เมื่อปลายปี
2017 ผมได้มีโอกาสไปชมการแข่งขัน F1 ที่สนามเซปังอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต
ประเทศมาเลเซีย
เพราะเป็นความไฝ่ฝันที่จะไปชมอีเวนต์ระดับโลก ไม่ว่าจะโอลิมปิค ฟุตบอลโลก และ F1 พอไปถึงสนามก็ได้ทราบว่าปีนี้จะเป็นการแข่งขันที่มาเลเซียเป็นครั้งสุดท้าย
ก็เลยคิดว่านัดที่เรามาดูนี้เป็นนัดประวัติศาสตร์ และแน่นอนเหตุผลเดียวที่ขอยกเลิกสิทธิ์การจัดย่อมต้องเกิดจาก “การขาดทุน” เพราะจัดมา 18 ปี ตั้งแต่ปี
1999 แต่ในปีหลังๆมานี้ยอดขายตั๋วและจำนวนผู้ชมถ่ายทอดสดทางบ้านมีจำนวนลดลงมาโดยตลอด ขายบัตรเข้าชมได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นเองผมถึงได้ซื้อตั๋วได้กระมัง นอกจากนี้แล้วเยรมัน เกาหลีใต้ กับ อินเดีย ก็ยังไม่ต่อสัญญาเป็นผู้จัดการแข่งขัน
F1
เพราะประสบกับปัญหาการขาดทุนอีกเช่นกัน
แล้วอะไรเป็นสาเหตุของการขาดทุนในการจัดการแข่งขัน
F1
ซึ่งสวนทางกับการจัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นโมโตจีพี ฯลฯ ผมขอตั้งสมมุติฐานว่าสาเหตุหนึ่งก็คือ “F1” เป็นเรื่องไกลตัว ที่ผู้คนทั่วไปไม่สามารถสัมผัสได้แม้จะชอบความเร็วปานใดก็ตาม แต่ในขณะที่มอเตอร์ไซค์เป็นอะไรที่ผู้คนจับต้องได้
เป็นเจ้าของได้ มีประสบการณ์ตรง และเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า จะสังเกตุได้จากยอดขาย “บิ๊กไบค์”
รวมทั้งจำนวนคนที่ตายเพราะบิ๊คไบค์ด้วย
เพราะรถมันแรงแซงไปนรกได้ง่ายดาย
อีกอย่างหนึ่งน่าจะเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจด้วย อำนาจซื้อของประชากรลดลงทั้งในยุโรป อเมริก
และเอเชีย เศรษฐกิจมันซึมๆ หงอยๆมาหลายปีเป็นคนป่วยเรื้องรังสะสม จากเดิมที่หวังพึ่งพิงผู้ชมต่างชาติเดินทางมาชมการแข่งขัน
แต่จากปัญหาเศรษฐกิจตกสะเก็ดสะสมทำให้ต้องพึ่งผู้ชมในประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งมาเลเซียเองก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน แล้วอาจจะอีกสาเหตุคือประชากรของมาเลเซียเองมีน้อยแค่ 32 ล้านคนเศษเท่านั้นเอง ก็เลยทำให้จำนวนคนดูน้อยลงไปเป็นลำดับ
แล้วทำไม ปี 2020 เวียดนามถึงหาญกล้าไปซื้อลิขสิทธิ์เพื่อจัด F1 ในกรุงฮานอย
โดยจะเป็นการแข่งขันบนถนนโดยมีความยาวทั้งหมด 5.565 กิโลเมตร
กับ 24 โค้ง
อะไรทำให้เวียดนามกล้าตัดสินใจลงทุนในครั้งนี้
ทำไมไม่ดูรุ่นพี่ๆทั้งหลายที่ขาดทุนจนต้องเลิกจัด จะเห็นได้ว่าเวียดนามมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นลำดับต้นๆของอาเซียนแถมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีประชากรถึง 95
ล้านคนแม้รายได้ต่อหัวของชาวเวียดนามจะไม่มากเท่ามาเลเซีย
แต่การกล้าเสี่ยงในครั้งนี้ของเวียดนามคงต้องรอดูผลในอีก 4-5 ปี
ข้างหน้าว่าจะยืนระยะจัดการแข่งขันต่อเนื่องไปหรือไม่ แล้ว “ช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิตที่ได้รับการรับรองมาตราฐาน เกรด 1 ของสหพันธ์รถยนต์ระหว่างประเทศ (FIA) และผ่านการรับรองสำหรับการแข่งขัน
F 1 และ เกรด A จาก ของสหพันธ์จักรยานยนต์ระหวjางประเทศ (FIM)
จุผู้ชมได้ 50,000 คน ค่อยตัดสินใจก็ยังไม่สายเกินไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น