และแล้วกงล้อก็หมุนกลับมาที่เดิม “ช้าว” ตอนเด็กๆเคยท่องจำ
( ขอย้ำต้องท่องจำเพราะจะออกสอบ) ว่าสินค้าส่งออกหลักของประเทศไทยคือ ข้าว
ไม้สัก ยางพารา แล้วก็เห็นสรรเสริญกันว่าชาวนาคือกระดูกสันหลังของประเทศผ่านมาไม่รู้กี่รัฐบาล กี่นายกรัฐมนตรี กี่รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ฯลฯ
ปัญหาก็ยังหมักหมมอยู่เหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ชาวนายังจนอยู่เหมือนเดิม
ชาวนายังมีหนี้สินอยู่เหมือนเดิม
ขาวนาผูกคอตายเหมือนเดิม
หาวิธีแก้ปัญหามาทุกรัฐบาล ได้ยินได้ฟังว่าจะมีการลงทะเบียนเกษตรกร
ซึ่งก็ได้ลงทะเบียนแล้วจริงๆ
วันนี้เรารู้แล้วว่ามีชาวนนากี่คน
กี่ครอบครัว /กี่ไร่
ปัญหาก็ยังแก้แบบเดิม
จำนำข้าว 15,000
จำนำยุ้งฉาง
(เหมือนกันป่าวก็ไม่รู้) 13,000
ประกันราคาข้าว
หุหุ......ปัญหาก็วนไปวนมา ปัญญาอันน้อยนิดของผมคิดได้ง่ายๆตามหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ซึ่งต้องลงทะเบียนสองครั้งกว่าจะผ่าน ตอนเรียน ป.ตรี อิอิ
เพราะมิดเทอมไม่รอดแน่เลยดร้อปไปก่อนไม่ให้เสียประวัติ 5555
บริหาร อุปสงค์
กับ อุปทาน คิดได้นะแต่ก็ทำยากเหมือนกันเพราะว่าอะไร
ก็ไม่รู้
หรือเป็นกรรมของประเทศไทยนินิ
บ้างก็ว่าเพราะนักการเมือง
บ้างก็ว่าเพราะโรงสี บ้างก็ว่าเพราะพ่อค้าส่งออก โอ้ย.....ดีแต่โทษกันไปมา แล้วเสนอทางออกให้ประเทศได้หรือไม่ ไอ้เรืองขอเอาสมองอันน้อยนิดนี้เสนอทางออก (หรือทางตันยิ่งขึ้นก็ไม่รู้) ดังนี้
1.จากบัญชีเกษตรกรชาวนาที่มีอยู่ ให้ TDRI หรือใครสักหน่วยงานลองคำนวนดูซิว่าเพื่อ”ความอยู่รอดของชาวนา” ควรจะมีรายได้ที่อยู่รอดที่เท่าใดผมสมมุติว่าเท่ากับ
120,000 ต่อปี ถ้าน้อยกว่านี้ไปทำงานโรงงานดีกว่า ?? แล้วคำนวนย้อนกลับมาที่ ปริมาณที่นา หรือผลผลิต ขั้นต่ำคนละกี่ไร่
หรือกี่ ตัน ก็ว่าไป รวมทั้งไปคำนวนต้นทุนเลยว่าต้นทุนในการปลูกข้าวเป็นเท่าใด แล้วกำหนดไปเลยครับว่าจะบวกกำไรให้ 20 หรือ 25 % แล้วได้เท่ากับรายได้ที่ชาวนาอยู่รอด
ก็เอาราคาต้นทุนการปลูกบวกด้วยกำไรที่คำนวนข้างต้น แล้วไม่ใช่จำนำครับ.......รับซื้อเลยครับซื้อขาดให้หน่วยงานรัฐที่ต้องซื้อข้าวอยู่แล้ว
เช่น หน่วยทหาร / เรือนจำ
หรือหน่วยงานรัฐที่จะทำกิจกรรมเพื่อสังคม
รับซื้อแล้วจ้างโรงสีแปรรูปอันนี้ราคาที่รัฐรับซื้อก็จะถูกกว่าที่ไปประมูลซื้อข้าวจากเอกชน อันนี้เป็นการทำให้เกษตรกรอยู่ได้ไม่ขาดทุนแน่ๆจากการรับซื้อเท่าที่กำหนดไว้จากการคำนวนตอนต้น
