โกวเล้งกล่าวไว้ว่า “จุดจบคือจุดเริ่มต้น” และ “จุดเริ่มต้นคือจุดจบ” แต่จะทำอย่างไรให้เกิดจุดเริ่มต้น เพราะมันเป็นจุดที่ยากที่สุด
ที่มนุษย์คนหนึ่งๆจะเริ่มทำอะไรซักอย่างหนึ่งที่ไม่เคยทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น หากเราอยากจะมีสุขภาพที่แข็งแรง
ก็ต้องออกกำลังกายซึ่งวันเริ่มต้นนี้จะเป็นวันที่ยากที่สุด และจะยากมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วันที่สองสามสี่ แต่.......พอพ้นวันที่ 7 ไปแล้ว
ท่านจะรู้สึกว่าติด / ชอบ และสามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่อง และในทำนองเดียวกันหากท่านหยุดปฏิบัติหรือทำไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหยุดเกิน 7
วันเป็นต้นไปก็จะเป็นการหยุดปฏิบัติอย่างถาวร
ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
ดังนั้นมหัศจรรย์เลข 7 นี้ใครไม่เชื่อลองทำดู
ผมเองได้ลองทำปฏิบัติมาแล้วหลายวัตรปฏิบัติมีทั้งสำเร็จและล้มเหลว
ผมเคยตั้งใจไว้ว่าก่อน
60 ปีจะต้องวิ่งมินิมาราธอน 10 กม.ให้ได้โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2 ชั่วโมง ซึ่งผมเองได้วิ่ง 5 กม.มาแล้วประมาณ 30
กว่าอีเวนต์ ทำเวลาประมาณ 45-55 นาที ดังนั้น 10 กม.
ก็เลยเอาสองคูณแถมพักอีกนิดหน่อยเลยตั้งไว้ที่
120 นาทีหรือ 2 ชั่วโมง.....คือเป้าหมายที่ผมได้เขียนติดไว้ในบอร์ดที่ทำงาน
และแล้ววันเวลาก็มาถึง “จอมบึงมาราธอน”
ซึ่งเป็นมาราธอนในตำนานปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 34
ก็จะเป็นด่านทดสอบของผมว่าสามารถทำได้หรือไม่
สุดท้ายแล้ว.......”ผมทำได้”
ที่เวลาดีกว่าที่คิดมากๆ คือ 1.35 ชั่วโมง
จนตนเองยังงงว่ามันเป็นไปได้อย่างไร
ก็เลยลองย้อนมาดูว่าสองปีที่ผ่านมาอะไรเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้วัตรปฏิบัติของเราเปลี่ยนแปลงไป
จากคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายแม้ว่าจะได้เคยเล่นโยคะอย่างหนักมากสัปดาห์ละ 4-5
วัน จนเลิกเล่นด้วยสูตรเลข 7
ที่กล่าวไปข้างต้น คือ”คาลิฟอร์เนียโยคะ”
ล้มละลายทำให้ละเลยการเล่นเกิน 7 วันก็เลยลากยาวจนน้ำหนัก 70 เป็น 82
ในที่สุด
แล้วก็มาถึงจุดเปลี่ยนที่มาเริ่มวิ่งออกกำลังวันละ 30 นาที อย่างน้อยเดือนละ 20 วัน
จนอยากสรุปไว้เป็นหลักฐานว่า “เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร”
1.มีเป้าหมายชัดเจน
ที่เป็นรูปธรรม ในที่นี้คือ วันละ 30 นาที
/ เดือนละ 20 วัน เป็นอย่างน้อย และ
วิ่งอีเวนต์ 5 กม.เดือนละ 1 ครั้ง ไม่ใช่แค่ว่า
“เราจะออกกำลังกาย”
มันเป็นนามธรรมวัดไม่ได้ และ
ลอยๆๆๆๆ
2.เขียนเป้าหมายไว้คอยเตือนใจ เตือนสติ
เพื่อกระตุ้นตนเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในที่นี้ผมใช้ขีดการออกกำลังกายตอนเช้าผมลงในปฏิทิน
และนับให้ได้อย่างน้อยเดือนละ 20 วัน หากไม่เขียนไว้มันอาจจะลืมเพราะไม่มีอะไรคอยกระตุ้น
3.หา”คนต้นแบบ”
สำหรับผมแล้วในที่นี้ไม่ใช่ “พี่ตูน” แต่เป็นรูปคนที่ป่วยนอนติดเตียง เทียบกับคนสูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งผมเลือกรูปผู้สูงวัยที่ยังแข็งแรงมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ
4.บริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด คนมักคิดว่าตนเองไม่มีเวลาซึ่งเป็น “เท็จ”
ทุกคนมีเวลา 24 ชม.เท่ากันทั้งสิ้น
แต่เราเอาเวลานั้นไปทำอย่างอื่นๆเช่น
นอนแทนที่จะไปวิ่งตอนเช้า
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเราบริหารจัดการมัน
ผมเลือกวิ่งเพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมากนัก อยู่ที่ไหนก็วิ่งได้ ไปต่างประเทศก็แค่เอารองเท้าวิ่งติดไปด้วยและอย่าลืม
เลข 7 นะครับอย่างหยุดเกิน 7 วันติดกันเพราะจะต้องมาเริ่มต้นใหม่
5.การเสพสื่อที่เป็นแรงบันดาลใจ เพราะการเสพสื่ออะไรนานๆแล้วมันจะซึมซับเข้าไปในจิตใต้สำนึก เช่น เสพสื่อที่สร้างแรงบันดาลใจ ตัวอย่างที่ดีๆ ก็จะทำให้วัตรปฎิบัติเราดีไปด้วยเช่นกัน
แต่หากเราเสพสื่อที่คอยบั่นทอน ท้อแท้ เราก็จะกลายเป็นคนเช่นนั้น
6.ทัศนคติที่ดีที่ว่า “เราทำได้” อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะหากเริ่มต้นว่าเรา
“ทำไม่ได้”
แล้วก็จะไม่มีจุดเริ่มต้นอย่างแน่นอน
ผมเริ่มต้นว่าเราต้องวิ่ง 10 กม.ได้ /
2 ชั่วโมง
มันเลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราวิ่งได้จริงๆ
7.จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ซึ่งในที่นี้ผมขีดลงบนปฏิทินและคอยนับทุกๆสัปดาห์และรวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า
20 วันต่อเดือน เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขหรือให้เราทบทวนว่าเหตุใดที่ยังทำไม่ได้
8.ทุกอย่างยาก “ตอนเริ่มต้น”
ดังนั้นเริ่มต้นวันนี้ อย่ารอ อย่าเลื่อน อย่ายอมแพ้ อย่าแท้ท้อ แล้วท่านจะค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อวัตรปฏิบัติของท่านอย่างแท้จริง
พบกันที่เส้นชัยเพราะ ก่อนอายุ 60 ปี ในเดือนสิงหาคม 2562 นี้
ผมมีเป้าหมายไว้พุ่งชนอีกเป็นหนึ่งคือ “มินิมาราธอน “ ระยะ 21 กม.
และ.....แม้ผมจะทำไม่ได้.....(แต่หวังว่าจะทำได้) ...แม้ไม่ได้ 21 กม.
แต่ก็มากกว่า 10 กม. ... แต่....ผมได้เริ่มทำแล้ว และคุณละ “เริ่มต้นหรือยัง เพราะ.....”มันยากตอนเริ่มต้น”
จร้า........####
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น