วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562

“เศรษฐกิจแย่ไม่ใช่ข้อแก้ตัว”



                   ไปทางไหนก็เห็นมีแต่คนส่ายหัวเรื่องเศรษกิจ  ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าแย่ๆๆๆ  และ แย่   อันนี้หมายถึงชาวบ้านร้านตลาด  วิสาหกิจชุมชน และ เอสเอ็มอีทั้งหลาย  แต่เมื่อดูตัวเลขของบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลลาดหลักทรัพย์  เกือบทุกบริษัทกลับเติบโตเป็นที่น่าพอใจ  นั่นแสดงว่าโดยภาพกว้างๆแล้วที่ภาษาทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่าแมคโครอีโคโนมิคนั้นคงจะไมดีนัก  แต่หากมองในภาพแคบๆคือไมโครอีโคโนมิคแยกเป็นหมวดๆ  แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม  แยกเป็นบริษัทต่างๆนั้นยังคงมีทั้งแย่ และ ดี   อันนี้ก็ว่าตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นที่ผมมีความรู้อยู่น้อยนิด
                จากการคาดการณ์ของหลายสำนักสำหรับประเทศไทยเราแล้วคงอยู่ระหว่า  2.7-3.0 %  ที่จีดีพีของเราจะเติบโต   ก็จะมีคนแย้งว่าไหงบริษัทผมยอดขายตก  กำไรลด แล้ว จีดีพีไทยจะโตได้อย่างไร  ก็ต้องกลับไปดูข้างต้นคือว่ายังมีคนอื่นดีอยู่งัยครับ   แต่ว่าบริษัทที่ยังดีอยู่นั้นเป็นบริษัทขนาดใหญ่  ไม่ว่าจะกลุ่มเบียรช้าง  กลุ่มซีพี   กลุ่มเซ็นทรัล ฯลฯ เป็นต้น เรียกว่ายักษ์ใหญ่ยังโต   ก็เลยช่วงพยุงเศรษฐกิจไทยไว้ได้  ประกอบกับการท่องเที่ยวแม้ไม่โตเท่ากับเป้าหมายที่ตั้งไว้   แต่ก็ยังพอมีโอกาสโตอยู่บ้างเพราะนี่ก็ใกล้จะช่วงฤดูการท่องเที่ยวแล้ว  ตุลาคม- มกราคม  จะมีนักท่องเที่ยวยุโรปหนีหนาวมารับไออุ่นในเมืองไทยอยู่มากโข  แต่ว่าปีนี้ด้วยเศรษฐกิจยุโรปเองก็เดี้ยงและจะเป็นอย่างนี้ไปอีกเป็น 10 ปี หรือมากกว่า  แต่......ค่าครองชีพที่ต่ำและความสงบสุขในบ้านเรานั้น  ทำให้นักท่องเที่ยวยุโรปยังมาบ้านเราอยู่เรียกได้ว่าอยู่เมืองไทยค่าใช้จ่ายถูกกว่าก็อาศัยเงิน บำนาญมาเที่ยวได้อย่างสบายๆนั่นเอง
                เศรษฐกิจแย่ไม่ใช่ข้อแก้ตัว    ต้องอยู่ในสายเลือดของผู้บริหาร ผู้ปกครอง ที่จะต้องนำองค์กรฝ่ามรสมุไปได้  ทำไปหลายๆประเทศเค้าเติบโตได้  จีน แม้จะลดจาก 6.6  เหลือ 6.2  ก็ยังมากกว่าประเทศไทยเกือบเท่าตัวทั้งๆที่ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ใหญ่กว่าประเทศไทยไม่รู้กี่เท่า  เวียดนามซึ่งเพิ่งผ่าสงคราซึ่งสิ้นสุดลงในปี 1975   ตั้งแต่ปี  2010 เป็นต้นมาเติบโตเฉลี่ย 5 %  และในปี 2017 ก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.8   ทำให้  GDP ต่อหัวในปี 1985 อยู่ที่ 230 ดอลลาร์ ในปี 2017 ตัวเลขนี้พุ่งขึ้นไปถึง 2,343 ดอลลาร์ เรียกได้ว่าเติบโตอย่างก้าวกระโดด    ผมไปเวียดนามทุกปีได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน  ที่สำคัญในสือต่างๆไม่เห็นมีว่านายกรัฐมนตรี  ประธานาธิบดี ไปเปิดงานโน่นนี่นั่น  แบบว่ารับจ้อบเรย  มีแต่งานใหญ่ๆระดับชาติ  งานพบทูต  งานพบผู้นำต่างชาติ  หารือเศรษฐกิจการค้า  เป็นสำคัญ    เขียนแปะข้างฝาไว้เลยเวียดนามจะแซงไทยในไม่เกิน 20 ปีข้างหน้าซึ่งผมคงตายไปแล้ว  ก็ฝากลูกฝากหลานไว้ว่าจะทำอย่างไร    ซึ่งก็ขอเสนอแนะแนวทางแบบบ้านๆจากคนวัยเกษียณคนนี้ไว้ก็แล้วกัน
