ปัญหาโควิด-19
ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาของอู่ฮั่น หรือจีนแต่เพียงประเทศเดียว
วันนี้กลายเป็นปัญหาของโลกเราไปอย่างเต็มตัวแล้ว
คงไม่มีประเทศใดที่ไม่ได้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ต่างกันคงแต่ระดับความรุนแรงของผลกระทบแน่นอนว่าปัญหาแรกคือทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน
แต่สิ่งที่ตามมายังมีอีกมากไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม
อาชญากรรม ความสงบสุข ฯลฯ
ซึ่งในภาวะวกฤติเช่นนี้ “การสื่อสาร” นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่ รัฐ
หรือผู้รับผิดชอบทุกระดับจะต้องให้ความสำคัญไปไม่น้อยกว่ามาตราการต่างๆในการแก้ไขปัญหา
เพราะที่ผ่านมาเราพบกับจุดอ่อนของการสื่อสารที่อยากจะเรียกว่า “การสื่อสารในภาวะวิกฤติ”
มีรัฐมนตรีออกมาให้ข่าวรายวันในขณะที่คุณหมอก็ให้ความคิดเห็นทางวิชาการระบาดวิทยา ทำให้ประชาชนสับสนในระยะแรกๆว่า “มันไม่น่ากลัว” จริงหรือไม่ทำไมรัฐมนตรีกับผู้เชียวชาญระบาดวิทยากลับมองเห็นต่างกันถึงเพียงนั้น
การทำความเข้าใจกับประชาชนในภาวะวิกฤติเช่นนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะแค่ระยะแรก รมต.ออกข่าวใหญ่โตหน้ากากอนามัยมีสต้อก
200 ล้านชิ้น ซึ่งมีหรือเปล่าไม่รู้
หรือแค่จะเพียงแต่สร้างความเชื่อมั่นไม่ให้คนตระหนกเท่านั้น
แต่พอมาถึงวันขาดแคลนประชาชนหาซื้อไม่ได้ในตลาดสว่างแต่ดันหาซื้อได้ในตลาดมืด ทำให้สามารถตีกความได้ต่างๆนาๆ ดังนั้นลองมาดูกันครับว่าในภาวะวิกฤติอย่างนี้เราควรสร้างระบบและมีแนวทางอย่างไรในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ ร่วมใจ
เห็นใจ โดยใช้หลัก 2T2D2S โดยจะแยกเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
TEAM อันนี้เป็นเบื้องต้นเลยครับที่ต้องจัดตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบสูงสุด
หรืออาจเรียกได้ว่าวอร์รูม โดยมีผู้บริหาร ผู้เชียวชาญที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดอยู่ในที่ประชุม เพราะไม่อย่างนั้นการบริหารจัดการ สั่งการ ก็ต่างคนต่างทำไม่สอดรับกัน แถมบางครั้งยังออกข่าวขัดแย้งกัน
(โดยไม่ได้ตั้งใจอีกด้วย) ซึ่งรัฐบาลเพิ่งมาตั้งเมื่อเหตุการณ์ผ่านไปสองเดือน รอจนสถานการณ์รุนแรงหรือตอนนั้นอาจจะคิดว่า "เอาอยู่" ก็ไม่รู้ เรื่องเหล่านี้ต้องคิดล่วงหน้าครับ ไม่ใช่รอให้สุกงอม หรือ ร่วงจากต้น แล้วค่อยมาตั้งก็จะเกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
SPOKMAN คือตัวโฆษกของคณะกรรมการฯ ที่ต้องมีคนเดียว หรือสองคน
แยกความรับผิดชอบกัน ทางนโยบาย 1
คน และทางเทคนิคหรือผู้เชียวชาญ 1 คน
คนที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ต้องให้ข่าวเพราะจะยิ่งเพิ่มความสับสน รมต.ก็ควรให้ข่าวเฉพาะที่เป็นเรื่องนโยบาย
(ของกระทรวงตนเองเท่านั้น) และควรรวบรวมข้อมูลแถลงอย่างเป็นทางการ อะไรไม่ใช่เรื่องนโยบายไม่ต้องให้ข่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเทคนิค อย่างที่เราเห็นว่ารัฐมนตรีบอกว่า “โรคนี้ไม่น่ากลัว” ทั้งๆที่ความจริงไม่อยากให้ประชาชนตื่นกลัวจนเกินไป เพราะการให้สัมภาษณ์แบบนักข่าวเดินตามมีโอกาสพลาดที่อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะกลอนพาไป อารมณ์พาไป
