วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

จีนทรง...ไทยทรุด...หยุดไม่อยู่ แว้ว !


                           
                 
                          สถาบันวิจัยธนาคารแห่งประเทศจีนได้ออกรายงานการวิจัยว่า  เศรษฐกิจจีนในปี 2020 จะเติบโตประมาณ  6.1 %  และเศรษฐกิจโลจะเติบโตน้อยมากแค่ 2.6%   อันเป็นผลมาจากหลากหลายปัจจัยลบทั้งหลาย  ประกอบกับความเสี่ยงต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง    สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาซึ่งคงจบไม่สวยแต่จะเสียหายแค่ไหนกเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้   แต่ว่า ในรายงาน World Economic Outlook ฉบับล่าสุดที่ IMF ได้มีการปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนลงเหลือ 5.8% ในปี 2020 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตที่ 6.1% ในปีนี้ และช้ากว่าปี 2018 ที่ขยายตัวถึง 6.6%   หากจำได้จีนเคยขยายตัวถึงเลขสองหลัก  คือมากกว่า 10 % มาหลายปีในช่วงทศวรรษตที่ผ่านมา
                แล้ว..............มันเกี่ยวอะไรกับ  “เศรษฐกิจไทย”   ถ้าจีนทรงไทยจะทรุด...... แล้วถ้าจีนทรุดไทยจะไปอยู่ตรงไหน   เป็นคำถามที่น่าสนใจว่าแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทยกันแน่  พอแบ่งออกได้ 4 ประเด็น คือ
                1.ท่องเที่ยวก็คงชลอดตัวหรืออาจะเลวร้ายถึงหดตัวก็เป็นได้   อาจจะได้นักท่องเที่ยวเพิ่มขี้นบ้างแต่ว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวงคงทรงตัวหรือถ้าเลวร้ายอาจจะปรับลดลง  ทั้งนี้เพราะค่าทัวร์มาไทยแพงขึ้นถึง 20เปอร์เซนต์  อันเป็นผลมาจากค่าเงินหยวนของจีนที่ มกราคม 2560 มีค่าเท่ากับ  5.37 บาท  มกราคม 2561 มีค่า 5.07  มกราคม 2562 มีค่า  4.77  พอ  ธันวาคม 2562 มีค่า 4.35  บาท  จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นถึง  18.99 %  ตัวเลขกลมๆ ก็ประมาณ  20%  เมื่อเทียบกับปี  2560   ทำให้โอกาสมาท่องเที่ยวน้อยลงหรือมาแล้วก็จับจ่ายใช้สอยน้อยลงอันเป็นผลมาจากค่าเงินนั่นเอง     ดังตัวอย่าง  สมมุติว่าบริษัทในไทยคิดค่าทัวร์จีนคนละ  25,000 บาท  ในปี  2560  คนจีนจ่ายเงินแค่  4,655 หยวน  แต่ปี  2562  ต้องจ่ายเงินถึง 5,747 หยวน
                2.คอนโดทั้งหลายที่บ้านเราผุดกันขึ้นเป็นดอกเห็ด  เรียบได้ว่าบางแท่งขายจีนทั้ง 49 % เลยก็มีก็จะเช่นเดียวกันจะขายไม่ออก  ขายได้น้อยเพราะคนจีนต้องใช้เงินเพิ่มถึง 20% ในการซื้อของนั่นเอง  ผู้ประกอบการไทยจะลดราคาลง 20% เพื่อให้ขายของได้หรือไม่  คำตอบคืไม่ได้เพราะกำไรในอุตสาหกรรมอสังริมทรัพย์นั้นจากข้อมูลในปี 2559 อัตรากำไรสุทธิ ( Net Profit Margin : NPM) ปี 2559 ของอุตสาหกรรมนี้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอัตรากำไรสุทธิราว 9.6 %  (  อ้างอิง  https://www.terrabkk.com/news/173655 ) 
                3.การส่งออกของไทยจะมีปัญหาตามมาเพราะว่า  การที่จีนส่งสินค้าไปขายสหรัฐอเมริกา หรือยุโรปได้น้อยลงนั้นเพราะการกีดกันทางการค้า  สงครามการค้า  และ เศรษฐกิจอเมริกากับยุโรปก็ทรงกับทรุด  ก็จะยิ่งทำให้ซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าต้นน้ำจากประเทศไทยน้อยลงไปเงาตามตัว  ที่สำคัญไปกว่านั้นอัตราการส่งออกสินค้าของไทยไปจีนนั้นนับเป็น 20 เปอร์เซนต์ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด  โดยปี 2560 ส่งออกไปจีน  1.515 พันล้านบาท  คิดเป็น  19.96 %   ปี 2561 ส่งออกไปจีน 1.621 พันล้านบาท คิดเป็น  20.11%  ปี 2562 รวม 9 เดือนส่งออกไปจีน  1.163 พันล้านบาท คิดเป็น  20.46 %   นับว่าเป็นปัญหาที่แก้ยากมาเพราะโจทย์นี้มันซับซ้อนและมีเหตุปัจจัยหลายประการที่มากระทบ 
                4.การนำเข้าสินค้าของจีนที่ไม่เกี่ยวกับการนำไปเพื่อเป็นวัตถุดิบในการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และยุโรปนั้นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน  เพราะคนจีนต้องใช้เงินซื้อสินค้าถูกลงถึงประมาณ 20% เพราะค่าเงินหยวน  แต่เมื่อค่าเงินไทยมีค่าแข็งขึ้นก็ทำให้ต้องปรับราคาขายสินค้าไปด้วยก็จะทำให้สินค้า  อาหาร  ผลไม้ ที่ส่งไปจีนไม่ได้มีราคาถูกลง 20 เปอร์เซนต์ตามค่าเงิน  ก็คงมีผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของคนจีนไม่น้อย  เพราะอย่างลืมว่าเมื่อเศรษฐกิจจีนเติบโตช้า  รายได้ของคนจีนก็เติบโตช้าตามไปด้วยทำให้อำนาจการซื้อไม่เพิ่มขึ้นเหมือนสมัยก่อน   ก็จะทำให้สินค้าเราส่งออกไปยิ่งได้น้อยลงไปใหญ่นั่นเอง
                ดังนั้นก็ตัวใครตัวมัน  รับปี 2020  นะครับพี่น้อง.............@@@