                เมื่อเร็วๆนี้ทางกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬานั้นเสนอให้เปิดฟรีวีซ่า  คือไม่ต้องมีวีซ่าก็สามารถเข้าประเทศได้สำหรับจีนและอินเดีย  คือประมาณว่าต้องการปริมาณใครเข้ามารับหมด   แบบญี่ปุ่นเปิดฟรีวีซ่าให้ไทย และ หลายๆชาติจนทำให้นักทก่องเที่ยวจะแซงเราในปี 2020  แล้วครับ    แต่ดีว่าทางฝ่ายความมั่นคงไม่ยอมให้ผ่านง่ายซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วครับ   แต่ว่า................แนวคิดในเรื่องวีซ่านั้นผมมีอีกมุมมองหนึ่ง  คือ  ให้ขอวีซ่าเหมือนเดิมแต่เพิ่มเติมคือว่าให้เข้าออกได้หลายครั้ง MULTIPLE   ENTRY  ระยะเวลายาวๆไปเลย  เช่น 1 ปี  หรือ  2 ปี  ถ้าใจป้ำก็ให้ตลอดอายุหนังสือเดินทางฉบับนั้นๆไปเลย  แบบเดียวกับที่แคนานาให้วีซ่าผมเท่ากับอายุหนังสือเดินทาง  หรือทางยุโรปตอนนี้ก็ให้ระยะยาวขึ้นของผมได้สองปี ของภรรยาได้หนึ่งปี  ทั้งนี้ให้ดูตามประวัติการดินทางและอาชีพการทำงานตลอดจนสถานะทางการเงินเป็นสำคัญ   การให้วีซ่าแบบนี้ทำให้เกิดโอกาสในการมาท่องเที่ยว  และ เพิ่มความถี่ได้อย่างไม่มีข้อสงสัยเพราะสะดวกในการตัดสินใจ    และก็ไม่ขัดกับเรื่องของความมั่นคงด้วย   เพราะได้มีการขอวีซ่าซึ่งก็มีการตรวจสอบในทุกๆมิติอยู่แล้ว  
 แค่นี้....ทำไมคิดกันไม่ได้  ฮึฮึฮึ....  ดีแต่จะแจกเงินให้คนเที่ยวไทยคนละพันบาท...จะเกิดมรรคผลแค่ไหนเพราะว่าต้องไปลงทะเบียนและยังต้องไปใช้จ่ายกับร้านค้าหรือโรงแรมที่ก็ต้องลงทะเบียนเฉพาะงานนี้อีก   เรียกได้ว่าทำให้มันยุ่งเข้าไว้ง่ายๆไม่ทำ     เป้าหมายร้านค้าที่ลงทะเบียนคือ 100,000 ร้านค้า ซึ่งก็คือ   มีร้านค้าเข้าร่วมโครงการชิมช้อปใช้แล้วกว่า 1 แสนราย โดยเป็นร้านค้าเดิมที่อยู่ในโครงการบัตรสวัสดิการประชารัฐจำนวน 8 หมื่นราย และ ร้านค้าใหม่ที่เข้าร่วมโครงการอีก 3.2 หมื่นราย ( อ้างอิงhttps://www.bangkokbiznews.com/news/detail/847104)
กรรมประเทศไทย ได้เงิน 1,000 บาท แต่ต้องไปซื้อ น้ำมันพืช  สบู่  แชมพู ในร้านธงฟ้าประชารัฐ  เราจะไปเที่ยวนะพี่น้องไม่ได้ไปช้อปปิ้งในร้านที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ......กรรมไม่ต้องแบเรยครับ  ส่วนอีก 3.2 หมื่อนร้านค้าที่ลงทะเบียนไว้  เวลาจะไปใช้ก็ต้องไปคนหาชื่อร้าน พิกัดร้าน ในเว็บไซท์อีกทีหนึ่ง   แล้วนั่งรถ  หรือ ขับรถไปใช้บริการหรือซื้อสินค้าในร้านนั้น   โอ้ย.....ไม่ไปดีกว่ากระมัง  นอนตีพุงอยู่กับบ้านเพราะออกไปก็ต้องใช้สามสี่พัน ได้มาพันหนึง   สรุปแล้วขาดทุน !!!!!!
 แต่ว่ากระตุ้นท่องเที่ยวไทยก็ต้องทำอย่าไปหวังแต่ต่างชาติเหมือนกับที่เราผูกเศรษฐกิจกับการส่งออกถึง 60% ของจีดีพี  พอส่งออกทรุด  ติดลบ  งานก็งอกแยะต้องสร้างสมดุลย์ในทุกมิติ  ทั้งการส่งออก  การบริโภคในประเทศ  ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ  และการลงทุนของรัฐบาล
ทิ้งท้าย.....หากเค็กก้อนนี้มันเล็กลงในขณะที่คนกินเท่าเดิม    ก็คงต้องไปหาเค็กก้อนอื่นหรือก๋วยเตี๋ยว กินเพื่อให้อิ่มท้อง......ไม่ใช่โกวเล้งกล่าวไว้.!!!!!
               

