วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

“ไปบอลติค แล้วปิ๊กบ้าน”



                 


                        พูดถึงประเทสในกลุ่มบอลติคแล้วหลายๆคนคงตั้งคำถามว่า  “มันอยู่ส่วนใดของโลกนี้”    พอดีได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในประเทศในกลุ่มบอลติค  ซึ่งประกอบไปต้วย  เอสโตเนีย  ลัธเวีย และ ลิธัวเนีย  ซึ่งทั้งสามประเทศนี้เป็นประเทศที่เคยอยู่ในปกคครองของรัสเซียมาก่อน  ตั้งอยู่ในคาบสมุดทรบอลติคถ้านึกไม่ออกก็ลองนึกถึงฟินแล้นด์   ทั้งสามประเทศนี้อยู่ทางทิศใต้ของฟินแล้นด์ครับผม     ประเทศเหล่านี้ได้รับเอกราชปกครองตนเองแบบสาธารณรัฐระหว่าง ค.ศ. 1918-1940 ต่อมารวมเข้าเป็น 3 ใน 15 สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต และเมื่อสหภาพโซเวียตมีอิทธิพลลดลงใน ค.ศ. 1991 ทั้งสามประเทศก็แยกออกไปปกครองตนเอง    นั่นหมายความว่าทั้งสามประเทศนี้เพิ่งเป็นเอกราชเมื่อ 26 ปีที่ผ่านมานี่เอง   มีประชากรรวมกันค่า 6.1 ล้านคนเท่านั้นเอง   แต่ว่าจีดีพีต่อหัวสูงถึง 17,000 USD  ( ไทยเราประมาณ 6,250 USD  ก็ประมาณว่ามีรายได้ต่อหัวสูงกว่าไทยเราประมาณ 3 เท่า    ทั้งสามประเทศนี้อยู่ในสหภาพยุโรปทำให้มีการใช้สกุลเงิน “อียู”  แถมยังอยู่ในกลุ่ม “ชังเก้นท์”  ซึ่งสามารถขอวีซ่าแล้วเดินทางท่อเงที่ยวได้ถึง 25 ประเทศในสหภาพยุโรป ( เฉพาะที่อยู่ในชังเกนท์ )  รวมทั้ง สวิสเซอร์แลนด์  นอร์เวย์ และ ไอซ์แลนด์ ซึ่งไม่ได้อยู่ในสหภาพยุโรป
                เที่ยวนี้ไปขอวีซ่าที่สถานฑูตเยรมัน   โชคดีที่ขอแบบเข้าออกได้หลายครั้งและทางเยรมันให้วีซ่าถึง 2 ปี  นั่นหมายถึงว่าภายในสองปีนี้ผมเดินทางยังประเทศในกลุ่มชังเก้นท์ไม่ต้องทำวีซ่าใหม่แล้ว     ...............มันคือการเพิ่มโอกาสนในการเดินทางของผู้ที่ได้วีซ่า   เพราะผมเชื่อว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะเติบโตได้ก็ต้องมีธุรกิจท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ    เพราะจากเดิมขอวีซ่าเข้าออกแบบหลายครั้งมักจะไม่ค่อยได้  หรือได้ก็แค่ช่วงสามเดือน.............เหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่น  พองดเว้นวีซ่าให้  ไทย   มาเลเซีย และอีกหลายๆประเทศ  จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกสามสี่เท่าตัว  แถมยิ่งมีสายการบินต้นทุนต่ำบริการทำให้การเดินทางท่องเที่ยวไม่แพงเกินกว่าที่จะเอื้อมถึง....... ดังสโลแกนของแอร์เอเชียว่า  “ใครๆก็บินได้” 
                ไปเที่ยวนี้ใช้บริการของสายการบินฟินแอร์ของประเทศฟินแลนด์   เป็นเครื่องบินใหม่   โบอิ้ง 787 ดรีมไลน์เนอร์  เครื่องบินดังกล่าวเป็นเครื่องบินโดยสารที่ประหยัดเชื้อเพลิงที่สุด และเป็นเครื่องบินโดยสารสำคัญแบบแรกของโลกที่ใช้วัสดุผสมในการก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ บริโภคเชื้อเพลิงน้อยกว่าโบอิง 767 ที่มีขนาดเท่ากันถึง 20%  ซึ่งการบินไทยก็เพิ่งจะรับมอบลำล่าสุดไปเมื่อ  กันยายน 2560 ที่ผ่านมา................