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562

“สน...ยล....ดลใจ....ไปซื้อ”


                  

                  ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันซึ่งซบเซาทั่วโลกนั้น  การดำรงอยู่ของธุรกิจทั้งหลายจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว   เพราะเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนแปลงแค่ข้ามคืน  ทำให้ทั้งบริษัทเล็กหรือบริษัทใหญ่สามารถรุ่งเรืองหรือตกต่ำได้อย่างไม่น่าเชื่อ    
                เราจะเห็นได้จากเรื่องของการโฆษณา หรือ การสร้างกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆนั้น  ในสมัยก่อนบริษัทเล็กๆไม่มีทางที่จะทำได้  หรือ  สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้เพราะว่าสื่อมีอยู่จำกัดแถมยังมีราคาแพงจนบริษัทเล็กไม่มีปัญญาไปซื้อสื่อ   ดูตัวอย่างง่ายๆก็ได้ว่าหน้าหลังของไทยรัฐในสมัยก่อนราคาประมาณ  400,000 บาท  แถมต้องไปเข้าคิวรอเรียกได้ว่ามีตังอย่างเดียวลงไทยรัฐหน้าสุดท้ายไม่ได้  แต่ปัจจุบันนี้ลองดูครับว่ามีสินค้ากี่รายการที่ลงโฆษณาในไทยรัฐหน้าสุดท้าย  ส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมของไทยรัฐทีวีเสียมากกว่า
                เพราะว่าแต่ละบริษัทก็จะนำงบส่วนนี้ไปทำโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า   นอกจากนั้นแล้วยังมีต้นทุนที่ถูกกว่ามาก   และยังสามารถวัดผลได้กีว่าการโฆษณาในสมัยก่อนที่หว่านไปทั่วก็ทำให้สินค้าเกิดและติดตลาดได้    โดยสื่อที่ทรงอิทธิพลในยุคนี้มักจะเป็นสื่อออนไลน์  หรือสื่สังคมต่างๆนั่นเอง
                แต่ว่า..............หลักในการทำโฆษณาไม่เคยเปลี่ยน  เพราะจะต้องทำให้   ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายนั้น   “สน...ยล....ดลใจ....ไปซื้อ” 
ตามแนวคิด   AIDA Model   ดังนี้: (Priyanka, R., 2013 : 37-44 and E. St Elmo Lewis, 1908)
 Attention (ดึงดูดความสนใจ)   สน   โดยโฆษณานั้นจะต้องสามารถดึงดูดผู้บริโภคให้เกิดการตระหนัก และ สนใจ   เพราะหากเรียกง่ายๆว่าไม่โดนแล้ว ก็จะกดเปลี่ยนช่อง  หรือ  SKIP  หรือ เปิดผ่านไปไม่อ่านหรือแลมอง  อาจด้วยตัวพรีเซนเตอร์   หรือ  คำโฆษณา  หรือ เอฟเฟคต่างๆ  ที่จะสะกดคนดู/คนอ่าน/คนฟัง  ให้ผ่านเข้าสู่ขั้นตอนที่สอง
Interest (ความสนใจ) ยล  เมื่อดึงดูดความสนใจได้แล้วก็จะผ่านเข้าสุ่ขั้นตอนที่ผู้บริโภคจะหันมาพิจารณาอย่างถ่องแท้มากขึ้นว่า  สินค้า/บริการนั้น มันตรงกับความต้องการหรือจริตของเราหรือไม่   เพื่อที่จะได้ประมวลสรุปไปสู่ขั้นตอนต่อไป
Desire (ความปรารถนา)  ดลใจ  ผู้บริโภคก็จะอยู่ในช่วงตัดสินใจ  แสวงหาแรงบันดาลใจ และตกลงใจว่าสินค้านั้นเราต้องการหรือไม่      ตลอดจนสร้างความรู้สสึกที่มีต่อแบรนด์สินค้านั้นๆ 
Action (การลงมือทำ)  ไปซื้อ  ผู้ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตออนสุดท้ายที่ผู้บริโภค มีความตั้งใจในการซื้อ  และได้ทำการซื้อจริงๆ ในที่สุด
               ดังนั้นองค์กรทั้งหลายโดยเฉพาะนักโฆษณา  นักประชาสัมพันธ์ จะต้องจัดให้สอดรับกับแนวคิด AIDA  แล้วเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  เพราะสารนั้นจะได้เข้าถึงแบบว่า  มันทำให้เกิดการ  สน....เพื่อที่จะ ยล ในรายละเอียด......จน ดลใจ  ใจสั่งมา  .....ให้ ไปซื้อ.....นั่นเอง
               

ขายรัย...ทำไมเราอิน (มาก)

                                                   เครดิตภาพจาก "เฟสบุคไทรสุก"           สองอาทิตย์ก่อนไปเห็นน้องคนหนึ่งที่เป็...