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

Proceduer เพ้อเจ้ออะป่าว ??


Proceduer  เพ้อเจ้ออะป่าว ??




                   ในกระบวนการจัดทำมาตราฐานต่างๆโดยเฉพาะมาตราฐานการทำงาน  เช่น ระบบไอเอสโอ  ระบบการจัดการความปลอดภัย  ระบบการตรวจสอบ  ฯลฯ  เรามีการค้นพบว่าระบบเหล่านั้นจะมีการเขียนมาตราฐานการทำงานต่างๆ   โดยระบุขั้นตอนที่เป็นมาตราฐานเดียวกันให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้ปฎิบัติตามมาตราฐานนั้น  โดยเป็นขั้นตอนต่างๆตามลำดับ  รวมทั้งแบบฟอร์มและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานั้นๆ   ทั้งนี้เพื่อที่ว่าไม่ว่าใครมาปฏิบัติในกระบวนการนี้ก็จะได้ปฏิบัติแบบเดียวกัน
                แล้วปัญหามันอยู่ที่ตรงไหน  ???......????
                1.เรามักจะคิดว่ากระบวนการหรือมาตราฐานการปฎิบัติงานนั้นดีแล้ว  สมบูรณ์แล้ว  สุดยอดแล้ว  จนไม่คิดที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง
                ตัวอย่างเช่น.....เดิมผมนั่งเครื่องบินการบินไทย  ทุกท่านที่เคยขึ้นก็คงจะทราบขั้นตอนการปฏิบัติงานในขณะพนักงานบริการบริการอาหาร   แน่นอน   ขึ้นตอนแรก ก็แจกของขบเคี้ยวกับเครื่องดื่ม   ขั้นตอนต่อไปก็จะบริการอาหารโดยมาถามเราว่ามี หมูกับบะหมี่  กับ  ข้าวกับปลา ท่านจะเลือกอะไรดีครับ  พร้อมทั้งเครื่องดื่ม  ส่วนชากาแฟมาเป็นลำดับสุดท้าย    แต่........เคยมั้ยครับที่ท่านเลือกทำเลที่นั่งไม่ถูกคืออยู่กลางๆระหว่างหัวกับท้ายเพราะพนักงานบริการจะเริ่มบริการสองชุดคือเริ่มจากหัวและท้ายแถว   ถ้าเป็นเครื่องบินไม่ใหญ่มากขนาดแถว 2-3-2 ก็ไม่นาน  แต่ถ้าขนาดแถวเป็น 3-4-3 ขึ้นมาคือพนักงานจะต้องบริการ 3 คนด้านริมหน้าต่าง และ อีก 2 คนด้านกลางลำ  รวมแล้ว 5 คน  กว่าจะมาถึงเราที่นั่งอยู่ตรงกลาๆ(นับจากหัวแถวมาท้ายแถว)  ก็จะต้องใช้เวลานานมากๆๆ   เดิมผมก็นึกว่าเป็นระเบียบปฏิบัติเหมือนกันทุกๆสายการบิน  พอนั่งสายการบินอื่นๆบ้างก็พบว่าแต่ละสายการบินก็มีวิธีที่แตกต่างกันไป  ไม่เกี่ยวกับมาตราฐานการบินหรือความปลอดภัยอะไรทั้งสิ้น
                อย่างกระนั้นเลย......ถามพนักงานบริการว่าทำไมบริการตามขั้นตอนแบบนี้  แน่นอนคำตอบคือ....เป็นวิธีปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนมาตราฐานของการบินไทย  ผมถามต่อว่าแล้วทำไมไม่ปรับช่วงบริการอาหารเป็นแจกถาดอาหารมาตราฐานที่มี  สลัด  ของหวานหรือผลไม้   เนย/แยม  ไปก่อนทุกคนเรย  แล้วมีพนักงานอีกคนคอยเสริฟ์ขนมปังซึ่งมีตัวเลือก   อีกคนตามมาด้วยอาหารหลักซึ่งปกติมีสองอย่างให้เลือก  และ จัดทำป้ายตัวเลือก  ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ฯลฯ  เอาให้หลายภาษาสากล หรือที่เส้นทางบินนั้นมีผู้โดยสารชาตินั้นๆมากเป็นพิเศษ   ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ตอนแรกๆผู้โดยสารก็ทานขนมปัง ฯลฯ ไปก่อน  แล้วอาหารหลักตามมาทั้งนี้ไม่ต้องรอนานๆๆ  จนคนข้างหน้าทานเสร็จแล้วเรายังไม่ได้อาหารเรย   คำตอบ............จากพนักงานว่า  “ทำไม่ได้คะเพราะระเบียบปฏิบัติเขียนไว้ให้ทำอย่างนี้”   จบข่าว.................ไม่ต้องถามต่อ