ความรู้สึกเมื่อเดินเข้าไปในเครื่องคือสบาย  เบาะกว้าง  ระยะระหว่างเบาะไม่แคบจนเกินไป    ที่นั่งแบบ 3-3-3  ทำให้สะดวกสบายมากๆ   ต้องรอดูว่าการบินไทย จัดที่นั่งอย่างไรรวมทั้งระยะและขนาดเบาะด้วย    ทางฟินแอร์จัดระบบบันเทิงบนเครื่องบินแบบจัดเต็มครับ  จอทีวีส่วนตัว  (ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นมาตราฐานของสายการบินทั่วไปแล้ว )   แต่ที่ต่างคือมีภาพยนต์หลายประเทศแถมภาพยนต์ฝรั่งมีเสียงภาษาไทยซะหลายเรื่อง  ทำให้ตลอดเวลา 9 ชม.กว่าๆ ไม่ต้องตะแคงหูฟังเสียงซาวน์แทรค  ที่น่าตื่นตาตื่นใจคือมีระบบกล้องที่ถ่ายภาพสดๆจากเครื่องบิน  โดยกล้องนี้ติดที่ด้านบนของหาง  ทำให้เห็นตัวเครื่องบินแบบเต็มลำสดๆตอนเครื่องร่อนลงด้วยนะเอ้อ......  ทำให้ได้บรรยากาศไปอีกแบบ.......
 แต่เมื่อมีข่าวว่าสิงค์โปรแอร์ไลน์เมื่อตอนที่ประธานาธิบดีสิงค์โปรไปเยือนสหรัฐอเมริกา ตอนกลางเดือนตุลาคม 2560    เอาออเดอร์ไปให้ประธานาธิบดีทรัมป์ 19 ลำ  อุแม่เจ้า........  ในขณะที่ไทยเราฝูงบินทั้งหมดของการบินไทยมีแค่   80 ลำ  เป็น 787 ดรีมไลน์เนอร์ แค่ 8  ลำ  .......เครื่องบินเก่าๆ ก็มีค่าใช้จ่ายสูง......ดังนั้นใครถือหุ้นการบินไทยอยู่คงรู้นะว่าจะทำอย่างไร  แถมสำนักข่าวฝรั่งแห่งหนึ่ง   (จำไม่ได้ว่าสำนักไหน)  รายงานข่าวว่า “หุ้นการบินไทยเป็นหุ้นขยะ”  คือไม่มีอนาคตนั่นเอง ดังนั้นใครจะถือ ใครจะทิ้ง ใครจะช้อนก็ตามแต่อัธยาศัยนะครับ 
                กลับมาคุยเรื่อง “บอลติค” ต่อ  ทั้งสามประเทศ    แม้ว่าจะอยู่ในคาบสมุทรเดียวกันมีพรมแตนต่อเนื่องกันแต่ว่า  “ภาษา”  กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  ผมลองสอบถามไกด์ทั้งสามาประเทศ  ในคำที่ต้องใช้บ่อยๆเช่น “สวัสดี   / ขอบคุณ”  ทั้งสามประเทศนั้น พูดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงและสื่อสารกันได้เข้าใจประมาณ 5 เปอร์เซนต์เท่านั้นเอง  เพราะภาษาต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง    ซึ่งอันนี้ก็รวมถึงวัฒนธรรมและความเชื่อด้วย  แต่ก็มีคนรุ่นเก่าๆในสมัยที่ยังอยู่ในปกครองของรัสเซียจะสามารถพูดภาษารัสเซียได้  เพราะมีการเรียนการสอนภาษารัสเซียในโรงเรียน  แต่อีก 20-30   ปีก็คงหมดคนรุ่นนี้ไป    ปัจจุบันที่รายได้ต่อหัวของประชากรในสามประเทศนี้สูง  ก็เนื่องด้วยเศรษฐกิจเติบโตด้วยธุรกิจ ไอที   ซอฟแวร์    ซึ่งแทบไม่มีใครรู้ว่า  “สไกป์”  ก่อกำเนินในเอสโตเนีย  เพราะมีพื้นฐานทางเทคโนโลยี่ที่เรียนรู้มาในสมัยที่ยังอยู่ในปกครองของโซเวีย    ไม่ใช่ระบบการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค   ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ลุงตู่    อยากให้ไทยเป็น  “ไทยแลนด์ 4.0 นั่นเอง”  ........ แค่ฝันก็มีความสุขแล้วครับ ................ปิ๊กบ้านเด้อ....!!!!!!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...