หรือ คำถามกำกวมเลยตอบพลาด ฯลฯ แต่ถ้าแถลงอย่างเป็นทางการมีหมอ
ผู้เชียวชาญอยู่ด้วย
คำถามทางเทคนิคก็โยนไปให้ หมอ หรือ
ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนตอบ
TRUTH
ข้อมูลที่สื่อสารนี้นจะต้องเป็นความจริง ข้อมูลที่ถูกต้อง
มีแหล่งอ้างอิงได้ทางวิชาการ
ให้งดเว้นเรื่องความคิดเห็น (แต่คงจะยากสำหรับนักการเมือง ) ดังนั้นจึงควรเป็นหน้าที่ของโฆษกของคณะกรรมการวอร์รูมนั้นซึ่งจะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่า
DECESSION กระบวนการตัดสินใจในแนวนโยบายใดๆจะต้อง รวบรวมข้อมูลรอบด้าน ตัดสินใจอย่างมีระบบและไม่ใช่ทำเป็นหย่อมๆ ไม่ครบวงจร
ดูจากปิดกทม.เป็นตัวอย่างคนต่างจังหวัดต้องหยุดงาน 22 วัน
ก็คงต้องกลับบ้านโดยเฉพาะพวกลูกจ้างรายวันเพราะอยู่ กทม. ก็ไม่มีกิน ตอนนี้หลายจังหวัดกิปิดสถานที่หลายแห่งคล้าย
กทม. คำถามผมคือ ทำไมไม่ทำทุกจังหวัด
ประเทศเราไม่ได้ใหญ่เท่าจีนเค้าปิดอู่ฮั่นแต่ปิดแบบล้อคตาย เราปิดแบบครึ่งนึงก็ทำให้คนไหลไปไหลมา การขอความร่วมมือในภาวะวิกฤติก็คงได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้ามันวิกฤติมากขนาดนี้คงต้องใช้ระเบียบ กฎหมายเป็นเครื่องมือแล้วครับ
SPEED / TIMING ความรวดเร็วในการสื่อสาร
ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเพราะหากบางข้อมูลสื่อสารช้าไปอาจจะทำให้วิกฤตินั้นขยายวงหรือรุนแรงมากกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรวจสอบแล้วอย่างครบถ้วนด้วย รวมทั้งช่วงเวลาในการสื่อสารอีกด้วยว่าจะต้องสอดคล้อง
สมควรแก่เวลา
โดยมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือต้องไม่ทำให้วิกฤตินั้นขยายเพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้นเป็นสำคัญ เรียกได้ว่า ไม่ช้า ไม่เร็ว จนเกินไปนั่นเอง
DIRECTION มีทิศทางในการปฏิบัติชัดเจน มีเอกสาร ภาพประกอบ แต่สมัยนี้เค้าใช้ E-CARD เพราะการอธิบายขยายความไป
สองหน้ากระดาษสามารถสรุปทิศทางในการปฏิบัติได้
ซึ่งแผนภาพนี้จะทำให้คนรับสารสามารถเข้าใจได้มากกว่าและยังชัดเจนไม่ต้องตีความ ที่สำคัญสื่อต่างๆสามารถนำข้อมูล แผนภาพ
E-CARD นี้ไปใช้สื่อสารต่อได้เลย
เพราะหากให้สื่อสารมวลชนไปทำภาพประกอบเองอาจจะคลาดเคลื่อนโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้
เรียกได้ว่าสารต่างๆที่ต้องการให้ถึงประชาชนจะไปในทิศทางเดียวกันนั่นเอง
เรียกได้ว่ามันเป็นทั้งศาสตร์ของการสื่อสารมวลชน บวกกับทักษะในการบริหารจัดการ
แต่สุดท้ายแล้วเชื่อได้ว่าเราจะต้องฝ่าฝันและเอาชนะอุปสรรคจาก “โควิด -19”
นี้ไปได้ แต่จะไม่ตบท้ายด้วยคำว่า “เราต้องชนะ”
เพราะมีคนอื่นเอาไปใช้แล้ว
แต่คงเพราะอารมณ์พาไปเลยไม่สามารถสร้างจุดร่วมกับประชาชนได้เพราะท่านเป็นทหารมาทั้งชีวิต ไม่ใช่นักพูด นักอภิปราย ตอนนี้ท่านมาถูกทางแล้วครับ ไม่ให้สัมภาษณ์มา 2-3 วันแล้ว “สุดยอดการสื่อสารในภาวะวิกฤติ” ครับพี่น้อง ...................