อ้อ...ขอเพิ่มด้วยนะครับประกาศในเน็ตไปเลยว่ามีใครเป็นเกษตรกรในกลุ่มนี้บ้าง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้เพราะป้องกันพวกไม่ใช่เกษตรกรที่แท้จริงครับ
2.เพิ่มขีดความสามารถของการแปรรูปให้เกษตรกร อันนี้ง่ายนิดเดียวซื้อเครื่องสีข้าว
และเครื่องบรรจุ อบต.ละ 1 ชุดเลยครับ ค่าใช้จ่ายก็ให้ อบต.เป็นผู้ออก
หรือคิดต้นทุนในการสีข้าวตามปริมาณโดยคิดเฉพาะต้นทุนผันแปรเท่านั้น ทำให้ต้นทุนของชาวนาถูกลงสามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น
3.เพื่มช่องทางจัดจำหน่ายตรง ช่วงนี้เห็นทำกันจังเอาข้าวมาจ่ายค่าเทอม ปั้มน้ำมันอนุญาติให้ชาวนาขายข้าว มหาวิทยาลัยต่างๆก็เปิดพื้นที่ แต่ขอเถอะ.......................อย่าทำแค่ช่วงนี้ ทำตลอดปีตลอดชาติได้มั๊ย.... น้าขอร้อง..!!! แต่ผมขอเพิ่มได้หรือไม่ ไปรษณีย์ไทย
เพราะดำเนินการเรื่อง LOGISTIC อยู่แล้ว มีทรัพยากรบุคคล เครื่องมือ
ฯลฯ อยู่แล้ว ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตร ปั้ม ปตท.
เปิดขายข้าวให้ชาวนาตลอดปี ตลอดไปได้หรือไม่ แน่นอน....เฟสบุค ไลน์ ลูกชาวนาช่วยพ่อขายข้าวก็ว่ากันไป
4.ปีใหม่นี้ซื้อข้าวตรงจากชาวนามาเป็นของขวัญปีใหม่ส่งให้กันแทน เครื่องดื่ม ของมึนเมา ขนม ช้อคโกแลต ฯลฯ จากต่างประเทศ
กันดีมั้ยครับ แต่ขอแบบซื้อตรงจากชาวนา สหกรณ์การเกษตร
5.ให้สถาบันการศึกษาของรัฐลงไปช่วยเหลือและแนะนำส่งเสริมเป็นจังหวัดๆไปเรย ทุกจังหวัดมีมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว มาบริการท้องถิ่นและชาวนากันเถอะครับ ผมเคยไปเป็นที่ปรึกษาให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อหลายปีก่อน เป็นการสนับสนุนสหกรณ์การเกษตรช่วยทุกอย่างออกแบบถุง หาตลาด
ทำนามบัตร ทำโบรชัวร์ อบรมพนักงานขาย อบรมการเก็บเกี่ยว วางแผนการตลาด
พาไปยังผู้ซื้อข้าวโดยตรง ฯลฯ ก็นับว่าช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่รัฐกำหนดเป็นนโยบายลงมาเลยครับ 1 มหาวิทยาลัย / 1 จังหวัด
(ถ้ามีมหาวิทยาลัยมากก็แบ่งๆกันไปดูแลตามสภาพภูมิศาสตร์ครับ) อันเนี้เปรียบเสมือนชาวนามีที่ปรึกษาทางธุรกิจและตัดพ่อค้าคนกลางไปในตัว
เอาแค่ 5
วิธีนี้ก็เชื่อได้ว่าชาวนาอยู่ได้แน่นอน .......ชิมิชิมิ
พรรคการเมืองใดจะเอาไอเดียไปใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงครั้งหน้าก็ไม่ห้ามนะครับ แต่ขอเครดิตไอ้เรื่องนีสนุงก็พอ....................