“กระตุ้นเศรษฐกิจใครๆก็คิดได้” แต่ดูเหมือนว่า “ใครจะทำแล้วถูกทางมากกว่า”
ถ้าจำได้ผมเคยเขียนบทความเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจมีเครื่องยนต์อยู่ 4
ตัว ตามสมการ (ขอทบทวนหน่อย) ดังนี้
GDP = C+I+G+(EX-IM)
1) การบริโภคและจับจ่ายในประเทศ ( Consumer Spending ) : คือยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเพื่อการอุปโภคบริโภค
ภาษาชาวบ้านคือยอดซื้อของทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยนั่นเอง วันนี้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ทำให้ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
แม้ว่าเงินเดือนจะไม่ลดแต่ของแพงขึ้นก็เป็นปัจจัยทำให้กำลังซื้อลดลง
ในขณะที่ค่าล่วงเวลาของพนักงานมีรายได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเพราะโรงงานยอดขาย /
ยอดส่งออก คงที่หรือลดลง ก็ย่อมกระทบกับกำลังซื้อ
แถมราคาพึชผลเกษตรลดลงอย่างมีนัยสำคัญก็ยิ่งทำให้ประชากรฐานรากขาดกำลังซื้อ
ซึ่งรายได้ส่วนนี้รวมถึงยอดใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่มาจับจ่ายใช้สอยในประเทศไทยเรา
ซึ่งอัตราการเติบโตไม่เป็นไปตามเป้าหมายโดยคาดว่าจะลดเหลือ 3.2
ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
2.1 ล้านล้านบาท และรายได้จากคนไทยท่องเที่ยวในประเทศ 1.1
ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ ถึง 180,000
ล้าน แล้วถ้าครึ่งปีหลังยอดตกกว่าคาดการ์ณนี้ละ
โอ้ว....พระเจ้าไม่อย่านึกเลย จริงๆๆ
โอ้ว....พระเจ้าไม่อย่านึกเลย จริงๆๆ
2) การลงทุนภาคเอกชน (Investment ) : ง่ายก็คือบริษัท
ห้างร้านเอกชน เอสเอ็มอี ลงทุนในกิจการต่างๆ ง่ายๆเลยก็เมื่อคนซื้อของน้อย ส่งออกน้อยลง
กำลังผลิตเหลือ เอกชนก็ไม่ขยายการลงทุนไม่ปรับปรุงเครื่องจักร คือไม่แจ่มใสนั่นเอง
3) การลงทุนภาครัฐ ( Government Spending ) ชื่อก็บอกแล้วว่าเงินที่รัฐนำมาลงทุนต่างๆ ถนน น้ำ ไฟ รถไฟฟ้า สาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งตามแผนระหว่าง ปี พ.ศ 2558 - 2565
( 8 ปี ) จะลงทุนถึง 3
ล้านล้านบาท ก็หวังว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย
แต่ที่สำคัญถ้าเศรษฐกิจเติบโตน้อยรัฐก็เก็บภาษีได้น้อยแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาลงทุน ง่ายนิดเดียวก็ “ กู้ / ออกพันธบัตร” นั่นเอง
แล้วจะต้องกู้อีกกี่ปีใช้อีกกี่ชาติ
“ต้องไปถามลุงตู่”เอาเองตอนนี้หนี้ก็ท่วมหัวอยู่แล้ว เพราะที่ลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจไปนั้นมันไปเข้ากระเป๋าบริษัทใหญ่ๆหมดไม่ถึงประชกรฐานราก ตาสี ตาสา ยายมี ยายมา ที่ขายของอยู่ปากซอย
4) การส่งออก ( Net Export ) : คือยอดส่งสินค้าออก ลบ
ด้วยยอดสั่งซื้อสินค้านำเข้า ซึ่งแน่นอนว่าปีนี้ 2562 ไทยเราจะส่งออกติดลบครั้งแรกในรอบเกือบสิบปีอย่างแน่นอน ผลจากที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกก็เลยจะซื้อสินค้า
และมาท่องเที่ยวบ้านเราน้อยลง และแถมค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกยิ่งทำให้ของที่จะขายแพงขึ้นทำให้ลดความสามารถในการแข่งขันก็ยิ่งทำให้ส่งออกน้อยลงไป เฮ้อ......มันวนเป็นวัวพันหลัก หาทางออกไม่เจอ ???