                เอ้อ......แต่ถ้าน้องคิดว่าคำแนะนำนี้ดี ... จะไปแจ้งหัวหน้า  มั้ย
                แล้วหัวหน้า จะแจ้ง ผจก.มั้ย
                แล้ว ผู้จัดการจะแจ้งผู้อำนวยการมั้ย
                แล้วผู้อำนวยการจะแจ้งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการผู้ดูแลเรื่องนี้มั้ย
                แล้วผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการจะเห็นดีเห็นงาม  และปรับปรุงหรือไม่ อย่างไร  โอ้  ต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปีกว่าจะปรับเปลี่ยนได้  ถ้าทุกส่วนที่อยู่ข้างต้นเห็นด้วย.......!!!!!
                เพราะคิดว่าวิธีนี้ดีแล้ว  ชอบแล้ว  สุดยอดแล้ว  แต่ลืมไปว่าน่าจะมีวิธีที่ดีกว่า  อันนี้ไม่เกี่ยวกับมาตราฐานการบินที่หากเกิดเหตุการณ์ต่างๆนักบินต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดนะครับ  อิอิ
                2.หากวันเวลารวมทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป   สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป  ก็ยังใช้วิธีปฎิบัติตามกระบวนการแบบเดิม
                ตัวอย่าง.............พนักงานจัดสินค้าขึ้นรถเพื่อนำสินค้าไปส่งลูกค้า  เดิมเคยจัดแบบหนึ่งกว้างยาวสูงซ้อนกันกี่ชั้นก็ว่าไป   แต่ปรากฏว่าพอรถยนต์เปลี่ยนมีขนาดที่กว้าหรือยาวกว่าเดิมซึ่งจะทำให้บรรทุกสินค้าได้มากขึ้น   ก็ยังจัดวางสินค้าแบบเดิมเพราะระเบียบปฏิบัติเขียนไว้ให้วางตั้งในลักษณะดังกล่าวเท่านั้น
                หรือ.....แม้แต่ในเรื่องที่ไม่ได้เขียนระเบียบปฏิบัติไว้แต่ได้ทำตามนโยบาย  หรือแนวคิด เช่น...ในการบริการ  หากเราได้ใส่ใจในบริการมากขึ้นไม่ใช่แค่บริการตามมาตราฐาน   ดังตัวอย่าง
                พนักงานต้อนรับที่โรงแรมแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นที่ผมพบมาด้วยตนเอง   ตอนไปถามว่าร้านอาหารอะไรอร่อยๆที่อยู่ใกล้โรงแรมบ้าง  แน่นอน  ต้องยิ้มแย้ม  ต้องแสวงหาคำตอบ  ต้องพูดด้วยความนอบน้อม อะไรก็ว่าไป  แต่พนักงานคนนี้ถามผมกลับว่า  ต้องการกินอาหารประเภทไหน  มีความชอบอะไรเป็นพิเศษ หรือไม่อย่างไร  ก่อนที่จะตอบคำถามผมซึ่งแสดงว่าเขาใส่ใจในบริการและให้บริการมากกว่ามาตราฐานการบริการที่กำหนดไว้.....
                หรือ.....โรงแรมนั้นปรับปรุงมาตราฐานกระบวนการในการบริการเพื่อให้มีบริการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ  อันนี้สามารถเป็นไปได้ทั้งสองทาง
                ท่านผู้บริหารองค์กรทั้งหลายก็ลองพิจารณาดูนะครับว่าจะทำอะไร  กับกระบวนการปฏิบัติงานนั้นดี  จะพัฒนา  จะปรับปรุง  หรือไม่  อย่างไร  และ  เมื่อใด...............


ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...