วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

บทเรียน กรณี “แพรวา”



                วันเกิดเหตุ คือ 27 ธันวาคม 2553  เหตุการณ์ผ่านไป  9 ปี จนคดีทุกคดีสิ้นสุดลง ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง   ซึ่งในที่สุดศาลอาญาก็มีคำพิพากษาลงโทษ   เมื่อวันที่ 22 เม.ย.57 จำคุกเป็นเวลา 2 ปี โดยโทษจำคุกนั้นให้รอลงอาญา ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้รอลงอาญาเป็นเวลา 4 ปี และให้คุมประพฤติจำเลยเป็นเวลา 3 ปี โดยให้บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลา 3 ปี รวม 144 ชั่วโมง รวมทั้งห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์  ซึ่งในกรณีอาญานี้ทุกอย่างจบเรียบร้อยไปแล้วรวมทั้งการคุมประพฤติ การรอกำหนดโทษ และ การบำเพ็ญประโยชน์  จำเลยได้ปฏิบัติครบถ้วนแล้ว (ศาลฏีกา ไม่รับฎีกา)
                ส่วนคดีแพ่งล่าสุดเมื่อ 8 พฤษภาคม 2562 ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าให้ชดใช้โจทย์ 28 ราย (เสียชีวิต  9 ราย )  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  24.7 ล้านบาท ไม่รวมดอกเบี้ยซึ่งระยะเวลาที่เนินนานมาถึง 9 ปี ทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มพูนเป็นหลายสิบล้านบาทแล้ว  
แล้ว.......สังคมได้เรียนรู้อะไรบ้างสำหรับกรณีนี้บ้าง ??? 
ซึ่งแตกต่างจากหลายคดีที่เกิดอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิต   ลองย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ลูกชายโหน่ง ชะช่าช่า ที่ขับรถชนวิศวกรจนเสียชีวิตเช่นเดียวกัน   แต่ว่าโหน่งพาลูกชายไปกราบศพและขอโทษครอบครัวผู้เสียชิวิต  และประกาศรับผิดชอบพร้อมส่งเสียลูกผู้เสียชีวิตในด้านการศึกษา     ส่วนเสี่ยรถเบนซ์ที่เมาแล้วขับรถชนตำรวจเสียชิวตก็บวชอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย  และมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชิวิต 45 ล้านบาท
                ในขณะที่กรณี “แพรวา” ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าขณะเกิดเหตุน้องอายุแค่ 16-17 ปี  ยังเป็นเยาวชนซึ่งคงจะแบกรับสถาณการณ์ได้ไม่ดีเช่นผู้ใหญ่  แต่ครอบครัวบิดามารดาย่อมต้องเป็นเสาหลักในการให้คำแนะนำ สิ่งที่ทั้ง”แพรวา “ และครอบครัวควรที่จะกระทำในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา  ซึ่งมิได้หมายถึงการชดเชยให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ  แต่ผมหมายถึง
                ...........การแสดงความรู้สึกเสียใจอย่างแท้จริง
                ...........การไปร่วมเคารพศพ  ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย
                ............การไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บ
                ............การช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆ  ซึ่งต้องควรช่วยเหลือตามกำลังฐานะ ณ. ขณะนั้นๆ  แม้จะไม่มากมายถึง  45 ล้าน หรือ รับส่งเสียอุปการะการศึกษาบุตรผู้เสียหาย  แต่ก็ควรจะช่วยเหลือเท่าที่ครอบครัวจะสามารถช่วยได้    การที่ครอบครัวมีที่ดิน 21 ไร่ บ้านในหมู่บ้านใหญ่โตมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 50 ล้านบาท  ย่อมต้องแสดงออกถึงความมีฐานะทางเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง   แต่นี่กลับไม่ได้ช่วยเหลือตามสมควรโดยปล่อยให้ว่างเว้นไว้ถึง 9 ปี  และจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้เสียหาย  ได้รับเงินช่วยเหลือในระดับหมื่นเท่านั้นเอง 
                ...........รวมทั้งการแสดงออกและคำพูดของทนายความยังไปทำร้ายจิตใจของผู้เสียหายและครอบครัวเพิ่มเข้าไปอีก  ทำให้ยิ่งตอกย้ำความรู้สึก   ยิ่งปล่อยให้เวลาเนินนานมา ถึง 9 ปี จนศาลสูงสุดตัดสินซึ่งในระหว่างนั้นก็สามารถมอบเงินช่วยเหลือ     ตามกำลังความสามารถของครอบครัวได้อยู่แล้วแต่ไม่ทำ  มาวันนี้บอกมีทรัพยสินมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท    คนมีทรัพยสินขนาดนี้จะบอกว่ามีเงินสดหรือสังหาริมทรัพย์อื่นๆ  กระเป๋า  เครื่องเพชร ฯลฯ  จะไม่มีเลยกระนั้นหรือ ???    แล้วทำไมจึงช่วยเหลือแค่หลักหมื่น ???  เลยยิ่งทำให้อารมณ์ของสังคมนั้นไม่สามารถยอมรับต่อพฤติกรรมนั้นได้ 
                       จนเป็นกระแสที่ทำให้ครอบครัวและน้องแพรวาไม่สามารถยืนอยู่ในสังคมได้อย่างมีปกติสุข  ซึ่งไม่รู้ว่าจะใช้เวลากีปีที่ครอบครัวนี้จะมีความรู้สึกปกติ..........หรือ..........อาจจะไม่มีโอกาสเลยก็ได้.....หรือไม่ ????    
                การบริหารความรู้สึกของผู้เสียหาย  และ สังคมนั้นเป็นสิ่งเปราะบาง  ยิ่งในสังคมเทคโนโลยี่  โซเชียลมีเดียนั้นมันรุนแรง  และ เร้าร้อน  จึงเป็นสิ่งที่ใครก็ตามต้องให้กรณีนี้เป็นบทเรียนและบริหารความรู้สึกของผู้เสียหายและสังคมให้เหมาะสมต่อไป 
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...