แล้วตลอด
5 ปี ที่ผ่านมารัฐบาลลุงตู่ 1 ก็กระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้เงินไปไม่รู้กี่ “ล้านล้าน” บาท แล้วทำไมยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเห็นเป็นรูปกระทำเลย ผมก็เลยคิดเล่นๆแบบชาวบ้านที่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน เรียนมาแค่ 1 คอรส์เองเมื่อ 40
กว่าปีที่แล้ว
และขอนำเสนอแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ “บ้าน บ้าน” เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ
และ การบริโภคในประเทศ
1.นักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้การบินไทย ซื้อตั๋ว (ราคาเต็ม
เพราะทุกวันนี้ขายลดราคาอยู่แล้ว ) 1 คน
แถม 1 คน มาเลย หรือ ซื้อบิสิเนสคลาส แถมอีโคให้อีก 1 เพื่อให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
2.ให้สมาคมโรงแรมออกแคมเปญ พักฟรี
2 วัน เลย เอามาให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเองพักฟรี เพราะว่า โรงแรมว่างอยู่แล้วเอามาให้พักฟรี (โรงแรมมีแค่ ต้นทุนค่าน้ำไฟ และ ซักรีด
เท่านั้น) จำนวนหนึ่ง สมมุติ มี 100 ห้อง อัตราเข้าพักอยู่ที่ 50 ห้อง
ก็เอามาให้ 10-20 ห้อง แล้วแต่ละโรงแรมหรือขอห้องพัก
5 %ของช่วงโลวซีซัน
ตัวอย่าง 3 เดือน 90 วัน
รร.มีจำนวนห้อง 100
ก็จะนับได้ว่ามีรูมไนท์ 9,000 รูมไนท์ ตัดมา 5% ก็ให้มา 45 รูมไนท์มาเลย โดยมอบให้กับทาง ททท. หรือ
สมาคมโรงแรมเป็นผู้จัดสรร หรือมอบให้สายการบินเป็นผู้แจก
เรย รับรองปังดังโดนแน่ๆ
3.ตอนนี้มีบริการทำวีซ่าเมื่อเดินทางมาถึงอยู่แล้ว
VOA =VISA ON ARRIVAL แต่ว่าต้องมายืนรอหากมีนักท่องเที่ยวมากๆ แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่สถานทูทไทยไม่เคยใช้ คือ การให้วีซ่า ที่สามารถเข้าออกได้หลายครั้ง MULTIPLE
VISA และให้ระยะเวลายาวไปเลย เช่น 2
ปี
ตัวอย่างแคนาดาให้วีซ่าตลอดอายุของพาสปอร์ต์ที่เราไปขอวีซ่า แชงเก้น(ยุโรป) ให้ 1 ปีบ้าง 2 ปี บ้าง แล้วแต่ขอ
แล้วแต่ประวัติของพาสปอร์ต
ทำแบบนี้ทำให้เพิ่มโอกาสในการเดินทางมากขึ้น หรือถ้าจะให้ดีก็ให้ฟรีวีซ่าไปเลย
แบบญี่ปุ่น
ทำให้นักท่องเที่ยวเข้าญี่ปุ่นนั้นเพิ่มจนเกือบจะ 40 ล้านคน ใกล้เคียงกับประเทศไทยแล้ว ที่ทราบเพราะว่ามีลูกค้าหลายคนขอวีซ่ามาไทยยากมากๆ แถมขอแบบเข้าออกหลายครั้งก็ไม่ได้ไม่ยอมให้อีกต่างหาก กระทรวงต่างประเทศควรปรับนโยบายได้แล้ว มาขอปุ๊บให้ไปเลย 1 ปี
ซึ่งโดยปกติแล้วค่าธรรมเนียมวีซ่าก็จะมากกว่าที่เข้าออกครั้งเดียวอยู่แล้ว แต่จะสามารถเพิ่มโอกาสในการเดินทางได้อีก
4.แจกบัตรเข้าชมสถานที่ต่างๆ เช่น
สวนนงนุช ฟาร์มจรเข้ ภูเก็ตแฟนตาเซีย ฯลฯ หรืออาจจะแค่ 1 แถม
หนึ่ง หรือ 1 แถมสองไปเรย
5.ห้างร้านทั้งหลายจัดแคมเปญลดแบบสุดๆ และ ขอคืนภาษีแวตได้โดยปรับให้เป็นแบบญี่ปุ่น
คือซื้อร้านไหนลดเดี๋ยวนั้นเลย ไม่ต้องไปรอขอคืนที่สนามบินอย่าไปกลัวว่าซื้อแล้วจะไม่นำกลับออกไป
ซื้อแล้วมอบสินค้านั้นให้คนไทยก็เกิดการจับจ่ายใช้สอย อย่าไปกลัวว่าคนไทย ร้านไทย
จะมั่วมาซื้อแบบไม่มีแวตเพราะเราสามารถกำหนดร้าน / ห้างที่น่าเชื่อถือ (ไม่โกง) /
เอาท์เล็ต ให้เป็นจุดที่จะจัดทำแคมเปญนี้ อาจโดยต้องรูดพาสปอร์ตเพื่อแสดงตัวตนให้ชัดเจนซึ่งปัจจุบันนี้เทคนโนโลยี่ตัวนี้ไม่แพงเพราะที่คิงส์พาวเวอร์มีใช้ทุกจุดชำระเงินอยู่แล้ว
ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นมาตราการระยะสั้น
สามารถทำได้ทันที่แต่ในเวลาเดียวกันก็ต้องดำเนินมาตราการะยะยาว
เช่นที่ทุกหน่วยงานทราบดีว่าต้องพัฒนาแห่งท่องเที่ยว ฯลฯ อยู่แล้ว ที่สำคัญต้องให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันจัดทำแคมเปญในช่วงเวลาเดียวกัน
(ช่วงโลว์ซีซั่น) และต้องทำเป็นจังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด เพื่อจะได้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เหมือน ฮ่องกงท่ำแคมเปญลดทั้งเกาะ เป็นต้น เชื่อได้ว่าจะสามารถกระตุ้นนักท่องเที่ยวต่างชาติได้และเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากๆแล้ว
ก็จะเกิดการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มตัวเลขจีดีพีได้อย่างมีนัยสำคัญ แล้วก็จะวนมาเรื่องการลงทุนของภาคเอกชน
เพราะถ้ารอแต่การส่งออกตามลำพัแล้วคงเป็นหมันแน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น