน เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการและสถาบันการเงินที่เอื้อประโยชน์กัน รวมทั้งบัตรเติมเงินต่างๆเช่นของ เซเว่นอีเลฟเว่นลองนึกเล่นๆดูนะครับถ้าอนาคตบัตรเซเว่นนี้สามารถใช้จ่ายค่ารถไฟฟ้า  จ่ายค่าอาหาร  จ่ายซื้อบัตรชมคอนเสิร์ต ฯลฯ  อะไรจะเกิดขึ้น  ธุรกิจและผลประกอบการของธนาคารจะเป็นอย่างไร  คู่แข่งขันของธนาคาไม่มีเพียงแต่ธนาคารคู่แข่งชันเท่านั้น   หากท่านจำได้ในบทความก่อนผมได้กล่าวถึงบัตรซุยก้า (SUICA)  ซึ่งเป็นบัตรเติมเงินของญี่ปุ่นสามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างสะดวก    จ่ายค่ารถไฟก็ไม่ต้องดูว่าลงสถานีใดค่าโดยสารเท่าใดจึงค่อยหยอดเหรียญซื้อบัตรถไฟ   แค่นำบัตรนี้ (ในญี่ปุ่นเรียก IC) ไปแตะที่ทางเข้าตอนถึงปลายทางก็แตะที่ทางออกสะดวกสบายดีมากครับ 
                        เร็วๆนี้รัฐบาลบอกว่าจะเอาเลขบัตรประชาขนไปผูกติดกับบัญชีธนาคารเมื่อสำเร็จแล้วก็ถือเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการอำนวยความสะดวกในการรับจ่ายเงินทั้งในส่วนของรัฐบาล  และผมเชื่อว่าในอนาคตคงขยายไปถึงการทำธุรกรรมกับภาคเอกชนกับประชาชนทั่วไป   วันนี้ถ้เดินผ่านร้านเซเว่นลองสักเกตุดูนะครับ   บางร้านที่อยู่ในย่านที่มีนักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่ละก็จะเป็นมีป้ายหน้าร้านใหญ่โตที่เดียวบอกว่า “ยินดีรับบัตรอาลีเปย์”  พอเห็นชื่ออาลีก็คงคาดเดาได้นะครับว่าเป็น  ALIBABA ของแจ๊กหม่านั่นเอง  เขาสามารถพัฒนาให้บัตรเติมเงินของเขาสามารถใช้ไปได้ทั่วโลกแล้วครับ   เรียกได้ว่าบัตรเครดิตมีหนาวเลยงานนี้ซึ่งอาจจะยังไม่หนาวมากครับเพราะว่าบัตรเติมเงินนี้ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ใช่บัตรเครดิต  แต่อย่าลืมนะครับว่าในอนาคต (เชื่อว่าอันอีกไม่นาน)  อาลีเปย์ก็จะมีฐานข้อมูลลูกค้าในเรื่องการจับจ่ายใช้สอย  รวมทั้งพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน  ฟันธงเรยว่าอนาคตก็จะพัฒนาเป็นบัตรดูอัล   คือสามารถใช้ได้ทั้งเป็นบัตรเติมเงินและบัตรเครติดในตัวเองด้วย  หรือพัฒนาลูกเล่นอื่นๆให้ตอบรับกับพฤติกรรมและอำนาจการซื้อของลูกค้า

                        ที่เซเว่นเราอาจไม่ค่อยเห็นชัดเรื่องบัตรอาลีเปย์นี้  แต่ถ้าอยากดูให้ไปที่คิงส์พาวเวอร์ซอยรางน้ำครับ   ช้อปและรูดกระจายครับอาลีบาบากับตะเกียงวิเศษมาช่วยเสกให้เศรษฐกิจไทยยังไปต่อได้ในชั่วโมงนี้เพราะเครื่องยนต์ทุกตัวสำหรับเศรษฐกิจไทย  ไม่ดับก็เดี้ยงเหลืออยู่สองตัวที่คอยขับเคลื่อนอยู่คือ การท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐ   ซึ่งการลงทุนภาครัฐก็มีข้อจำกัดหลายประการทั้งระบบราชการและกระบวนการต่างๆ  เรียกได้ว่าหลักๆมาจากท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวเกือบครึ่งมาจากจีนแม้จะใช้จ่ายต่อหัวน้อยกว่านักท่องเที่ยวยุโรป  อเมริกา และญี่ปุ่น  แต่เมื่อคูณด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวแล้วก็เป็นมูลค่ามหาศาลที่คอยจุนเจือเศรษฐกิจไทยเป็นสำคัญ   ไม่อยากนึกเลยว่าถ้าเศรษฐกิจจีนฟองสบู่แตก ซึ่งผมเคยกล่าวมาหลายปีแล้วเพราะไปเมืองจีนเห็นตึกร้างมากมาย   แต่ก็มีการสร้างตึกใหม่ๆอยู่ติดกันมันอะไรกันแน่???    ถ้าเศรษฐกิจจีนแตกดังโพ๊ละเมื่อใดก็ตัวใครตัวมันนะโยม   ฟิน....ก็จะหาย ฟิน ไปในบัดดลเลยละครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...